โรงเรียนชุมชนบ้านหันมัญจาคีรีตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านหัน ตำบลกุดเค้า อำเภอมัญจาคีรี
จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2
ประวัติโรงเรียน ชุมชนบ้านหันมัญจาคีรีตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2461 อาศัยศาลาการเปรียญวัดโพธิ์กลาง บ้านหัน หมู่ที่ 2 ตำบลกุดเค้า อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียน มีชื่อว่า “โรงเรียนประจำตำบลกุดเค้า” มีนายสิมมา สอนบุตร เป็นครูใหญ่ ครั้งแรกมี 2 ชั้นเรียน คือ ชั้นเตรียมประถม และชั้นประถมปีที่ 1ดำรงอยู่ได้ด้วยเงินรัฐบาล เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “โรงเรียนรัฐบาล”
พ.ศ. 2465 ได้เปลี่ยนฐานะจากโรงเรียนรัฐบาล เป็นโรงเรียนประชาบาล
พ.ศ. 2466 เปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนเป็น ชั้นประถมปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมปีที่ 5 (ถือว่าเป็นชั้นประถมศึกษาบริบูรณ์) เป็นเรียนวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เต็มวัน วันเสาร์หยุดครึ่งวัน วันอาทิตย์หยุดเต็มวัน
พ.ศ. 2472 เปิดขยายชั้นเรียนเพิ่มขึ้น เป็นชั้นประถมปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมปีที่ 5
(ถือว่าเป็นชั้นประถมศึกษาบริบูรณ์)
พ.ศ. 2474 เปิดชั้นเรียน เป็นชั้นประถมปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมปีที่ 3 (ถือเป็นชั้นประถมบริบูรณ์)
พ.ศ. 2476 เปิดขยายชั้นเรียน 2 ครั้ง คือ ชั้น ประถมปีที่ 1 – 4 และ ชั้นประถมปีที่ 1 – 5 (ถือว่าชั้นประถมปีที่ 4 เป็นชั้นประถมศึกษาบริบูรณ์)
พ.ศ. 2477 ได้ย้ายสถานที่เรียนจากวัดโพธิ์กลาง ไปอยู่ที่ดินทางทิศตะวันออก ติดกับที่ดินที่ว่าการอำเภอ สร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ เป็นแบบทรงปั้นหยา โดยใช้เงินบำรุงการศึกษา หรือเงินภาษีของประชาชน และเงิน ก.ศ.ส. และได้เปิดขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมปีที่ 6 แต่ยังถือว่าชั้นประถมปีที่ 4 เป็นชั้นประถมศึกษาบริบูรณ์
พ.ศ. 2479 เปิดชั้นเรียน เพียง ชั้นประถมปีที่ 1 – 4
พ.ศ. 2480 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนประชาบาลตำบลกุดเค้า 1 (บ้านหันวิทยาคาร)
พ.ศ. 2494 ทางราชการให้ทดลองเปิดสอนชั้นเด็กเล็กขึ้นทุกตำบล ดังนั้น ในปีที่ จึง มีชั้นเรียนตั้งแต่ ชั้นเด็กเล็ก – ป.4
พ.ศ. 2497 โรงเรียนประชาบาลตำบลกุดเค้า 1 (บ้านหันวิทยาคาร) เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนบ้านหันวิทยาคาร และในปีเดียวกัน ทางราชการได้เปิดโรงเรียนมัธยมขึ้น เรียกว่า “โรงเรียนมัธยมสามัญศึกษาพิเศษ” กรมสามัญ กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอน จาก ม.1 – ม.3 ครั้งแรก อาศัยหอประชุมที่ว่าการอำเภอมัญจาคีรีเป็นสถานศึกษา ชื่อโรงเรียนมัญจาคีรี มีนายอุ่น บุญกอบ เป็นครูใหญ่
พ.ศ. 2499 สร้างอาคารโรงเรียนมัธยม แบบ ป. มาลากุล 1 หลัง ในที่ดินของโรงเรียน ได้ยกที่ดินสร้างอาคารเรียนดังกล่าวให้แก่กรมสามัญ เป็นเนื้อที่ 10 ไร่ในปีเดียวกัน โรงเรียนบ้านหันวิทยาคารเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนบ้านหัน(วิทยาคาร)” และได้รับงบประมาณสร้างอาคารอีก 1 หลัง แบบ ป.1 ขนาด 4 ห้องเรียน
