ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 55' 49.5973"
12.9304437
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 8' 9.9593"
101.1360998
เลขที่ : 182619
ฮว่านง็อก
เสนอโดย nunong_2508 วันที่ 6 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย ระยอง วันที่ 23 มิถุนายน 2564
จังหวัด : ระยอง
0 360
รายละเอียด

ฮว่านง็อกถือกำเนิดในประเทศเวียดนามผู้นำเข้ามาใช้เป็นกลุ่มทหารผ่านศึกสมัย สงครามเวียดนาม เป็นต้นไม้ชนิดใบอ่อนปลายแหลม ส่วนล่างของใบจะหยาบสีเขียวเข้ม ด้านบนสีเขียวอ่อนเป็นต้นไม้ที่มีใบมากสักหน่อย แตกกิ่งก้านทรงพุ่มได้ดีการขยายพันธุ์เพียงตัดยอดปักชำลงดินก็เกิดรากตั้ง ตัวได้เร็ว ย้ายลงปลูกในกระถางใส่ปุ๋ยพรวนดินรดน้ำก็จะเจริญงอกงาม
ส่วนสำคัญคือ ใบใช้เคี้ยวกินสด ๆ หรือคั้นและกรองเอาน้ำข้น ๆ รับประทานหรือต้มเป็นน้ำแกงรับประทานก็ได้ ส่วนเปลือกและรากไม้สามารถต้มกลั่นเป็นสุราได้ด้วย ใบไม้ไม่มีกลิ่นและรส สามารถต้มเอาน้ำใส ๆ ดื่มได้ส่วนการรับประทานมากหรือน้อย อยู่ที่ธาตุ หนัก-เบา ของแต่ละคนโดยทั่วไปจะรับประทานกัน ๑-๔ ใบ คนที่มีอาการหน้ามืดตาลายหลังรับประทาน ๑๕ นาทีจะหาย ให้รับประทานติดต่อกัน ๗ วัน วันละ ๒ ครั้งก่อนอาหาร

สรรพคุณ รักษาคนสูงอายุ ปวดเมื่อยตามร่างกายทำงานหนัก เกิดประสาทหลอน เป็นไข้หวัด ความดันโลหิตสูงท้องไส้ไม่ปกติ มีบาดแผล เคล็ด ขัด ยอก กระดูกหัก ทางเดินอาหารไม่ปกติ โรคกระเพาะอาหารโรคเลือดออกในลำไส้เกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ คอพอก ตับอักเสบ ไตอักเสบ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่นข้น โรคมะเร็งปอด มีอาการปวดต่าง ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ ให้รับประทานต่อไป ๑๐๐-๒๐๐ ใบ อาการจะหายขาด โรคตาทุกชนิด เช่น ตาแดง

ตาต้อตาห้อเลือด มดลูกหย่อนของหญิงคลอดบุตรใหม่ ได้ผลดีช่วยให้มดลูกเข้าอู่ ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำโรคประสาทอ่อน ๆ สามารถใช้กับสัตว์ได้ เช่น ใช้กับไก่ชนหลังจากชนไก่แล้ว ต้องการให้ไก่ฟื้นจากอาการบาดเจ็บให้ไก่กินใบจะฟื้นตัวได้เร็ว

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
ฮว่านง็อก
เลขที่ ๑๓๔ หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล พนานิคม อำเภอ นิคมพัฒนา จังหวัด ระยอง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง saowanee komain อีเมล์ sao_9726@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สนง.วัฒนธรรมจังหวัดระยอง
ตำบล เนินพระ อำเภอ เมืองระยอง จังหวัด ระยอง รหัสไปรษณีย์ 21150
โทรศัพท์ 081-874-9807
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่