ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 12' 22.5623"
16.2062673
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 45' 34.4603"
99.7595723
เลขที่ : 192527
ต้นไทร รุกขมรดกของแผ่นดิน
เสนอโดย กำแพงเพชร วันที่ 23 มีนาคม 2563
อนุมัติโดย กำแพงเพชร วันที่ 23 มีนาคม 2563
จังหวัด : กำแพงเพชร
0 298
รายละเอียด

ต้นไทรต้นนี้มีต้นดั้งเดิมเป็นต้นจามจุรี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ต้นก้ามปู ต่อมามีต้นไทรที่มีลักษณะเป็นไม้อิงอาศัยเติบโตบนต้นไม้อื่น แทงรากเข้าเนื้อเยื่อไม้ต้นก้ามปู และแทงรากลงลึกต่อในดิน พร้อมด้วยใช้ราก และลำต้นโอบรัดต้นก้ามปูเอาไว้ห่อหุ้มจนกลายเป็นต้นไทรที่มีขนาดใหญ่อายุกว่าร้อยปีในปัจจุบัน กอรปกับความเชื่อที่ว่าเจ้าพ่อปู่ดำที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพนับถือของหมู่บ้านอยู่มาเป็นเวลานานแล้ว เมื่อมีต้นไทรมาอายุกว่า ๑๐๐ ปีต้นนี้ตั้งอยู่คู่กัน สองสิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นที่เคารพบูชาของหมู่บ้านและเป็นสถานที่สำคัญเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านวังยางถึงปัจจุบัน ตั้งอยู่ ณ หมู่ ๑ บ้านวังยาง ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

ตามประวัติหมู่บ้านกล่าวว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนย้ายฐานที่อยู่มาจากจังหวัดกาญจนบุรี สาเหตุที่เรียกว่า บ้านวังยาง เพราะคำว่า “วังยาง” มาจากสภาพพื้นที่ของตำบลวังยางเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ยาง ประชาชนในพื้นที่ประกอบอาชีพตัดไม้ยางและทำน้ำมันที่ได้มาจากต้นยาง และมีพื้นที่ติดริมฝั่งแม่น้ำปิงทำให้มีแพซุงของพ่อค้าไม้จากทางเหนือล่องมาเป็นจุดพักแพซุงเพราะมีคุ้งน้ำกว้าง เหมาะแก่การพักแพขนาดใหญ่ ซุงส่วนใหญ่เป็นไม้ยาง และเป็นท่าน้ำที่นำไม้ยางที่ตัดจากหมู่บ้านมาขึ้นแพที่ท่าน้ำทำให้คนส่วนใหญ่เรียกกันติดปากว่า “วังยาง” และทำให้บริเวณนี้กลายเป็นแหล่งเศรษฐกิจ คนจีนเข้ามาค้าขาย จนกลายเป็นตลาดคนจีนในที่สุด (แต่ปัจจุบันตลาดดังกล่าวได้เลิกล้มหายไปกว่า ๒๐ ปีแล้ว) และบริเวณต้นไทรดังกล่าว ก็กลายเป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของคนจีนตลอดเรื่อยมาถึงปัจจุบัน อาทิ วันตรุษจีน งานสารทจีน เป็นต้น

ปัจจุบันบริเวณต้นไทรต้นนี้ชาวบ้านร่วมกันตั้งศาลเจ้าแม่ไทรงาม (เรียกชื่อตามต้นไทรขนาดใหญ่ต้นนี้) ตั้งอยู่คู่กับศาลเจ้าพ่อปู่ดำ เป็นที่เคารพบูชาของคนในหมู่บ้านตลอดจนนักท่องเที่ยวอื่นๆ ที่เข้ามาในหมู่บ้าน โดยในช่วงวันตรุษจีนของทุกปี บริเวณต้นไทรต้นนี้จะถูกใช้เป็นลานกิจกรรมจัดงานตรุษจีนประจำปี มีงานเฉลิมฉลองติดกันถึง ๓ วัน ๓ คืน มีงานแสดงลิเก รำวงย้อนยุค ตลาดคนจีน ฯลฯ ซึ่งจัดงานต่อเนื่องกันมากว่า ๕๐ ปีแล้ว ต้นไทรต้นนี้มีต้นดั้งเดิมเป็นต้นจามจุรี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ต้นก้ามปู ต่อมามีต้นไทรที่มีลักษณะเป็นไม้อิงอาศัยเติบโตบนต้นไม้อื่น แทงรากเข้าเนื้อเยื่อไม้ต้นก้ามปู และแทงรากลงลึกต่อในดิน พร้อมด้วยใช้ราก และลำต้นโอบรัดต้นก้ามปูเอาไว้ห่อหุ้มจนกลายเป็นต้นไทรที่มีขนาดใหญ่อายุกว่าร้อยปีในปัจจุบัน กอรปกับความเชื่อที่ว่าเจ้าพ่อปู่ดำที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพนับถือของหมู่บ้านอยู่มาเป็นเวลานานแล้ว เมื่อมีต้นไทรมาอายุกว่า ๑๐๐ ปีต้นนี้ตั้งอยู่คู่กัน สองสิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นที่เคารพบูชาของหมู่บ้านและเป็นสถานที่สำคัญเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านวังยางถึงปัจจุบัน ตั้งอยู่ ณ หมู่ ๑ บ้านวังยาง ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

