ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 50' 54.7566"
18.8485435
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 43' 55.2547"
98.7320152
เลขที่ : 167036
พิธีกรรมเข้ากรรมป่าช้าหรือโสสานกรรม
เสนอโดย Netima วันที่ 4 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : เชียงใหม่
0 3644
รายละเอียด

ในช่วงระหว่างตั้งแต่เดือนธันวาคม - มกราคม และกุมภาพันธ์ หรือเดือน 3-4 และเดือน 5 เหนือ ของทุกปี ชาวพุทธเมืองเหนือล้านนาจะนิยมจัดกิจกรรม เข้ากรรม ปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ และศรัทธาประชาชน จนถือเป็นประเพณีมาจนกระทั่งตราบถึงปัจจุบัน ประเพณีดังกล่าวนี้จะเลือกเอาสถานที่ตามวัดวาอาราม เรียกว่า "เข้ากรรมรุกขมูล" และใช้บริเวณสุสานป่าช้า เรียกว่า "ประเพณีเข้าโสสานกรรม"
วันนี้ผู้เขียนจะขอคุยกันถึงเรื่อง ประเพณีเข้าโสสานกรรม ว่ามีที่มาที่ไปกันอย่างไร "โสสานกรรม หรือสุสาน" คือป่าช้า ซึ่งเป็นที่ฝังศพหรือเผาศพของคนเมืองเหนือล้านนา การเข้าโสสาน คือการไปเข้าพิธีกรรมในป่าช้า โดยได้มีการยึดถือเป็นประเพณีสืบต่อๆกันมาของพระสงฆ์องค์เจ้า ศรัทธาประชาชนที่ได้ร่วมกันจัดขึ้นมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษของคนเมืองเหนือล้านนา

แต่เดิมนั้นการประกอบพิธีฌาปนกิจศพ ของคนเมืองเหนือนั้นจะนิยมการฝังและจะเอาสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวของผู้ตายฝังลงไปด้วย

ต่อมาคนไทยเราได้มีการรับเอาวัฒนธรรมอินเดีย และลังกาเข้ามาประพฤติปฏิบัติโดยเฉพาะในเรื่องของการฌาปนกิจศพคนตายนั้น จะนิยมเผาบนเชิงตะกอนหรือคนเมืองเรียกว่ากองฟอน แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีคนไทยบางที่บางแห่ง ได้มีการแบ่งเกณฑ์อายุของคนตายว่า ถ้ามีคนตายที่มีอายุ 20 ปีลงมา จะทำการฌาปนกิจด้วยการฝัง แต่ถ้าหากเกินเลยกว่านี้ขึ้นไปจะนิยมฌาปนกิจด้วยการเผา ดังนั้นจึงได้มีการแบ่งเขตเนื้อที่ของป่าช้าออกเป็น 2 เขต คือด้านหนึ่งจะเป็นที่สำหรับเผา และอีกด้วยหนึ่งจะเป็นที่สำหรับฝังศพ

การเข้าโสสานกรรมหรืออยู่กรรมของพระสงฆ์ มีจุดมุ่งหมายต้องการที่จะให้พระสงฆ์ได้รู้จักความทุกข์ยากลำบาก ให้เป็นผู้รู้จักช่วยเหลือสังคม โดยเฉพาะได้เป็นผู้นำในด้านการพัฒนา ในสิ่งที่จะเป็นสาธารณประโยชน์ต่อท้องถิ่น อาทิ ถนนหนทาง ศาลาที่พัก สะพาน หรืออื่นๆเป็นต้น ตลอดจนถึงได้ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนศรัทธาประชาชน เพื่อให้ได้มีการระลึกถึงมรณานุสติที่ทุกๆคนจะต้องได้พบหรือประสบ และจะได้เร่ง กระทำความดีในขณะที่ยังมีชีวิตหรือมีลมหายใจอยู่

การเตรียมการเข้าโสสานกรรม พระสงฆ์และศรัทธาประชาชนจะมีการช่วย กันสร้างกระต๊อบที่อยู่ เป็นหลังๆ โดยอยู่ห่างกันประมาณ 5-10 วา โดยจะจัดสร้างหรือทำเท่ากับจำนวนของพระสงฆ์ที่ได้นิมนต์มาอยู่ร่วมพิธีกรรม การนิมนต์พระสงฆ์ที่จะมาร่วมพิธีกรรม เจ้าอาวาสที่เป็นเจ้าของพื้นที่ตั้งป่าช้า จะเป็นผู้จัดนิมนต์พระสงฆ์ตามวัดวาอารามต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงให้มาเข้าร่วมพิธีกรรมด้วยกันส่วนระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรมนั้น ก็จะใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 5-7 วัน

สำหรับกิจกรรมประจำวันของพระสงฆ์ที่เข้าโสสานกรรมก็คือ จะมีการไหว้พระสวดมนต์, เทศนาอบรมสั่งสอนประชาชน, การนั่งภาวนาบนกองฟอน, บังสุกุลแผ่เมตตา เดินจงกรม, การรับทานขันข้าว และการเป็นผู้นำในการพัฒนาสิ่งที่จะเป็นสาธารณ-ประโยชน์
การเข้าโสสานกรรมถือเป็นประเพณีที่พระสงฆ์ในพุทธศาสนาได้ถือเป็นวัตร- ปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งสมัยโบราณกาล โดยถือเป็นกิจกรรมงานทำบุญ ทำกุศล ที่พระสงฆ์และประชาชนร่วมกันทำ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และสังคม จนทำให้กลายมาเป็นประเพณีที่ได้กระทำสืบต่อๆกันมาจนตราบถึงทุกวันนี้.

สถานที่ตั้ง
ป่าช้าหลวง
ตำบล สะเมิงใต้ อำเภอ สะเมิง จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ข้อมูล:lannacorner รูป:วัดแม่สาบเหนือ
บุคคลอ้างอิง Netima Kladkaew อีเมล์ netima_k@m-culture.go.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอสะเมิง
ตำบล สะเมิงใต้ อำเภอ สะเมิง จังหวัด เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50250
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่