ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 55' 53.7708"
16.931603
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 57' 27.3564"
99.957599
เลขที่ : 169142
รถคอกหมู
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 6210
รายละเอียด
เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชื่อ รถคอกหมู ประเภทและลักษณะ รถยนต์โดยสารสองแถวสี่ล้อ ประวัติความเป็นมา รถคอกหมูมาแล้ว คือสียงที่ใช้เรียกรถโดยสารหรือรถสองแถวของอำเภอกงไกรลาศ รถคอกหมูหรือรถสองแถวเริ่มมีเมื่อประมาณ ๖๐ กว่าปีมาแล้ว โดยเริ่มแรกมีจำนวน ๓ คัน เป้นของ นายประหยัด นายลอย และนายนาด เป็นรถยี่ห้อ TOYOPET ใช้โดยสารคน สัมภาระและสินค้าต่างๆ เช่น ปลาร้า ปลาสด ข้าว ถั่ว เป็นต้น ไปจังหวัดพิษณุโลก หรือจังหวัดสุโขทัย เนื่องการเดินทางทางบกมีความสะดวกกว่าทางน้ำจึงมีการนำสินค้ามาขึ้นที่ท่าน้ำบ้านกง แล้วเดินทางด้วยรถคอกหมู ไปปลายทางที่ต้องการ เดิมคิดค่าโดยสารไปจังหวัดสุโขทัยเป็นราคา ๑ บาทและคิดค่าโดยสารไปจังหวัดพิษณุโลกเป็นราคา ๒ บาท ปัจจุบันกงไกรลาศยังมีการใช้รถคอกหมูเป็นรถโดยสารประจำอำเภอ โดยมีการรวมตัวของผู้ประกอบอาชีพขับรถสองแถวตั้งเป็น บริษัทกงไกรลาศบริการเดินรถ จำกัดให้บริการแก่แม่ค้าที่ขนสินค้าในเวลาเช้ามืดและให้บริการแก่นักเรียนและผู้โดยสารทั่วไปในอัตราผู้ใหญ่ ๒๖ บาท เด็ก ๑๓ บาท ในการเดินทางไปยังจังหวัดพิษณุโลก เริ่มตั้งแต่ ๐๓.๓๐-๑๕.๐๐ น. และอัตราผู้ใหญ่ ๒๐ บาท เด็ก ๑๐ บาท ในการเดินทางไปยังจังหวัดสุโขทัย เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๕.๐๐-๑๔.๐๐ น. ออกรถทุกครึ่งชั่วโมง ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ - วิธีทำ ใช้รับส่งโดยสารตามต้องการ การโดยสารจะให้จะให้ผู้โดยสารนั่งในรถ ส่วนสัมภาระและข้าวของต่างๆ จะนำไปไว้บนหลังคารถแทน บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต - วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา เป็นยานพาหนะที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีใช้งานกันมานาน สถานที่ อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
บริษัทกงไกรลาศบริการเดินรถ จำกัด
ตำบล กง อำเภอ กงไกรลาศ จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง เทศบาลกงไกรลาศ
อำเภอ กงไกรลาศ จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่