ตามประวัติหมู่บ้านกล่าวว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนย้ายฐานที่อยู่มาจากจังหวัดกาญจนบุรี สาเหตุที่เรียกว่า บ้านวังยาง เพราะคำว่า “วังยาง” มาจากสภาพพื้นที่ของตำบลวังยางเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ยาง ประชาชนในพื้นที่ประกอบอาชีพตัดไม้ยางและทำน้ำมันที่ได้มาจากต้นยาง และมีพื้นที่ติดริมฝั่งแม่น้ำปิงทำให้มีแพซุงของพ่อค้าไม้จากทางเหนือล่องมาเป็นจุดพักแพซุงเพราะมีคุ้งน้ำกว้าง เหมาะแก่การพักแพขนาดใหญ่ ซุงส่วนใหญ่เป็นไม้ยาง และเป็นท่าน้ำที่นำไม้ยางที่ตัดจากหมู่บ้านมาขึ้นแพที่ท่าน้ำทำให้คนส่วนใหญ่เรียกกันติดปากว่า “วังยาง” และทำให้บริเวณนี้กลายเป็นแหล่งเศรษฐกิจ คนจีนเข้ามาค้าขาย จนกลายเป็นตลาดคนจีนในที่สุด (แต่ปัจจุบันตลาดดังกล่าวได้เลิกล้มหายไปกว่า ๒๐ ปีแล้ว) และบริเวณต้นไทรดังกล่าว ก็กลายเป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของคนจีนตลอดเรื่อยมาถึงปัจจุบัน อาทิ วันตรุษจีน งานสารทจีน เป็นต้น

ปัจจุบันบริเวณต้นไทรต้นนี้ชาวบ้านร่วมกันตั้งศาลเจ้าแม่ไทรงาม (เรียกชื่อตามต้นไทรขนาดใหญ่ต้นนี้) ตั้งอยู่คู่กับศาลเจ้าพ่อปู่ดำ เป็นที่เคารพบูชาของคนในหมู่บ้านตลอดจนนักท่องเที่ยวอื่นๆ ที่เข้ามาในหมู่บ้าน โดยในช่วงวันตรุษจีนของทุกปี บริเวณต้นไทรต้นนี้จะถูกใช้เป็นลานกิจกรรมจัดงานตรุษจีนประจำปี มีงานเฉลิมฉลองติดกันถึง ๓ วัน ๓ คืน มีงานแสดงลิเก รำวงย้อนยุค ตลาดคนจีน ฯลฯ ซึ่งจัดงานต่อเนื่องกันมากว่า ๕๐ ปีแล้ว

สถานที่ตั้ง
บริเวณศาลเจ้าพ่อปู่ดำ
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านวังยาง
ตำบล วังยาง อำเภอ คลองขลุง จังหวัด กำแพงเพชร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หนังสือวัฒนธรรมท้องถิ่น และภูมินามอำเภอคลองขลุง โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองขลุง
บุคคลอ้างอิง จันทรา กุลนันทคุณ
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
ถนน กำแพงเพชร สุโขทัย
ตำบล หนองปลิง อำเภอ เมืองกำแพงเพชร จังหวัด กำแพงเพชร รหัสไปรษณีย์ 62000
โทรศัพท์ 055-705089 โทรสาร 055-705090
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่