ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 25' 45.012"
17.42917
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 48' 39.996"
99.81111
เลขที่ : 169145
พระพุทธรูปยืน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1460
รายละเอียด
เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 09 ศิลปวัตถุ ชื่อ พระพุทธรูปยืน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่ตั้ง อยู่ภายในพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ประวัติความเป็นมา เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืน อยู่ด้านข้างของพระประธานข้างละองค์ ที่พระวิหารด้านหน้าพระปรางค์ แต่จากสภาพที่เห็นเหมือนกับเป็นพระพุทธรูปยืนอยู่ในหลุม ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการบูรณะที่ต้องการแสดงให้ทราบว่า แต่เดิมพระพุทธรูปยืนทั้งสององค์อยู่บนพื้นวิหารเดิม ต่อมาในสมัยโบราณได้บูรณะพระวิหารขึ้นใหม่โดยมีพื้นวิหารสูงขึ้นอันเป็นที่ประดิษฐานองค์พระประธานและพระพุทธลีลาทั้งสองข้าง ความสำคัญ ด้วยความงดงามของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยได้ส่งอิทธิพลต่อการสร้างงานพุทธศิลป์แก่บ้านเมืองร่วมสมัยและบ้านเมืองในยุคต่อมา เช่น เชียงใหม่ อยุธยา เป็นต้น ลักษณะของสิ่งของ เป็นพระพุทธรูปยืน 2 องค์ยืนอยู่ด้านข้างละองค์ ยืนจมอยู่ในฐานวิหาร ก่อสร้างด้วยอิฐและปูน มีลักษณะอ่อนช้อย งดงาม มีชีวิตชีวา มีพระพักตร์เรียวรูปไข่ ปราศจากไรศก พระขนงโก่ง พระกรรณยาว พระโอษฐ์เล็กบาง ลักษณะคล้ายยิ้มเล็กน้อย รูปลักษณ์ขององค์กระกอบทั้งส่วนพระพักตร์และพระวรกายแสงดถึงความหมายของพระพุทธเจ้าในอุดมคติที่เปี่ยมด้วยเมตตาและแฝงไว้ซึ้งความสงบอิ่มเอิบในสภาวะ สภาพเศรษฐกิจและสังคม - สถาปัตยกรรม (ยุค) ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 19-20 จัดอยู่ในหมวดพระพุทธรูปที่เรียกว่า หมวดใหญ่ ถือว่าเป็นยุคทองของศิลปะสุโขทัย ลวดลาย การใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ผู้ครอบครองหน่วยงานที่ดูแล อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
หมวดหมู่
ศิลปวัตถุ
สถานที่ตั้ง
อุทธยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนา
เลขที่ วัดพระศรีร
ตำบล ศรีสัชนาลัย อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ วัดพระศรีร
ตำบล ศรีสัชนาลัย อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่