ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 6' 19.0548"
15.105293
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 49' 12.612"
104.82017
เลขที่ : 169951
โปงไม้
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 1634
รายละเอียด
โปง คือเครื่องมือที่ใช้เพื่อเป็นสัญญาณสื่อถึงกิจกรรมของพระสงฆ์ ซึ่งจะมีสองกิจกรรมในช่วงเช้าและช่วงเย็น ในตอนเช้าตีโปงเมื่อพระภิกษุออกบิณฑบาต เรียกว่าโปงเช้า และในตอนเย็นตีโปงเมื่อพระภิกษุลงอุโบสถเพื่อไหว้พระสวดมนต์ในตอนเย็น เรียกว่าโปงแลง ดังนั้นหน้าที่รองของสัญญาณโปงจึงทำให้คนในชุมชนที่อยู่ใกล้วัดนั้นได้ทราบถึงเวลาด้วย และอาจมีการใช้ตีเพื่อรวมคนหรือตีเพื่อเป็นสัญญาณบอกเหตุผิดปกติต่าง ๆ ในชุมชนก็ได้ โปงมีรูปร่างคล้ายระฆังทรงตรงขนาดใหญ่ ทำจากโลหะหรือไม้ก็ได้ หากทำจากไม้จะใช้ไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้ประดู่ ส่วนใหญ่จะมีความยาวประมาณ 2 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 80 เซนติเมตร มีหูสำหรับแขวนไว้บนคานไม้ การทำโปงจะเริ่มจากหาไม้เนื้อแข็งที่ไม่มีโพรง และไม่มีแมลงเจาะ ไม้ที่ใช้อาจจะเป็นไม้หมากหาด ไม้ตะเคียน ไม้ประดู่ เป็นต้น นำไม้เนื้อแข็งที่ได้ไปถากให้เป็นรูปทรงโปง แล้วเจาะภายในเนื้อไม้ให้เป็นโพรง แล้วทำหูโปงสำหรับแขวนกับหลักหรือคานไม้ ถ้าต้องการให้มีเสียงกังวาน จะต้องขุดแต่งโพรงให้เป็นทรงกรวยสอบขึ้นไปจนทะลุหัวโปงเป็นรูเล็ก ๆ ที่เรียกว่า รูแพ นอกจากนี้การแขวนโปงควรแขวนให้ห่างจากพื้นดินประมาณ 1 คืบ ฝังหม้อหรือไหไว้ในดิน ให้ตรงกับปากโปง ซึ่งจะช่วยเป็นตัวสะท้อนเสียงของโปง ทำให้มีความดังมากขึ้นกว่าเดิม ที่บ้านคอนสาย ตำบลทราบมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี นอกจากจะมีชื่อเสียงในการทำฆ้องแล้ว ก็ยังสามารถทำโปงไม้ไว้สำหรับขายไปทั่วประเทศด้วย
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 20 หมู่ 6
เลขที่ บ้านคอนสาย
ตำบล สว่าง อำเภอ สว่างวีระวงศ์ จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางบัวทอง สีชนะ
เลขที่ เลขที่ 20 หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านคอนสาย
ตำบล สว่าง อำเภอ สว่างวีระวงศ์ จังหวัด อุบลราชธานี
โทรศัพท์ โทร 08 1264 4791, 08
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่