ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 26' 52.5016"
12.4479171
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 9' 5.2524"
102.1514590
เลขที่ : 192436
การทำเหละ
เสนอโดย จันทบุรี วันที่ 2 กรกฎาคม 2562
อนุมัติโดย จันทบุรี วันที่ 2 กรกฎาคม 2562
จังหวัด : จันทบุรี
0 900
รายละเอียด

“ เหละ ” คือหมวกชนิดหนึ่งที่ใช้กันแดดกันฝนในขณะออกไปทำงานด้านเกษตรกรรมในที่โล่งแจ้ง ของชาวตำบลหนองชิ่ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำใบจากที่ขึ้นบริเวณป่าชายเลนเป็นวัสดุหลักในการสาน รวมถึงไม้ไผ่ หวายธรรมชาติ และมีการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง ด้วยวิธีบอกเล่าและฝึกหัดโดยตรงจากผู้รู้ ซึ่งทำให้การบันทึกภูมิปัญญาไม่ค่อยเป็นระบบมากนัก กระบวนการถ่ายทอดความรู้จึงนับเป็นกระบวนการที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่จะทำให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นยังคงอยู่ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

แต่เดิมนั้นการทำหัวเหละและมุมที่คลุ้มบนหัวแหละจะใช้วัสดุเป็นพลาสติก และเย็บแบบ 4 พู (4 มุม) ทำให้ไม่สวยงามนัก แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้มีความสวยงาม ด้วยการใช้หวายในการทำหัวเหละมุมที่คลุ้มบนหัวเหละแทนพลาสติก และเย็บแบบ 6 พู (6 มุม) สามารถเป็นของตกแต่งบ้าน เช่น โคมไฟ ฝาชี เป็นต้น

วัสดุเครื่องมือ และอุปกรณ์

-ใบจากใบบางๆ ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป (ทางที่ 3-4 จากยอด)

-ด้ายเย็บหมวกเบอร์หก

-เชือกพลาสติก (เชือกฟาง)

-สีเคลือบ สีสเปรย์เคลือบเงาหรือแชลแลค หรือวานิชทินเนอร์

-ขัน หรือกระป๋อง

-ไม้ไผ่ลำมะลอก ยาว 2 เมตร

-คลุ้ม 1 ต้น

-มีดขอ มีดบาง กรรไกร เข็ม ที่เย็บกระดาษ

-แปรงทาสี

วิธีการทำ

วิธีการจักตอก

-การจักตอกปิ่น แบ่งไม้ออกเป็นชิ้นๆ ตามขนาดที่ต้องการ ใช้มีดจักตอกเอาส่วนในออก (ขี้ตอก) จักในส่วนที่เหลือออกเป็นเส้นบางๆ แล้วเหลาให้เรียบร้อย ตากแดดให้แห้ง

-การจักตอกตะแคง ใช้วิธีเดียวกันกับการจักตอกขั้นตอนเบื้องต้น แต่การจักตอกให้เป็นเส้นตอก จะทำการจักทางผิวเป็นเส้นเล็กๆกว่าตอกปิ่น เรียบร้อยแล้วนำไปตาก

วิธีทำเหละจากใบจาก

1)ใช้ใบจากไม่แก่ไม่อ่อนมาก ประมาณ 24-36 ใบตัดจากริมเข้ามา 3-4 เซนติเมตร ให้มีความยาวเท่ากันทุกใบ แล้วนำมาซ้อนให้ปลายใบไปทางเดียวกัน วัดขนาดความยาวครึ่งใบ เย็บให้ต่ำกว่าของ 0.5 เซนติเมตร ใช้เข็มร้อยด้ายแทงรวมให้ใบยึดติดกัน มัดให้แน่น

* จับใบจากเรียงเวียนจากใบล่างสุดไปเรื่อยๆครึ่งหนึ่งของใบจากทั้งหมด ใบต่อไปจับสอดเข้าไปใต้ใบที่หนึ่ง ใบต่อใบสอดเข้าไปใต้ใบที่สอง ทำอย่างนี้จนหมด

