ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 45' 3.8448"
13.751068
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 30' 21.2652"
100.505907
เลขที่ : 163527
ชุมชนบ้านบาตร
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 9 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 9 ตุลาคม 2555
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
0 3628
รายละเอียด

ชุมชนบ้านบาตรตั้งขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่สันนิฐานว่าหลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้ทรงสถาปนากรุงเทพขึ้นเป็นราชธานีและมีการขุดคลองรอบกรุงในปี พ.ศ.2326 ก็ได้มีชาวกรุงศรีอยุธยากลุ่มหนึ่ง อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในละแวกคลองนอกเมืองและได้นำความรู้ดั้งเดิมในเรื่องในเรื่องการทำบาตรพระมาประกอบอาชีพ จึงเรียกชุมชนแห่งนี้ว่า บ้านบาตร ซึ่งบาตรของที่นี่มีขั้นตอนการทำด้วยวิธีดั้งเดิมคือการต่อเหล็กและตีขึ้นเป็นรูปบาตรด้วยมือ เรียกว่าบาตรบุ นับว่าเป็นงานบุของไทยแขนงหนึ่งที่ทรงคุณค่าและเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมายาวนานกว่า 200 ปี

ในอดีตวัสดุที่ใช้ทำบาตรคือตัวถังเหล็กยางมะตอย ต่อมามีการใช้เหล็กแผ่น ทองเหลือง จนกระทั่งปัจจุบันได้มีการนำสเตนเลสมาใช้ด้วยเนื่องจากไม่เป็นสนิม สำหรับขั้นตอนการทำบาตรพระประกอบด้วย

1.ทำขอบบาตร ถือเป็นขั้นตอนแรกของการทำบาตรพระ

2.การประกอบกง ช่างจะตัดแผ่นเหล็กเป็นรูปกากบาท ซึ่งเรียกว่า ‘กง' จากนั้นจึงดัดงอขึ้นรูปแล้วนำมาติดกับขอบบาตร

3.การแล่น คือการเชื่อมประสานรอยตะเข็บ ให้เหล็กเป็นเนื้อเดียวกัน โดยใช้ผงทองแดงกับน้ำประสานทองทาให้ทั่วบาตรก่อน เพื่อให้น้ำประสานทองเชื่อมโลหะไม่ให้มีรูรั่ว

4.การลาย หรือการออกแบบรูปทรง เป็นการนำบาตรที่แล่นแล้วมาเคาะให้ได้รูปทรงที่ต้องการ โดยจะใช้ ‘ค้อนลาย' ซึ่งเป็นค้อนรูปโค้งงอ หัวค้อนมีลักษณะแหลม เคาะด้านในของบาตร

5.การตี ช่างจะใช้ค้อนเหล็กตีผิวด้านนอกของบาตรให้รอบ เพื่อให้ส่วนที่นูนออกมาจากการลายรวมทั้งตีให้รอยตะเข็บที่ยังขรุขระเรียบเสมอกัน จากนั้นต้องนำไป ‘ตีลาย' บนทั่งไม้ เพื่อให้ได้รูปทรงตามต้องการ แล้วนำไปเจียรต่อโดยใช้เครื่องเจียรไฟฟ้า แล้วจึงตะไบตกแต่งให้สวยงามอีกครั้ง

6. การสุมหรือระบมบาตร เพื่อป้องกันการเกิดสนิม โดยในสมัยก่อนจะใช้กำมะถันทา จากนั้นจึงนำบาตรมากองรวมๆ กัน แล้วใช้หม้อครอบสุม (เชื้อเพลิงที่ใช้จะเป็นเศษไม้สักจากร้านขายเครื่องไม้ซึ่งมีอยู่รอบภูเขาทอง เนื่องจากไม้สักเป็นไม้ที่ให้ความร้อนสูง) บาตรที่ได้จากการสุมจะมีสีดำ จากนั้นจึงใช้น้ำมันมะพร้าวทาทับอีกครั้ง แต่ปัจจุบันนิยมใช้น้ำมันกันสนิมชโลมให้ทั่วตัวบาตรแทน

7.การทำสี ขั้นตอนสุดท้ายที่ทำให้บาตรเป็นสีต่างๆ เช่น สีเขียว สีดำสนิท ถือเป็นเทคนิคเฉพาะตัวของช่างแต่ละคน รวมทั้งการแกะสลักลวดลายไทย การตีตรา เป็นต้น

ปัจจุบันมีการผลิตบาตรบุน้อยลงมากและจำกัดอยู่เพียงจำหน่ายเป็นของที่ระลึกหรือรับสั่งทำจากพระสงฆ์โดยตรงเท่านั้น โดยในชุมชนเองมีเพียงไม่กี่บ้านที่ยังคงยึดอาชีพทำบาตรขาย แต่บาตรของที่นี่ก็ยังคงคุณภาพแข็งแรง ทนทานคุ้มค่ากับราคา ถูกต้องตามพระธรรมวินัยพระพุทธศาสนา และที่สำคัญคือการรักษาและสืบทอดภูมิปัญญามาแต่ครั้งโบราณ นอกจากนี้สามารถไปเยี่ยมชมการตีบาตรได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00 - 17.00 น.

สถานที่ตั้ง
ชุมชนบ้านบาตร
ซอย บ้านบาตร ถนน บริพัตร
ตำบล บ้านบาตร อำเภอ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อรวินท์ เมฆพิรุณ อีเมล์ orrawin@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่