ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 57' 59.6246"
15.9665624
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 41' 21.7385"
102.6893718
เลขที่ : 139859
ขนมไทยพื้นบ้าน : แกงบวดฟักทอง
เสนอโดย phrayalaw.np วันที่ 18 มิถุนายน 2555
อนุมัติโดย ขอนแก่น วันที่ 18 มิถุนายน 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
0 8399
รายละเอียด

ขนมไทยพื้นบ้าน : แกงบวดฟักทอง สูตร นางกวย อัตจักร์

ความเป็นมา/ ความเชื่อ แกงบวดฟักทอง เป็นขนมไทยพื้นบ้านของชาวไทย ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย คนส่วนมากโดยเฉพาะชาวอีสานจะรู้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผักผลไม้ ไว้รับประทานเอง อีกทั้งห่างไกลตลาด จึงนำอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำขนมรับประทานเองภายในครอบครัว หรือนำไปทำบุญที่วัด และใช้รับรองแขก ปัจจุบันหลายครอบครัวเริ่มเลิกราห่างหายกันไปเนื่องจากเห็นว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เสียเวลา และสามารถซื้อหาได้ง่ายตามตลาดทั่ว ๆ แต่ก็ยังคงเหลือเป็นบางครอบครัวที่สานต่อ รักษาสืบทอดการทำขนมแกงบวดฟักทอง คงไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ อนุรักษ์สืบสาน ต่อไป

เครื่องปรุง + ส่วนผสม

1.ฟักทองหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ 500 กรัม

2.น้ำเปล่า 2 1/2 ถ้วยตวง

3.หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง

4.หางกะทิ 1 1/2 ถ้วยตวง

6.น้ำตาลทรายหรือน้ำตาลปี๊บ 1/2 ถ้วย

7.เกลือป่น 1/2 ช้อนชา

ขั้นตอน/วิธีทำ

1. ผ่าฟักทอง คว้านเมล็ดและไส้ออก ปลอกเปลือก แล้วนำไปล้างให้และหั่นฟักทองเป็นชิ้นพอดีคำ เพื่อความสวยงาม

2. นำปูนขาวหรือปูนแดงมาละลายน้ำให้หมด ปล่อยทิ้งไว้จนปูนตกตะกอน แล้วนำน้ำส่วนบนซึ่งก็คือน้ำปูนใสมาใช้

3. นำฟักทองไปแช่น้ำปูนใสทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที จากนั้นจึงเทน้ำปูนใสทิ้ง นำไปล้างน้ำเปล่าและพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ

4. นำหางกะทิใส่หม้อ ตั้งไฟปานกลาง รอจนเดือด ใส่น้ำตาลปี๊บและเกลือป่นลงไป คนให้ละลาย ชิมรสหวานมันออกเค็มนิด ๆ หรือชิมให้ได้รสชาติตามใจชอบ

5. ใส่ฟักทองลงไปในน้ำหม้อกะทิที่ปรุงรสชาติแล้ว รอให้ฟักทองสุก ต่อจากนั้นใส่หัวกะทิลงไป ลดไฟให้อ่อนลง (ไม่ให้กะทิแตกมัน) พอเริ่มเดือดอีกครั้งก็ปิดไฟ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

6. ตักใส่ถ้วยนำไปรับประทานหรือยกเสิร์ฟขณะร้อน ๆ หรือรอให้เย็นแล้วเติมน้ำแข็งเล็กน้อย รับประทานแล้วชื่นใจ

เทคนิค (เคล็ดลับ)

1. ขณะนำหางกะทิต้มควรไฟขนาดปานกลาง

2. คนน้ำตาลให้เข้ากับหัวกะทิไปก่อนแล้วค่อยเทลงในหม้อต้มหางกะทิ แล้วใช้ไฟอ่อน ๆ ไม่ให้กะทิแตกมันจะทำให้รสชาติหวาน มัน และดูสวยงาม น่ารับประทาน

สถานที่ตั้ง
บ้านโนนศิลา
หมู่ที่/หมู่บ้าน เลขที่ 103 หมู่ที่ 1
อำเภอ โนนศิลา จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางกวย อัตจักร์
บุคคลอ้างอิง นางนภสร พระยาลอ อีเมล์ phrayalaw.np@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอโนนศิลา
หมู่ที่/หมู่บ้าน ที่ว่าการอำเภอโนนศิลา
ตำบล โนนศิลา อำเภอ โนนศิลา จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40110
โทรศัพท์ 08 1874 7167, 0 4328
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่