ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 36' 23.7318"
18.6065921783549
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 1' 26.792"
99.0241088867188
เลขที่ : 154298
วัดเหมืองง่า
เสนอโดย ลำพูน วันที่ 30 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย ลำพูน วันที่ 17 กันยายน 2555
จังหวัด : ลำพูน
1 725
รายละเอียด

วัดเหมืองง่า เป็นวัดเก่าแก่และสำคัญวัดหนึ่งในตำบลเหมืองง่า ย้ายมาจากวัดเดิมที่อยู่ริมน้ำปิงห่าง(วัดป่าไม้แดง ในปัจจุบัน)สร้างขึ้นในยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง เป็นช่วงที่ล้านนาได้รับการฟื้นฟูบังเสื่อมโทรมเพราะตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่านาน ๒๑๖ ปี(๒๑๐๑-๒๓๑เรียกว่า “ฟื้นม่าน”ในสมัย พ.ศ.๒๓๒๕ พระเจ้ากาวิละได้ฟื้นม่านและได้เกณฑ์คนจากตอนบนของภูมิภาคที่มีวัฒนธรรมสายเดียวกันทั้งจากเชียงรุ่งสิบสองพันนา เชียงตุง และเชียงแสน ที่เรียกครั้งหลังว่า“คนยองย้ายแผ่นดิน”วัดเหมืองง่าได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.๒๓๗๕ คราวกลุ่มชาติพันธุ์ไทยอง ไทเขิน และเงี้ยว หรือไทใหญ่ ได้อพยพมาอยู่เมืองนครลำพูนอย่างมั่นคง ได้กระจัดกระจายอยู่โดยทั่วไป บางส่วนได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ตำบลเหมือง่า จึงได้สร้างวัดขึ้นไว้เป็นสถานที่บำเพ็ญบุญ คือวัดเหมืองง่าและวัดสถุ่ง(ร้าง)ในปัจจุบัน หลักฐานที่ปรากฏที่สามารถอ้างอิงได้ว่า วัดเหมืองง่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ไทอย่างหลากหลายคือ พระธาตุเจดีย์ ที่งานศิลปกรรมปรากฏรูปแบบ ทั้งคติความเชื่อแบบล้านนา รูปทรงและลวดลายที่ปรากฏเป็นลักษณะเฉพาะของไทใหญ่หรือเงี้ยว มีความผสมผสานกันอยู่ไม่น้อย เดิมชื่อ “วัดนางเหลียว”ด้วยความวิจิตรงดงามของพระพักตร์พระประธานในวิหาร พุทธศาสนิกชนที่เป็นอุบาสกอุบาสิกา (โดยเฉพาะอุบาสิกา) เวลาเดินผ่านหน้าวัดนี้จะต้องเหลียวดู แล้วยกมือประนมไหว้ด้วยความศรัทธาเลื่อมใสในองค์พระประธานในวิหาร ต่อมาทางวัดได้เปลี่ยนชื่อใหม่โดยการปรึกษาพระเถระผู้ใหญ่และเจ้าหอคำผู้ครองนครลำพูน โดยตั้งชื่อวัดเสียใหม่ว่า “วัดเหมืองง่า”เพราะทำเลที่ตั้งหมู่บ้านและวัดมีลำเหมืองหลายสายได้มาบรรจบกันดูเป็น “ง่าม”หรือ “ง่า”ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดเหมืองง่า”

วัดเหมืองง่า ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗๔ หมู่ที่ ๒ ถนนลำพูน-เชียงใหม่ ตำบลเหมืองง่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๒ งาน ๘๙ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๒๓๔๗ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง คือที่ดินของวัดเหมืองง่า(ร้าง)เป็นวัดเหมืองง่าเดิมก่อนที่จะย้ายมาที่นี่ เนื้อที่ ๒ ไร่ ๒๕ ตารางวา

วัดเหมืองง่า ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๒ มีเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ดังนี้

๑. พระภิกษุ(ไม่ทราบชื่อ) เป็นผู้แรกที่บูรณปฏิสังขรณ์เมื่อคราววัดเหมืองง่าร้างไป ซึ่งน่าจะอยู่ในรัชสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

๒. พระอธิการมโน (ครูบามโน)

๓. พระอธิการใจ

๔. พระเดชพระคุณ พระญาณมงคล (ครูบาปวน อภิชโย ธนาขันธรรม) อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำพูน รูปที่ ๔ อดีตเจ้าคณะแขวงลี้ อดีตเจ้าอาวาสวัดเหมืองง่า รูปที่ ๕

๕. พระสมุห์สมบูรณ์ พฺรหฺมเสโน เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อจากพระเดชพระคุณพระญาณมงคล ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์กุฏิหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรมยงไม่ทันแล้วเสร็จ ท่านก็มรณภาพลงเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ ครองวัดได้ ๑๒ ปี

๖. พระอธิการคำมูล จตฺตสลฺโล ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๑-๒๕๒๙ และดำรงตำแหน่งประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลเหมืองง่า รูปแรก(พ.ศ.๒๕๑๘-๒๕๒๑)

๗. พระอธิการณรงค์ ฐิตสีโล ป.ธ.๑-๒ น.ธ.เอก ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเหมืองง่า เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๒ และได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแม่สารป่าแดด ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ปัจจุบันได้ลาสิกขาแล้ว

๘. พระครูวีรศาสน์ประภัศร์ (วีระพันธ์ ปภสฺสโร) น.ธ.เอก ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเหมืองง่า ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๕ ถึงปัจจุบัน

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
บ้านเหมืองง่า
ตำบล เหมืองง่า อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง เจ้าอาวาสวัดเหมืองง่า
ตำบล เหมืองง่า อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่