ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 8' 48.7284"
15.146869
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 14' 49.8516"
104.247181
เลขที่ : 192477
พระพุทธรูปนาคปรก "พระพุทธไภสัชชยศรี"
เสนอโดย ศรีสะเกษ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2562
อนุมัติโดย ศรีสะเกษ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2562
จังหวัด : ศรีสะเกษ
0 676
รายละเอียด

วัดเทพปราสาทสระกำแพงน้อย ตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เป็นวัดที่มีโบราณสถานสำคัญคือ ปราสาทสระกำแพงน้อย ปราสาทหินโบราณสร้างในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (ประมาณ พ.ศ. ๑๗๕๐) วัตถุประสงค์ในการสร้างเพื่อเป็น อโรคยาศาลา(Arogayasala) หรือสถานรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย ๑ ใน ๑๐๒ แห่งที่สร้างขึ้นในสมัยเดียวกันกับพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรขอมในสมัยนั้น

พระพุทธรูปนาคปรกจำลอง ศิลปะบายน มีพระนามว่า "พระพุทธไภสัชชยศรี" มีความหมายว่าเพื่อความเจริญด้วยอายุวรรณะสุขะพละบริวารธนสารสมบัติ แก่ปวงชนทุกประการเทอญ แกะสลักจากหินทรายสีเขียวอ่อน มีขนาดหน้าตักกว้าง ๙๙ เซนติเมตร สูงจากขนดนาคถึงเศียร ๑๙๙ เซนติเมตร จำลองจากองค์จริง ซึ่งประดิษฐานที่ปรางค์ประธานปราสาทบายนที่แกะสลักด้วยหินทรายสีขาว มีความสูงจากฐานถึงเศียรนาค ๓.๖๐ เมตร พระเกศมุ่นมวยเป็นรูปดอกบัวตูม ลืมพระเนตรทอดต่ำ พระโอษฐ์แย้มพระสรวล ประทับนั่งขัดสมาธิ พญานาคมี ๗ เศียร แผ่พังพานอยู่ในแผ่นศิลาเดียวกัน พระพุทธรูปนาคปรกองค์ที่กำลังสร้างอยู่นี้ จะอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดเทพปราสาทสระกำแพงน้อย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ให้เป็นที่เคารพสักการะของสาธุชน สืบสานงานพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม ให้สถาพรมั่นคง รวมทั้งเป็นการอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษ และผู้มีพระคุณ

รูปภาพจากเว็บไซต์ สำนักประชาสัมพันธ์ เขต 2 กรมประชาสัมพันธ์:https://region2.prd.go.th/ewt_news.php?nid=131136&filename=index

หมวดหมู่
ศิลปวัตถุ
สถานที่ตั้ง
วัดเทพปราสาทสระกำแพงน้อย
ตำบล ขะยูง อำเภอ อุทุมพรพิสัย จังหวัด ศรีสะเกษ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
พระอธิการบุญบันดาล สุปัญโญ เจ้าอาวาสวัดเทพปราสาท(สระกำแพงน้อย)
บุคคลอ้างอิง พระอธิการบุญบันดาล สุปัญโญ
ชื่อที่ทำงาน วัดเทพปราสาท(สระกำแพงน้อย)
อำเภอ อุทุมพรพิสัย จังหวัด ศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33120
โทรศัพท์ 081-7187751
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่