พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เป็นพิพิธภัณฑสถานระดับภาคที่กรมศิลปากรจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษา การอนุรักษ์ และการให้บริการข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ และของภาคเหนือตอนบน หรือที่เรียกมาแต่โบราณว่า ล้านนา |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ซึ่งเป็นอาคารจตุรมุขทรงไทยประยุกต์ สองชั้น ประดับยอดจั่วด้วยกาแลแบบศิลปะ พื้นเมือง พร้อมทอดพระเนตรนิทรรศการถาวรภายในอาคารเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๖ |
ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ ได้รับการซ่อมแซมและต่อเติมตัวอาคารให้เต็มรูปแบบ พร้อมทั้งปรับปรุงนิทรรศการถาวรให้มีเนื้อหาวิชาการและเทคนิคการจัดแสดงที่หลากหลายยิ่งขึ้น ทั้งในด้านธรรมชาติวิทยา โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์วิทยา และศิลปกรรมของล้านนา เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำภาคอย่างแท้จริง และสามารถอำนวยประโยชน์ อย่างกว้างขวาง ต่อนักเรียน นักศึกษา ประชาชน ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่มาเข้าชม (รูป p0044-p0045) |
การจัดแสดง: การจัดแสดง แบ่งการจัดแสดงเป็น 6 ส่วนคือ
ส่วนจัดแสดงที่ 1 แสดงภูมิหลังแผ่นดินล้านนาเป็นเรื่องราวทางธรณีวิทยาและชีวิตดึกดำบรรพ์ ภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมภาคเหนือ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ รวมไปถึงเรื่องราวของชนเผ่าลัวะ และหริภุญไชย รัฐแรกในภาคเหนือ |
ส่วนจัดแสดงที่ 2 แสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรล้านนา เริ่มจากการสถาปนานครเชียงใหม่ ความรุ่งเรืองและความเสื่อมของราชอาณาจักร |
ส่วนจัดแสดงที่ 3 แสดงเรื่องราวของนครเชียงใหม่ ใต้ร่มอาณาจักรสยามตั้งแต่การกอบกู้เอกราชจากพม่า การตั้งเมืองเชียงใหม่เมื่อพุทธศักราช ๒๓๓๙ และความสัมพันธ์กับอาณาจักรสยาม |
ส่วนจัดแสดงที่ 4 แสดงเรื่องการค้าและเศรษฐกิจระยะแรก ระหว่างพุทธศักราช ๒๓๓๙ - ๒๔๖๓ และระยะที่สอง ระหว่างพุทธศักราช ๒๔๖๗ - ๒๔๘๒ เมื่อมีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายเหนือ |
ส่วนจัดแสดงที่ 5 แสดงเรื่องราวการดำรงชีวิตและพัฒนาการทางสังคม เช่นการเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม การเงินการธนาคาร ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ รวมถึงการศึกษาและการสาธารณะสุข |
ส่วนจัดแสดงที่ 6 แสดงถึงวิวัฒนาการของศิลปกรรมล้านนา และศิลปกรรมในประเทศไทย |
โบราณวัตถุที่สำคัญประกอบด้วย
1. พระสาวกดินเผา ศิลปะหริภุญไชย พุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ ตักกว้าง ๓๙ ซม. สูง ๕๒ ซม. นายไกรศรี นิมมานเหมินทร์ มอบให้จัดแสดง | 5. บัลลังก์จำลอง (โลหะ) ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษ ที่ ๒๑ - ๒๓ กว้าง ๑๗.๓ ซม. ยาว ๒๖.๗ ซม. พบที่ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ |
2. พระพุทธรูปปางมารวิชัย (สำริด) ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ ตักกว้าง ๙๕ ซม. สูงจากฐาน ๑๑๔ ซม. วัดพระสิงห์วรวิหาร ให้ยืมจัดแสดง | 6. พระพักตร์พระพุทธรูปปูนปั้น ศิลปะหริภุญไชย พุทธศตวรรษ ที่ ๑๗-๑๘ กว้าง ๑๙.๘ ซม. สูง ๒๖.๒ ซม. นายไกรศรี นิมมานเหมินทร์ มอบให้จัดแสดง |
3. พระพุทธรูปปางมารวิชัย (สำริด) ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๒๐ ตักกว้าง ๓๖ ซม. สูงจากฐาน ๘๐ ซม. พบที่วัดศรีโขง อ. ฮอด จ. เชียงใหม่ | 7. เสื้อเยียรบับ ของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ 8. เสื้อคุลมดิ้นเงิน และดิ้นทอง ของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๙ |
4. บัลลังก์จำลอง (โลหะ) ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษ ที่ ๒๑ - ๒๓ กว้าง ๑๔.๑ ซม. ยาว ๒๔.๖ ซม. พบที่อ. ฮอด จ. เชียงใหม่ | 9. รอยพระพุทธบาทไม้จำลอง ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๔ - ๒๕ ฐานกว้าง ๑๒๔ ซม. สูง ๒๐๐ ซม. วัดพระสิงห์วรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ให้ยืมจัดแสดง |
| 10. จารึกวัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งจารึกประวัติการสร้างเมือง เชียงใหม่ |