ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 34' 40.7006"
13.5779724
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 17' 13.9942"
101.2872206
เลขที่ : 176945
เอกลักษณ์ท้องถิ่นอำเภอแปลงยาว
เสนอโดย napaporn วันที่ 23 มกราคม 2556
อนุมัติโดย ฉะเชิงเทรา วันที่ 24 มกราคม 2556
จังหวัด : ฉะเชิงเทรา
1 1642
รายละเอียด

อำเภอแปลงยาว เป็นอำเภอหนึ่งใน ๑๑ อำเภอของจังหวัดฉะเชิงเทรา มีประชากรณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕ จำนวน ๔๐,๔๖๘ คน อยู่ห่างจากจังหวัดฉะเชิงเทรา ประมาณ ๓๕ กิโลเมตร ประกอบด้วย ๔ ตำบล คือ ตำบลแปลงยาว ตำบลวังเย็น ตำบลหัวสำโรง และตำบลหนองไม้แก่น จำนวนหมู่บ้าน ๔๘ หมู่บ้าน

คำขวัญประจำอำเภอว่า “ทุ่งนาบอกนาม เผาข้าวหลามประเพณี ผลไม้รสดี ถิ่นที่อุตสาหกรรม”ซึ่งมาจากคำขวัญในวรรคที่ว่า“ทุ่งนาบอกนาม” นั้นได้บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ทางธรรมชาติของอำเภอแปลงยาว กล่าวคือ ได้ตั้งชื่ออำเภอตามลักษณะของทุ่งนาแปลงใหญ่ ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณด้านหน้าของวัดแปลงยาว ตำบลแปลงยาว นอกจากนี้ การตั้งชื่อตำบลหมู่บ้านในอำเภอแปลงยาว จากการสำรวจสอบถาม สรุปได้ว่า มักจะตั้งตามลักษณะภูมิประเทศ รวมทั้งแหล่งน้ำ พันธุ์ไม้ที่ปรากฏในบริเวณใกล้เคียง เช่น ตำบลวังเย็น ที่เรียกว่า วังเย็นนั้น เนื่องจากมีลำคลองไหลผ่าน มีน้ำใสไหลเย็น มีต้นไม้ร่มรื่น หรือตำบลหนองไม้แก่น ที่เรียกว่าหนองไม้แก่นนั้น เนื่องจากในอดีตเป็นป่าทึบ มีพันธุ์ไม้เนื้อแข็ง เช่น ประดู่ ไม้แดง เป็นจำนวนมาก (ปัจจุบันหายากแล้ว)หรือที่ตั้งชื่อเรียกว่า หมู่บ้านหนองครก ก็เนื่องมาจากแอ่งน้ำขนาดใหญ่อยู่บริเวณใกล้เคียง มีลักษณะคล้ายกับครก เป็นต้น

อำเภอแปลงยาว เป็นอำเภอหนึ่งที่มีชนชาติหลายเชื้อชาติอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและมีการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมติดต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน จนทำให้บางตำบล บางหมู่บ้าน มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ถึงอย่างไรก็ตาม ขนบธรรมเนียมประเพณีดังกล่าวก็ได้ผสมกลมกลืนกันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีได้เป็นอย่างดี เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สำคัญของอำเภอแปลงยาว คือ หัตถกรรมทางช่างฝีมือได้แก่ การทำเคียวเขมรที่ตำบลหัวสำโรง การทำเครื่องจักสานที่ตำบลวังเย็น และตำบลหนองไม้แก่น การทำพลุ ตะไล ที่ตำบลแปลงยาว การประดิษฐ์ระนาด ที่ตำบลหัวสำโรง การทำไม้กวาดที่ตำบลหัวสำโรงและตำบลวังเย็น ศิลปะการแสดง อำเภอแปลงยาว มีการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์และสร้างชื่อเสียงให้กับอำเภอ คือการแสดงเพลงพื้นบ้านหัวสำโรง ตำบลหัวสำโรง ได้แก่ การละเล่นเพลงชางชัก เพลงระบำเหนือ รำวงโบราณ การแสดงกลองยาว สวดคฤหัสถ์ในงานศพ การเล่นแม่ศรีและลิงลม ดนตรีไทย วงปี่พาทย์ และการแสดงหนังตะลุงที่คงเหลืออยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทราแห่งเดียว คือหนังตะลุงของนายสมัย แสงเจริญ “คณะไก่แจ้ศิลป์”นอกจากนี้ในตำบลอื่นที่มีการเล่นดนตรีไทย กลองยาว วงปี่พาทย์ ได้แก่ ตำบลวังเย็น ตำบลหนองไม้แก่น และตำบลแปลงยาว มีประเพณีที่สำคัญ คือประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม กลางเดือน ๓ ขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำของทุกปี ณ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหัวสำโรง ตำบลหัวสำโรง ภาษาถิ่นของอำเภอแปลงยาวใช้ภาษาไทยกลางในการติดต่อสื่อสาร จะมีเพียงชนกลุ่มน้อย และผู้สูงอายุในตำบลหัวสำโรง ตำบลแปลงยาวบางส่วน ที่ใช้ภาษาเขมร และผู้สูงอายุในตำบลวังเย็นจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ใช้ภาษาลาวพวนในการติดต่อสื่อสาร

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
ที่ว่าการอำเภอแปลงยาว
หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล วังเย็น อำเภอ แปลงยาว จังหวัด ฉะเชิงเทรา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
(บุคคล/หน่วยงาน/หนังสือ/เอกสาร)
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอแปลงยาว
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรม
หมู่ที่/หมู่บ้านถนน ฉะเชิงเทรา – สัตหีบ
ตำบล วังเย็น อำเภอ แปลงยาว จังหวัด ฉะเชิงเทรา รหัสไปรษณีย์ 24190
โทรศัพท์ ๐ ๓๘๕๘ ๙๒๔๑
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่