ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 11' 41.5032"
15.194862
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 49' 41.3472"
104.828152
เลขที่ : 169967
ผ้ากาบบัว
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 2259
รายละเอียด
ประวัติผ้ากาบบัว เมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย มีวิวัฒนาการโดยมีชุมชนที่เรียกว่า”ชาวอุบล” มาเป็นเวลากว่า 200ปี ทำให้เกิดการสั่งสมและพัฒนาการในทุๆทางอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผ้าทอมือซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ถักทอด้วยวิญญาณของคนอุบลฯ ที่มีลวดลายเฉพาะไม่เหมือนใคร จนได้รับคำชื่นชมจากสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งประทับที่เมืองอุบลฯ ในปี พ.ศ. 2543 นายศิวะ แสงมณี ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้ริเริ่มโครงการสืบสานผ้าไทยสายใยเมืองอุบลฯ และเพื่อให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวอุบลฯ จึงได้มีคณะทำงานพิจารณาฟื้นฟูลายผ้าไทยพื้นเมืองในอดีตที่สวยงาม จนได้ลายผ้ามีลักษณะเฉพาะชื่อว่า “ผ้ากาบบัว” และประกาศให้ลายผ้ากาบบัวเป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัด เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2543 ผ้ากาบบัว อาจทอด้วยเส้นฝ้ายหรือเส้นไหม ประกอบด้วยเส้นยืนย้อม อย่างน้อยสองสี เป็นริ้วตามลักษณะ “ซิ่นทิว” และยังทอพุ่งด้วยไหมสีมับไม (ไหมฟั่นเป็นเกลียวหางกระรอก) มัดหมี่ และขิด วิธีใช้ผ้ากาบบัว ผ้าฝ้าย - ก่อนตัดควรแช่น้ำอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือลงน้ำยาก่อนตัด - ควรอัดผ้ากาวเพื่อมให้กระชับ รูปทรงสวยงาม - ไม่จำเป็นต้องส่งซักแห้ง สามารถซักเองได้ ซักรีดง่าย ไม่ควรซักเครื่อง ผ้าไหม - ก่อนตัดควรลงน้ำยาอบผ้าไหมก่อน จะสวยงามมากขึ้น - เวลาตัดควรอัดกาวเพื่อให้ผ้ากระชับ รูปทรงสวยงาม - สามารถซักเองได้ แต่ไม่ควรซักด้วยเครื่องซักผ้า เวลาซักไม่ควรบิด เวลารีดให้ใช้ไฟปานกลาง ความร้อนประมาณ 80 องศา ข้อมูลจาก กลุ่มพัฒนาสตรี ผ้าไทย เลขที่ 48 ม.9 ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34190 โทร. 0-4526-1891, 08-1548-3360
สถานที่ตั้ง
กลุ่มพัฒนาสตรี ผ้าไทย เลขที่ 48 ม.9
อำเภอ โขงเจียม จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ กลุ่มพัฒนา
อำเภอ โขงเจียม จังหวัด อุบลราชธานี
โทรศัพท์ โทร 0 4526 1891, 08
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่