ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 11' 21.3072"
17.189252
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 23' 16.062"
99.387795
เลขที่ : 169105
วงสะล้อ ซอ ซึง
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 4529
รายละเอียด
ชื่อ วงสะล้อ ซอ ซึง ประวัติความเป็นมา ตำนานที่เกี่ยวข้อง วงสะล้อ ซอ ซึง หมายถึง วงดนตรี ที่นำเอาเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสายของภาคเหนือ คือ ซึงสะล้อ และเครื่องประกอบจังหวะมาบรรเลงรวมกันเป็นวง ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในภาคเหนือ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีอยู่เฉพาะในภาคเหนือตอนบนเท่านั้นถือว่าเป็นวงดนตรีพื้นบ้านของท้องถิ่น ล้านนา ชื่อเรียกของวงดนตรี บางครั้งเรียก วงสะล้อ ซอซึง บ้างก็เรียก วง ซึง สะล้อ คงจะเป็นเพราะวงสะล้อ ซอซึง ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ในการบรรเลง มีการนำเอาขลุ่ยพื้นเมือง ( ขลุ่ยตาด ) หรือปี่จุ่มมาบรรเลงร่วมด้วย บางครั้งมีการขับร้องเพลง ( ซอ ) ประกอบโดยใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองขอแยกความหมายเพื่อให้ชัดเจน ดังนี้ สะล้อ เป็นเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสาย ที่ใช้วิธีการเล่นโดยการสี สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนาชนิดหนึ่ง เป็นประเภทเครื่องสีซึ่งมีทั้ง 2 สายและ 3 สาย คันชักสำหรับสีจะอยู่ข้างนอกเหมือนคันชักซอสามสาย สะล้อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทร้อ หรือ ซะล้อ มีรูปร่างคล้ายซออู้ของภาคกลาง ซอ เป็นภาษาพื้นบ้านล้านนา หมายถึง การขับร้องเพลง การขับร้อง ทำนองของคำซอ โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าซอเป็นเครื่องดนตรีแต่ไม่ใช่ ซอเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งวงสะล้อ ซอ ซึง การขับซอ เป็นรูปแบบการร้องเพลงที่ชาวพื้นเมืองล้านนาใช้ขับกล่อมให้คลาย ทุกข์ โดยจะมีคำเรียกผู้ร้องเพลงซอว่า ช่างซอ ซึง เป็นเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสาย ที่ใช้วิธีการเล่นโดยการดีด แบ่งตามลักษณะได้ 3 ประเภท คือ ซึงเล็ก ซึ่งกลาง และซึงหลวง(ซึงที่มีขนาดใหญ่) แบ่ง ตามประเภทได้ 2 ชนิด คือ ซึงลูก3 และซึงลูก4 (แตกต่างกันที่เสียง ลูก 3 เสียงซอล จะอยู่ด้านล่าง ส่วนซึงลูก4 เสียงซอล จะอยู่ด้านบน) แหล่งที่ปรากฏการแสดงนั้นๆ บ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - โอกาสที่เล่นหรือแสดง งานประเพณีและ เทศกาลต่างๆ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่น การเล่นสะล้อ ซอ ซึง มีเครื่องดนตรีทั้งหมด 9 ชิ้น (ชุดใหญ่) คือ ซึงเล็ก ซึงกลาง ซึงใหญ่ สะล้อเล็ก สะล้อใหญ่ ตะโพน ขลุ่ย ฉิ่ง ฉาบ ส่วนคำว่าซอ คือการร้องไม่ใช่เครื่องดนตรี การร้องก็คล้ายๆ ลำตัดหรือเพลงฉ่อย ของภาคกลาง เนื่องจากเมื่อดนตรีเล่น ก็สามารถแต่งกลอนร้องสดกันได้เลย และก็มีนางรำด้วย ลักษณะของสถานที่ สามารถเล่นได้ทุกสถานที่ จำนวนผู้แสดง เพศ จำนวนผู้เล่นหลักประมาณ 3-9 คน เครื่องแต่งกาย - เรื่องหรือบทที่ใช้แสดงหรือลำดับขั้นของการแสดง ท่ารำที่ใช้ในการแสดง - การเปลี่ยนแปลงหรือสภาพในปัจจุบัน วงสะล้อ ซอ ซึง บ้านวังหาด มีที่มาจาก เดิมชาวบ้านวังหาดดังเดิมส่วนใหญ่จะอพยพมาจากจังหวัดลำปาง ซึ่งมีเป็นจังหวัดที่ติดกับจังหวัดสุโขทัย เมื่ออพยพย้ายถิ่นฐานมาก็ได้รักษาประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้านของตนเอง ร่วมถึงการเล่นสะล้อ ซอ ซึง ซึ่งเป็นการเล่นดนตรีแบบรวมวงเป็นแบบชาวล้านนา การเล่นสะล้อ ซอ ซึง นั้นมีมานานมากก่อนที่จะย้ายมาอยู่ที่บ้านวังหาด เมื่อก่อนการเล่นสะล้อ ซอ ได้หายจากชุมชนบ้านวังหาดอยู่ช่วงหนึ่ง เนื่องจากผู้ที่เล่นเป็นรุ่นแรกๆ เสียชีวิตไปหมดแล้ว ปัจจุบันจึงมีการรวมตัวและเริ่มฝึกและสอนกันเองในกลุ่ม โดยมีคำอ้าย หนานกุล และชาวบ้าน ได้รวมกลุ่มกัน เพื่อรื้อฟื้นและรักษาประเพณีดังเดิมของชุมชนให้กลับมาใหม่ ปัจจุบันนักดนตรีที่ร่วมกันเล่นก็มี นายประจำ อิงทรัพย์ อายุ 64 ปี เล่นฉิ่ง นายเฉลิม เหลืองศรี อายุ 61 ปี เล่นตะโพน นายจำเนียร หนานกุล (ลูกชายนายอ้าย หนานกุล) เล่นฉาบ นายสิงห์ วุฒิชมพู เล่นซึง และชาววังหาดอีกหลายคน
สถานที่ตั้ง
ตำบล ตลิ่งชัน อำเภอ บ้านด่านลานหอย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายสิงห์ วุฒิชมภู
เลขที่ เลขที่ 6/1 หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านวังหาด
ตำบล ตลิ่งชัน อำเภอ บ้านด่านลานหอย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ 080-681-1242 ,085-60
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่