ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 32' 7.044"
12.53529
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 33' 59.328"
102.56648
เลขที่ : 171156
จักสานต้นคลุ้ม
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ตราด วันที่ 21 ธันวาคม 2564
จังหวัด : ตราด
0 1883
รายละเอียด

ต้นคลุ้ม เป็นพืชล้มลุกมีรากเหงาจำพวกขิงข่า ที่ขึ้นอยู่ริมน้ำ หรือในพื้นที่ที่มีความชื้น ลำต้นยาวได้กว่า 4เมตร พบมากในภาคตะวันออกโดยเฉพาะจังหวัดตราด ชาวบ้านนิยมนำมาจักสานทำเครื่องใช้เนื่องจากมีความเหนียวและเนื้อสวยงาม สามารถนำมาสานกระบุงตะกร้า ทั้งใหญ่และเล็ก มีความยืดหยุ่นโค้งงอได้มากกว่าไม้ไผ่ จึงนำมาสานเป็นภาชนะขนาดเล็กได้ดี ปัจจุบันพื้นที่อำเภอบ่อไร่โดยส่วนใหญ่ยังมีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ จึงสามารถพบต้นคลุ้มได้ทั่วไป ชาวบ้านคลองโอนใช้วัสดุนี้จักสานอยู่แล้ว เมื่อคนต่างถิ่นมาเห็นผลิตภัณฑ์ที่ประณีต และทนทานจึงได้สั่งทำ และซื้อขายกันขึ้นชาวบ้านจึงได้จัดตั้งกลุ่มจักสานขึ้นมาเพื่อเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว และเป็นการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ไม่ให้สูญหายไป โดยการแนะนำและสนับสนุนจากพัฒนากรประจำตำบลในยุคนั้นจึงเกิดการรวมกลุ่มกันขึ้น ตั้งเป็น “กลุ่มอาชีพสตรีผลิตภัณฑ์จักสานคลุ้มบ้านคลองโอน”เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550 โดยมีนางจิตรา พวงกัน เป็นประธานกลุ่ม วัตถุดิบและส่วนประกอบ ต้นคลุ้ม หวาย ไม้ซี่ น้ำมันสน น้ำยาเคลือบเงา แปรงทาขนนุ่ม,ขนแข็ง เมื่อได้ต้นคลุ้มจากธรรมชาติ นำต้นคลุ้มลอกเอาเฉพาะส่วนเปลือก มาทำให้เป็นเส้นขนาด 1 มม. ความยาวตามขนาดของต้นคลุ้มลอกเฉพาะส่วนเปลือกมาใช้ ใช้สีตามธรรมชาติ และทาสีบางส่วน นำมาขึ้นรูปทรงด้วยไม้ซี่ เช่น ตะกร้า ตะแกรง กระบุง ตามต้องการ จากนั้นเคลือบเงาให้มีความเงางาม ทนทานมาก

สถานที่ตั้ง
เลขที่ 27 หมู่ 4
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านคลองโอน
ตำบล นนทรีย์ อำเภอ บ่อไร่ จังหวัด ตราด
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ เลขที่ 27 หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านคลองโอน
ตำบล นนทรีย์ อำเภอ บ่อไร่ จังหวัด ตราด
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่