พ.ศ. 2504 ทางราชการได้เปลี่ยนชั้นเรียนในโรงเรียนมัญจาคีรี (มัธยม) จาก ม.1–2–3 เป็นชั้น ป. 5–6–7 ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 และได้เรียกชื่อว่า โรงเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ส่วนโรงเรียนที่เปิดสอนชั้น ป. 1–4 เรียกว่า โรงเรียนประถมศึกษาตอนต้น
พ.ศ. 2505 รวมโรงเรียนมัญจาคีรี กับ โรงเรียนบ้านหัน (บ้านหันวิทยาคาร) เข้าเป็นโรงเรียนเดียวกัน เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “โรงเรียนบ้านหันมัญจาคีรี”
พ.ศ. 2509 ทางราชการได้โอนโรงเรียนประถมศึกษาทุกโรงเรียน ไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2510 ได้รับจัดสรรงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ 008 กรมสามัญ ขนาด 11 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง จึงได้สร้างอาคารเรียนในที่ดินสาธารณ ทางด้านตะวันตกของตัวอำเภอ ติดกับค่ายลูกเสือไกรสรกุล มัญจาคีรี และ ได้ย้ายนักเรียน ชั้น ป.5-6-7 ไปเรียนที่อาคารหลังใหม่ เรียกชื่อโรงเรียนหลังใหม่ว่า “โรงเรียนบ้านหัน (สลากกินแบ่ง 5) และในปีเดียวกัน ได้รับงบประมาณ สร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ก. ขนาด 4 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง
พ.ศ. 2515 โรงเรียนบ้านหันมัญจาคีรี ได้แยกโรงเรียน ออกเป็น 1 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านหันมัญจาคีรี (โรงเรียนเดิม) เปิดสอนตั้งแต่ ชั้นเด็กเล็ก – ป.4 และโรงเรียนบ้านหันมัญจาคีรี (สลากกินแบ่ง 5) เปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป.5-7
พ.ศ. 2519 โรงเรียนยกฐานะเป็นโรงเรียนชุมชนบ้านหันมัญจาคีรี ได้ชื่อว่า “โรงเรียนชุมชน 11”และต่อมาในปีเดียวกันได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนชุมชนบ้านหันมัญจาคีรี” จนถึงปัจจุบัน
หมายเหตุโรงเรียน ได้เปิดสอนการศึกษาผู้ใหญ่ระดับ 3-4 ตั้งแต่ พ.ศ. 2516 เปิดสอนภาคค่ำ ชื่อว่า “โรงเรียนผู้ใหญ่บ้านหันมัญจาคีรี” และได้ยุบเมื่อปี พ.ศ. 2525
ปัจจุบันโรงเรียนชุมชนบ้านหันมัญจาคีรี อยู่ในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปรัชญาของโรงเรียน
“สืบสานวัฒนธรรม นำเทคโนโลยี มีคุณภาพวิชาการ ร่วมมือประสานชุมชน”
คำขวัญของโรงเรียน
“เรียนดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม นำความรู้ บูรณาการ”
ผู้บริหารโรงเรียนคนปัจจุบันคือ นายทวี บุตรสาธรรม
มีข้าราชการครูจำนวน 26 คน
มีเจ้าหน้าที่ธุรการจำนวน 1 คน
มีนักการภารโรงจำนวน 1 คน
มีจำนวนนักเรียนทั้งหมดจำนวน 403 คน
ด้านงานประเพณีวัฒนธรรมได้ให้การส่งเสริมงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
มาโดยตลอด ได้แก่ การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ การจัดงานวันลอยกระทง การจัดงานแห่เทียนเข้าพรรษา และได้จัดทำแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม ประวัติเมืองมัญจาคีรี