ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 13' 13.3738"
17.2203816
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 26' 58.2796"
102.4495221
เลขที่ : 181665
ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร (Streptocephalus sirindhornae )
เสนอโดย หนองบัว วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556
อนุมัติโดย nongbualamphu_admin วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556
จังหวัด : หนองบัวลำภู
0 374
รายละเอียด

ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร (Streptocephalus sirindhornae )

ไรน้ำชนิดใหม่ของโลกซึ่งค้นพบในจังหวัดหนองบัวลำภู โดยจากการสำรวจของ ศ.ดร.ละออศรี เสนาะเมือง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นท่านแรกที่ค้นพบไรน้ำ นางฟ้าชนิดใหม่ของโลก ซึ่งได้เดินทางไปสำรวจและเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำขนาดเล็กจำพวกแพลงก์ตอนในแหล่งน้ำจืดเขตร้อนทางภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือไปจนถึงภาคตะวันออกและภาคใต้ จนกระทั่งปลายฤดูฝนในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้พบไรน้ำนางฟ้าเพศเมียแต่ไม่พบไรน้ำนางฟ้าเพศผู้ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้สำรวจพบไรน้ำนางฟ้าทั้งเพศผู้และเพศเมีย ซึ่งเป็นตัวเต็มวัย ทั้งยังได้จำแนกชนิดจากที่ในโลกมี ๕๐-๖๐ ชนิด สำหรับไรน้ำนางฟ้าชนิดแรกที่พบในจังหวัดหนองบัวลำภูมีลักษณะแตกต่างกับที่พบในแหล่งอื่น ๆ ของโลก โดยได้รับพระราชทานชื่อว่า ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร หลังจากนั้นได้พบไรน้ำนางฟ้าชนิดที่ ๒ จึงให้ชื่อว่า ไรน้ำนางฟ้าไทย ในขณะเดียวกันได้ทำการเก็บตัวอย่างเพิ่มเติม พบไรน้ำนางฟ้าชนิดใหม่อีกให้ชื่อว่า ไรน้ำนางฟ้าสยาม โดยพบที่จังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี ไรน้ำนางฟ้าสองชนิดเป็นสัตว์น้ำประจำถิ่น ของไทย ลักษณะลำตัวใส ๆ หางมีสีแดงหรือสีส้ม แต่ไรน้ำนางฟ้าสยามยังพบที่ประเทศลาว ซึ่งช่วงหนึ่งของชีวิตไรน้ำนางฟ้าต้องการอยู่ใน พื้นที่น้ำแห้ง ไข่มีเปลือกหนา เป็นซีส อยู่ในพื้นดินเมื่อฝนตกไข่ไรน้ำนางฟ้าได้รับน้ำฝนก็จะพัฒนาฟักเป็นตัวโดยจะพบในบ่อเล็กบ่อน้อย ส่วนบ่อหรือบึงขนาดใหญ่จะไม่พบไรน้ำนางฟ้า ทั่วทุกภาคของประเทศไทยสามารถเพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้าได้ โดยปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ น้ำสะอาด ในธรรมชาติภายหลังจาก ฝนตก ๑ เดือนมีน้ำขัง ก็จะพบไรน้ำนางฟ้าในแหล่งน้ำ โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประโยชน์ของไรน้ำนางฟ้า
๑. ใช้ในวงการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น การเพาะพันธุ์กุ้งกุลาดำ กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม
๒. ใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม เช่น ปลาหมอสี
๓. ใช้ในการปรุงอาหาร เช่น แกง หมก
๔. ใช้ทดแทนการนำเข้าอาร์ทีเมียที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ช่วยลดภาวะการขาดดุลของประเทศ
๕. สามารถเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้ผู้ประกอบการ

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู
ตำบล ลำภู อำเภอ เมืองหนองบัวลำภู จังหวัด หนองบัวลำภู
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู
บุคคลอ้างอิง วรวิทย์ รัตนมาลี อีเมล์ tonnbapp@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สวจ.หนองบัวลำภู
ถนน หนองบัวลำภู - เลย
ตำบล ลำภู อำเภอ เมืองหนองบัวลำภู จังหวัด หนองบัวลำภู รหัสไปรษณีย์ 39000
โทรศัพท์ 0-4231-6729 โทรสาร 0-4231-6730
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/nongbualamphu/
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่