ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 39' 1.3471"
18.6503742
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 58' 6.9755"
98.9686043
เลขที่ : 151642
การฟ้อนดาบ
เสนอโดย siripron วันที่ 20 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 23 สิงหาคม 2555
จังหวัด : เชียงใหม่
4 12899
รายละเอียด

การฟ้อนดาบมีที่มาจากศิลปะการต่อสู้ของชายชาวล้านนาแต่โบราณ
โดยผู้เรียนจะต้องเรียนฟ้อนเชิงมือเปล่าให้คล่องแคล่วเสียก่อนจึงจะเรียน ฟ้อนดาบ
หรือฟ้อนประกอบอาวุธอื่นๆ ต่อไป แม่ลายฟ้อนของฟ้อนดาบจะคล้ายกับแม่ลายฟ้อนของฟ้อนเชิง แม่ลายฟ้อนของแต่ละครูก็จะแตกต่างกันไป แต่พ่อครูคำ กาไวย์ และอาจารย์ธีรยุทธ ยวงศรี ได้ร่วมกันสืบค้นและเรียบเรียงแม่ลายฟ้อนไว้ให้สอดคล้องกันเพื่อง่ายต่อการ จดจำ
โดยอาศัยแนวจากการพรรณนาชื่อแม่ลายในการร่ายรำอาวุธจากมหาชาติฉบับสร้อยสังกร
กัณฑ์มหาราช เพื่อสอนนักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ ดังนี้ ช่วง ที่ ๑
ไหว้ครูและขอขมาอภัย เริ่มจากวางดาบ ไขว้กัน เอาสันดาบเข้าหากัน
ดาบทั้งสองเล่มนั้นห่างกันพอประมาณ จากนั้นหากผู้ฟ้อนเป็นผู้ชายให้เดินตีวงรอบดาบ ๑ รอบ
แล้วเริ่มตบบะผาบหรือฟ้อนสาวไหมอย่างใดอย่างหนึ่ง จบแล้วจึงนั่งลงไหว้
หากผู้ฟ้อนเป็นผู้หญิงให้นั่งไหว้ ๓ ครั้ง จากนั้นจับดาบ ไขว้ดาบจรดหน้าผาก แล้วเงยหน้าขึ้น
ก้มหน้าลง แล้วชักดาบลงไว้ข้างหลังทั้งสองข้าง
แล้วซุยขึ้นเป็นท่าบวกดาบโดยเริ่มจากด้านหน้าตรงก่อนแล้วหันไปทางขวาแล้วบิด ไปทางซ้าย
จากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่แม่ลายที่ได้เรียบเรียงไว้ ๓๒ ท่า ดังนี้

๑. บิดบัวบาน
๒. เกี้ยวเกล้า
๓. ล้วงใต้เท้ายกแหลก
๔. มัดแกบก้องลงวาง
๕. เสือลากหางเหล้นรอก
๖. ช้างงาตอกต๋งเต๊ก
๗. ก่ำแปงเป๊กดินแตก
๘. ฟ้าแมบบ่ตันหัน
๙. จ๊างงานบานเดินอาจ
๑๐. ป๋าต้อนหาดเหินเหียน
๑๐. อินทร์ตือเตียนถ่อมถ้า
๑๒. เกิ๋นก่ายฟ้า
๑๓. สวกก้นพญาอินทร์
๑๔. แซดซูดน้ำบินเหิน
๑๕. สางลานเดินเกี้ยวก่อม
๑๖. กิมไฮฮ่อม
๑๗. ถีบโฮ้ง
๑๘. ควงโค้งไหล่สองแขน
๑๙. วนแวนล้วงหนีบ
๒๐. ชักรีบแทงสวน
๒๑. มนม้วนสีไคล
๒๒. แทงสวนใหม่ถือสัน
๒๓. จ๊างตกมันหมุนวงลวงรอบ
๒๔. เสือคาบรอกลายแสง
๒๕. สินส้น
๒๖. สินป๋าย
๒๗. ลายแทง
๒๘. กอดแยง
๒๙. แทงวัน
๓๐. ฟันโข่
๓๑. บัวบานโล่
๓๒. ลายสาง

เมื่อฟ้อนจบทั้ง ๓๒ ท่าแล้ว “นบน้อมขอกราบลงวาง”
แล้วจบด้วยการฟ้อนดาบ “พญาเข้าเมือง”
และปัจจุบันนี้ ท่าฟ้อนดาบทั้ง ๓๒ ท่าที่พ่อครูคำ กาไวย์ และอาจารย์ธีรยุทธ ยวงศรี
ได้เรียบเรียงไว้นี้ถือเป็นท่าฟ้อนดาบมาตรฐานที่เป็นต้นแบบให้กับผู้ที่ เริ่มต้นเรียนฟ้อนดาบ

อุปกรณ์ในการแสดงการฟ้อนดาบทั่วไปนิยมใช้ดาบเมืองจำนวน ๒ เล่ม โดยจะวางดาบไว้กับพื้น
แล้วผู้ฟ้อนจะไหว้ครูบาอาจารย์ ฟ้อนเชิง ตบบะผาบ
แล้วจึงจะมาหยิบดาบร่ายรำไปจนครบ ๓๒ ท่า แล้ววางดาบลงกับพื้นอีกครั้ง
แต่ผู้ฟ้อนบางคนก็ใช้ดาบโบราณที่สอดไว้ในฝักเพียงเล่มเดียว
โดยสะพายดาบไว้กับตัวแล้วจึงจะชักออกมาร่ายรำ เมื่อร่ายรำเสร็จแล้วก็จะสอดดาบเข้าฝักดังเดิม
ผู้ฟ้อนบางคนหรือบางสำนักก็นิยมฟ้อนดาบหลายเล่ม เช่น ฟ้อนดาบ ๑๒ เล่ม
โดยนำดาบมาคาบบ้าง มาพาดกับไหล่บ้าง ใช้ขาหนีบดาบบ้าง
เพื่อแสดงการรักษาสมดุลของร่างกาย เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้ว การฟ้อนดาบหลายเล่มเช่นนี้
มักจะแสดงในธุรกิจขันโตกเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้าเสียมากกว่า

การแต่งกายการแต่งกายของผู้ฟ้อนดาบคล้ายกับการแต่งกายของการฟ้อนเชิง คือ
สวมกางเกงสะดอ เสื้อผ้าฝ้าย เป็นหลัก ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อน
การฟ้อนดาบนิยมฟ้อนเข้ากับวงกลองปู่เจ่ กลองสะบัดชัย หรือกลองปูจา
เพราะมีจังหวะที่คึกคักเร้าใจ สร้างความฮึกเหิมให้กับผู้ฟ้อนและผู้ชมได้ดี

คำสำคัญ
การฟ้อนดาบ
สถานที่ตั้ง
อำเภอ สันทราย จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง siripron sangchai อีเมล์ siripron_l@m-culture.go.th
ชื่อที่ทำงาน culture office san sai
ตำบล สันทรายหลวง อำเภอ สันทราย จังหวัด เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50210
โทรศัพท์ 053-350003 โทรสาร 053-350003
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่