ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 9° 11' 33.3535"
9.1925982
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 8' 57.588"
99.1493300
เลขที่ : 182364
การแทงหยวก
เสนอโดย ท่าฉาง วันที่ 5 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย สุราษฎร์ธานี วันที่ 17 มีนาคม 2566
จังหวัด : สุราษฎร์ธานี
0 989
รายละเอียด

การแทงหยวก เป็นวิชาความรู้ที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่อดีต ซึ่งศิลปะการแทงหยวกเป็นงานศิลปะแขนงหนึ่งในงานช่างสิบหมู่ ประเภทงานสลักของอ่อน โดยช่างแทงหยวกจะใช้วัสดุที่หาง่ายในชนบท คือต้นกล้วย มาสร้างงานฝีมือซึ่งมักใช้ในงานสร้างสรรค์เป็นผลงาน โดยการนำกาบของต้นกล้วยมาสลักเป็นลวดลายต่างๆ ใช้ประดับตกแต่งตามจุดสำคัญในงานต่างๆทั้งงานมงคลและงานอวมงคล ตกแต่งประดับประดา เมรุเผาศพ งานบวช งานกฐิน และงาน ตกแต่งอื่นๆ สืบทอดกันมาหลายร้อยปี

กระบวนการแทงหยวกนั้น ต้องเริ่มจากการไหว้ครู เพื่อรำลึกถึงครูอาจารย์ มีธูป 3 ดอก เทียนขี้ผึ้ง 1 เล่ม ดอกไม้ 3 สี สุรา 1 ขวด ผ้าขาวม้า 1 ผืน เงินค่าครู 142 บาท อุปกรณ์ ประกอบด้วย มีดสำหรับแทงหยวก โดยการตีดิบ ไม่ต้องเอาไปเผาไฟ ตอกใช้สำหรับประกอบเข้าเป็นส่วนต่างๆ วัสดุที่ใช้ คือ ต้นกล้วยตานี เพราะไม่แตกง่าย

ปัจจุบันต้นกล้วยตานีหายาก และมีขนาดไม่เหมาะสมสำหรับใช้งาน จึงนิยมใช้ต้นกล้วยน้ำว้าแทน โดยต้องเป็นต้นกล้วยน้ำว้าสาว คือต้นกล้วยที่ยังไม่มีเครือ หรือยังไม่ออกหวีกล้วย ต้นกล้วยจะอ่อนแทงลวดลายได้ง่ายกระดาษสี ใช้สำหรับรองรับลวดลายต้นกล้วยให้ปรากฏชัดเจน

ขั้นตอนการแทงหยวกและประกอบเข้าเป็นลายชุด นั้น มี 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือขั้นเตรียมหยวกกล้วย ขั้นแทงลวดลายลงบนหยวก และขั้นประกอบเป็นลายชุด ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้น มีคุณค่าสูงด้านศิลปะ จิตใจ ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น การแทงหยวก เป็นภูมิปัญญาที่นับวันจะเลือนหายไปจากสังคมไทย จึงควรได้รับการอนุรักษ์ สืบสาน เผยแพร่ ให้คงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป

การแทงหยวกเป็นงานที่ต้องอาศัยความชำนาญ และสมาธิอย่างสูงช่างแทงหยวกต้องจดจำลายที่จะใช้แทงให้ได้เนื่องจากการแทงหยวกมีเวลาจำกัดเพราะต้นกล้วยจะเหี่ยวไว และดำ ช่างจึงต้องจดจำลายและแบบแผนของลายที่จะแทงลงไปให้ได้ จึงจะสามารถแทงหยวกหยวกได้อย่างแม่นยำโดยไม่มีการร่างแบบ ซึ่ง หยวกจะคงรูปอยู่ได้ประมาณ 1-2 วัน ดังนั้นช่างแทงหยวกจะต้องทำงานให้เสร็จภายในวันเดียว กล่าวคือถ้าจะใช้งานในช่วงบ่ายพรุ่งนี้ ช่างก็จะเริ่มแทงหยวกกันในคืนนี้ เพื่อให้เสร็จทันในวันรุ่งขึ้น และหยวกยังคงสภาพดีอยู่นั่นเอง

ย้อนหลังไปประมาณ 20-30 ปี ขึ้นไป มีประเพณีที่เกี่ยวกับการแทงหยวกกล้วยอยู่ 2 อย่าง คือ การโกนจุกเเละการเผาศพ (โดยเฉพาะศพผู้ที่มีฐานะปานกลาง) งานโกนจุกหรือประเพณีการโกนจุก จะมีการจำลองเขาพระสุเมรุ ตามความเชื่อ เเล้วตกเเต่งภูเขาด้วยรูปสัตว์ต่างๆ ส่วนภูเขาพระสุเมรุจะตั้งอยู่ตรงกลางร้านม้า ซึ่งทำโครงสร้างด้วยไม้เเล้วหุ้มด้วยหยวกกล้วยเเกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ ประเพณีการเผาศพก็เช่นกันจะทำ ร้านม้า ซึ่งทำโครงสร้างด้วยไม้แล้วประดับด้วยหยวกกล้วยแกะสลักอย่างงดงาม การสลักหยวกกล้วยนั้นผู้ที่เป็นช่างจะต้องได้รับการฝึกหัดจนเกิด ความชำนาญพอสมควร เพราะการสลักหยวกกล้วยนั้นช่างจะไม่วาดลวดลายลงไปก่อน จับมีดได้ก็ลงมือสลักกันเลยทีเดียว จึงเรียกตามการทำงานนี้ว่า “การแทงหยวก” ประกอบกับมีดที่ใช้มีปลายเเหลม เมื่อพิจารณาดูเเล้วก็เหมาะสมที่จะเรียกว่า “แทงหยวก”

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://suratthani.m-culture.go.th/th/db_105_suratthani_21/180945

คำสำคัญ
แทงหยวก
สถานที่ตั้ง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี
หมู่ที่/หมู่บ้าน อาคารศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ตำบล ตลาด อำเภอ เมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัด สุราษฎร์ธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
กลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน ที่ ๑๓ สุราษฎร์ธานี
บุคคลอ้างอิง นายณัฐพงษ์ แผ้วชนะ
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี
หมู่ที่/หมู่บ้าน 8
ตำบล ตลาด อำเภอ เมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัด สุราษฎร์ธานี รหัสไปรษณีย์ 84000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่