ชื่อสมุนไพร
หนามแท่ง
ชื่ออื่นๆ
เคด กะแทง (กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ) หนามเค็ด (จันทบุรี) เคล็ด (กลาง) เคล็ดทุ่ง (ใต้) แท้ง (เหนือ นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์) หนามแท่ง (เหนือ ราชบุรี นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์) ตะเคล็ด ระเวียง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Catunaregam tomentosa(Blume ex DC.)Triveng
ชื่อพ้อง
Randia dasycarpaBakh.f., Xeromphis tomentosa (Blume ex DC.)T.Yamaz.
ชื่อวงศ์
Rubiaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 4-8 เมตรเปลือกสีน้ำตาล กิ่งก้านมีหนามแข็ง แหลมยาวใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่กว้าง หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ฐานใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบมีขนหนานุ่ม ด้านบนมีสีเข้มกว่าด้านล่าง ผิวใบด้านล่างมีขนสีเทานวล หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ เป็นรูปสามเหลี่ยม กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตรดอกเดี่ยว หรือออกที่กระจุก ออกที่ซอกใบ มี 2-6 ดอก กลีบดอกสีขาว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง มี 5 กลีบ กลิ่นหอม เรียงซ้อนเหลื่อมกัน เกสรเพศผู้มี 8 อัน ติดระหว่างแฉกกลีบดอก กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 8-9 แฉก เกสรเพศเมีย มีรังไข่ใต้วงกลีบ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยก มี 5 กลีบ สีเขียวอ่อนผลสด รูปไข่ ค่อนข้างกลม มีขนเหมือนกำมะหยี่สีน้ำตาลปกคลุม นุ่ม เมื่อแห้งแล้ว ไม่แตก พบตามป่าเต็งรัง หรือทุ่งหญ้า พื้นที่โล่ง
ฤดูกาล: ออกดอกราวเดือนเมษายนถึงกันยายน
สรรพคุณ
ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นรสเฝื่อนเล็กน้อย ปรุงยารักษาโรคเบาหวาน แก้โรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งตับ มะเร็งในกระดูก แก้วัณโรคผลแก่ใช้ตีกับน้ำ เป็นยาสระผม ซักผ้า
ประชาชนทั่วไป หรือ นักท่องเที่ยวสามารถเห็นต้นหนามแท่งได้ที่เขตรักษาพันธุ์ป่าภูวัว จังหวัดบึงกาฬ