ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 20° 14' 42.0832"
20.2450231
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 6' 35.4175"
100.1098382
เลขที่ : 192506
งานประเพณีสงกรานต์เมืองเชียงแสน (๔ แผ่นดิน)
เสนอโดย เชียงราย วันที่ 19 มีนาคม 2563
อนุมัติโดย เชียงราย วันที่ 20 มีนาคม 2563
จังหวัด : เชียงราย
0 351
รายละเอียด

อำเภอเชียงแสนจัดงานประเพณีสงกรานต์เมืองเชียงแสนขึ้นเป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๘ เมษายนของทุกปี โดยการจัดงานประเพณีสงกรานต์อำเภอเชียงแสนในวันที่ ๑๒ เมษายนของทุกปี (ยกเว้นตรงกับวันพระจะเลื่อนจัดก่อนหรือหลังตามความเหมาะสม)เจ้าเมือง (นายอำเภอ)จะประกอบพิธีไหว้สาพระธาตุจอมกิตติพิธีบวงสรวงพระเจ้าพรหมมหาราชพิธีบวงสรวงพญาแสนภู และพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อประตูป่าสักซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองชาวเชียงแสนและเป็นผู้ก่อสร้างเมืองเชียงแสนตามประวัติศาสตร์และตำนานเมืองเชียงแสนเพื่อช่วยปกปักษ์รักษา และดลบันดาลให้การจัดงานประเพณีสงกรานต์อำเภอเชียงแสน เกิดความราบรื่นและเป็นไป

วันที่ ๑๓ เมษายนจัดกิจกรรมทำบุญตักบาตร เนื่องในโอกาสขึ้นปี๋ใหม่เมือง ณ บริเวณถนนริมฝั่งโขง จากบริเวณหน้าวัดผ้าขาวป้าน ถึงบริเวณแยกไฟแดงไปรษณีย์เชียงแสน

วันที่ ๑๔ เมษายน วัดในพื้นที่เขตกำแพงเมืองโบราณเชียงแสน จะจัดประเพณีขนทรายเข้าวัดและเล่นน้ำสงกรานต์ซึ่งตามความเชื่อที่ว่าทุกคนเมื่อเข้าวัดแล้วเวลาเดินออกจากวัดจะมีเม็ดทรายติดเท้าออกไปด้วย ซึ่งนับได้ว่าเป็นการนำของออกจากวัด จึงมีความเชื่อเรื่องการขนทรายเข้าวัดหรือการก่อพระเจดีย์ทราบเพื่อเป็นการคืนทรายให้กับวัด

วันที่ ๑๕ เมษายน ชาวอำเภอเชียงแสนก็จะเดินทางไปทำบุญทางศาสนาที่วัด และอุทิศกุศลไปถึงญาติผู้ล่ววงลับ (ทานขันข้าว) หลังจากนั้นนำตุงปักลงบนกองเจดีย์ทราย ถวายช่อตุงปีใหม่ และฟังพระธรรมเทศนา ช่วงบ่ายก็จะมีกิจกรรมแห่ไม้ค้ำสลี (คำโพธิ์) ไปยังโบราณสถานวัดโพธิ์ร่วมกัน

วันที่ ๑๖ - ๑๘ เมษายน ชาวอำเภอเชียงแสนทุกภาคส่วนจะร่วมไม้ร่วมมือกันจัดงาน “สงกรานต์เชียงแสน ๔ แผ่นดิน” โดยจะพิธีเปิดงานขึ้นในวันที่ ๑๖ เมษายนในงานจะมีขบวนแห่สงกรานต์เชียงแสน ๔ แผ่นดินประกอบด้วยขบวนแห่สรงน้ำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์๕ พระองค์,ขบวนแห่กลองหลวง ๑๒ ราศี,ขบวนแห่เทพีสงกรานต์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๗ แห่ง ซึ่งขบวนมีองค์ประกอบที่แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์การแสดงออกถึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่นและชุมชนความเป็นล้านนาและการแสดงออกทางด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตลอดการจัดงานระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๘ เมษายน มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมประกอบด้วยการแข่งขันชกมวยไทย (Thai Fighting)การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นและการสืบสานประเพณีแข่งขันพายเรือโดยมีการแข่งขัน ๒ ประเภท คือ ประเภท ๓๐ ฝีพาย และการแข่งขันประเภท ๑๒ ฝีพาย ชิงเงินรางวัลพร้อมถ้วยรางวัล โดยมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันซึ่งเป็นทีมท้องถิ่น และทีมจาก สปป.ลาว

ประเพณีการแข่งขันเรือพายในงานประเพณีสงกรานต์เชียงแสนมีการจัดแข่งขันเป็นประจำทุกปี ซึ่งแต่เดิมการแข่งขันเรือพายของชาวเชียงแสนนั้น เป็นการแข่งขันระดับหมู่บ้าน ต่อมาได้ขยายออกไปเป็นการการแข่งขันระหว่างหมู่บ้านสบรวก สบคำ และ สปป.ลาว ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี เหตุที่มีการแข่งขันเนื่องจากสมัยก่อนนิยมใช้เรือขุดในการสัญจรพายเรือข้ามแม่น้ำโขงไปปลูกยาสูบในพื้นที่ของ สปป.ลาว ในสมัยนั้นไม่มีการเสียภาษีในการปลูก พอถึงช่วงสงกรานต์ก็จะมีการแข่งขันชิงเงินรางวัลส่วนการแข่งขันเรือพายที่เป็นหลักฐาน เริ่มเมื่อปี ๒๕๓๘ โดยกำนันไพโรจน์ โปราหา กำนันตำบลเวียงขณะนั้น ได้จัดแข่งขันอย่างเป็นทางการและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

คำสำคัญ
สงกรานต์
สถานที่ตั้ง
บริเวณริมโขงหน้าที่ว่าการอำเภอเชียงแสน
ตำบล เวียง อำเภอ เชียงแสน จังหวัด เชียงราย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สภาวัฒนธรรมอำเภอเชียงแสน
บุคคลอ้างอิง สิริรัตน์ โอภาพ อีเมล์ sirirat_kn@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่