* ใช้เชือกรัดใบไว้โดยสลับปลายเชือก จะได้ใบจากที่ขึ้นรูปหมวก พร้อมจะเย็บต่อไป

*ใช้เข็มร้อยด้ายแทงจากจุดศูนย์กลางให้ด้ายยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ให้ด้ายเป็นรัศมี ใช้ก้นเข็มขีดใบจากให้เป็นรอยกลม เพื่อใช้เป็นรอยเย็บรอบต่อไป ปรับด้ายพร้อมขึ้นอีก 2 เซนติเมตร แล้วขีดเป็นวงกลมไปเรื่อยๆจนสุดใบจาก

* วิธีเย็บ

-เย็บด้ายเส้นเดียวโดยเย็บแบบเนา

-เย็บแบบด้ายคู่โดยเย็บแบบลูกโซ่ ในการเย็บ เริ่มเย็บรอบใน วัดศูนย์กลางก่อนรอบต่อไปค่อยๆกดให้ห่างจากคลุ้มลงมา ก่อนจะขึ้นรอบต่อไปค่อยๆกดให้จากคลุมลงตามรูปที่ต้องการ ถ้าต้องการใบใหญ่ต้องตัดใบจากมาแซมให้ใบจากยาวขึ้น เมื่อได้ความกว้างของหมวกตามต้องการ ให้ใช้กรรไกรตัดริมให้เรียบร้อย

2)นำไม้ไผ่มาเหลาเป็นเส้น จำนวน 4 เส้น เป็นขอบและนำไปผึ่งให้แห้ง

3)ใช้ใบลานมาสานเป็นดอกจันเปิดที่หัวหมวก เพื่อปิดรอยโหว่ และให้ดูสวยงาม

4)หมวกที่แห้งดีแล้ว นำมาทาน้ำมันยางทั้งด้านในและด้านนอก บางคนอาจใช้ยูริเทน 1 ส่วน ผสมกับทินเนอร์ 1 ส่วน ทาเคลือบแทนน้ำมันยาง

5)นำมาติดรังนกเขาโดยหงายหมวกขึ้น วางรังนกเขาลงตรงกลาง ให้คลุ้มเหลาเป็นเส้นขัดด้านใน ให้รังนกเขาติดแน่นกับตัวเหละ แต่ในปัจจุบันใช้ด้ายเย็บติดกับตัวเหละ

การทำตัวเหละ

-ตัดลานเส้นประมาณ 1 นิ้ว

-เย็บซ้อนกันเป็น 6 เกล็ด หรือ 7 เกล็ด

-ใช้มือดุน โดยใช้นิ้วกลางดุนให้เป็นรูปกลม แล้วเย็บตามวงเวียนจนครบรอบ

-หลังจากเย็บเสร็จ ตัดใบลานด้านในส่วนที่เกินทิ้ง ขึ้นการประกอบเหละ

การใส่รังนกเขา

-นำรังที่เสร็จมาสวมที่หัวเหละ ใช้ไม้ขัดเหลาแบนๆ 2 อัน ปลายแหลมเพื่อให้แทงเข้ากับโครงเหละ และใช้ลวดลายมัดก็ได้ ใช้ไม้แทงทั้ง 4 ด้าน

-ใส่รังเหละให้ขัดทีละข้าง เมื่อขัดรังเสร็จแล้ว เป็นอันว่าประกอบเป็นตัวเหละที่สมบูรณ์

สถานที่ตั้ง
เลขที่ 62/1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล หนองชิ่ม อำเภอ แหลมสิงห์ จังหวัด จันทบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หนังสือหนังสือการทำเหละ (งอบ) โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี
บุคคลอ้างอิง นางเลี่ยว นิยมสัตย์
เลขที่ 62/1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล หนองชิ่ม อำเภอ แหลมสิงห์ จังหวัด จันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22130
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่