นางทัน ขันติ เกิดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2485 อายุ 70 ปี อยู่บ้านเลขที่ 41 หมู่ที่ 7 ตำบลสระ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในการสาน (ถัก) สวิง ยอ
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
สวิง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จับสัตว์น้ำหรืออย่างใดก็ได้ที่เห็นสมควรซึ่งมีการ สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ตั้งแต่ในสมัยอดีตและได้ตกทอดมาจนถึงสมัย ปัจจุบัน ซึ่งวัสดุที่ใช้ในการทำสวิงนั้น สามารถหาได้ง่าย เพราะมีอยู่ทั่วไปภายในบริเวณของหมู่บ้าน สวิง นั้น มีประโยชน์แก่พวก ชาวบ้านมากเพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือที่ชาวบ้านใช้ในการทำมาหากินแล้ว ก็ ยังสามารถนำไปขาย เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ครอบครัวของพวกเขาเอง จึง ได้มีการจัดตั้งกลุ่มสวิงขึ้นมา เพื่อจะได้เป็นสิ่งที่สืบทอดต่อไปแก่ลูก หลานในวันข้างหน้า เพื่อลูกหลานจะได้รู้จักหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเองได้และ รู้จักการอยู่แบบพอเพียง พอมี พอกิน
วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำสวิงนั้น มีดังนี้
1. ไม้ไผ่ 2. ตะปูเข็ม 3. ด้ายไนล่อน 4. เชือกฟาง 5. ไม้กีม6. มีด 7. ค้อนตอกตะปู 8. เขียง
ขั้นตอนและวิธีการทำสวิง
1. นำด้ายไนล่อนมาใส่ไว้ในไม้กีม อาจจะคล้ายกับลักษณะของกระสวยทอผ้าแต่วิธีการนั้น แตกต่างกันนิดหน่อย
2. เริ่มก่อจอม ซึ่งเรามักจะเรียกจอมนี้ว่า ปม เพื่อให้ฐานแข็งแรงจะต้องให้ได้ขนาด 2 –3นิ้ว
3. จากนั้นก็สานไปเรื่อยๆจนได้ความลึกประมาณ50–60 เซนติเมตรหรือได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วแต่ความชอบของผู้ใช้
4. นำไม้ไผ่มาเหลาให้ได้ 2 อัน อันแรกเป็นด้ามสวิง ส่วนอันที่สองเหลาให้มีขนาดเล็กพอประมาณ เพื่อนำไปสอดกับสวิงที่สานไว้ และใช้เป็นตัวกำหนดขนาดของช่อง ว่าจะเอาความห่างประมาณไหน
5. นำไม้ไผ่อันแรก ที่เหลาแล้วมาเฉือนปลายสองด้านให้ได้รูป และนำมาประกบกันจนเป็นทรงกลม จากนั้นก็มัดด้วยเชือกฟางไว้ก่อน แล้วค่อยตอกตะปูเข็มให้แน่น
6. นำสวิงที่สานเสร็จเรียบร้อยมาสอดกับไม้ไผ่อันที่สองที่เหลาไว้และนำมามัดติดกับไม้ไผ่อันแรกด้วยเชือกฟาง หลังจากนั้นก็เย็บติดกับขอบไม้ไผ่ด้วยการตอกตะปูเข็มอย่างประณีต
7. หลังจากที่เย็บด้วยตะปูเข็มเรียบร้อยแล้ว ก็นำมีดมาตัดเอาเชือกฟางออก พร้อมทั้งเก็บลายละเอียดของสวิงเล็กน้อย และนำเขียงมาใส่ไว้ในสวิง เพื่อถ่วงน้ำหนักและให้สวิงนั้นได้รูปทรงที่สวยงาม
8. จากนั้นก็เป็นอันเสร็จสิ้น ก็จะได้สวิงที่คงทนแข็งแรง และสวยงาม พร้อมสำหรับการออกใช้งานหรือออกว่างจำหน่ายแก่ผู้ที่สนใจ