ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 19' 52.3978"
19.3312216
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 52' 23.7101"
100.8732528
เลขที่ : 192532
นายวิโรจน์ ฝีปากเพราะ
เสนอโดย สนง.วัฒนธรรม จ.น่าน วันที่ 24 มีนาคม 2563
อนุมัติโดย สนง.วัฒนธรรม จ.น่าน วันที่ 24 มีนาคม 2563
จังหวัด : น่าน
0 299
รายละเอียด

นายวิโรจน์ ฝีปากเพราะ บ้านเลขที่ 148 หมู่ 1 ตำบลเปืออำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน อายุ 49 ปี เป็นผู้ที่มีความสามารถในการขับร้องเพลงซอ เนื่องจากในวัยเด็กได้ตามบิดา มารดาไปร่วมงานประเพณีในหมู่บ้าน เช่น งานกฐิน งานผ้าป่า งานบวช งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น ทำให้มีโอกาสได้ชมการแสดงการขับร้องเพลงซอ จึงเกิดความซึมซับในท่วงทำนองที่ไพเราะ และมีความสนใจที่จะขับร้องเพลงซอ เมื่ออายุประมาณ 23 ปี จึงได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของพ่อครูอินแปง นิลคง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาซอล่องน่านในชุมชน เริ่มฝึกหัดซอ พิณ สะล้อ ขั้นพื้นฐาน โดยเรียนรู้จากการสังเกต จดจำ ฝึกปฏิบัติ และติดตามพ่อครูอินแปลง นิลคง ไปแสดงในงานต่างๆ อยู่ประมาณ 6 ปี พ่อครูอินแปง นิลคง ได้ถ่ายทอดความรู้ต่างๆให้ ทำให้ได้รับการถ่ายทอดความรู้ในการขับร้องเพลงซอจนเกิดความเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับของคน ในชุมชน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2533 จึงได้แยกตัวมาตั้งวงซอ ในนาม “ไพโรจน์ศิลป์” โดยมีนายวิโรจน์ ฝีปากเพราะ เป็นหัวหน้าคณะ และขับร้องเพลงซอตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันนายวิโรจน์ ฝีปากเพราะ หัวหน้าคณะซอ “ไพโรจน์ศิลป์” เป็นศิลปินพื้นบ้านที่มีความสามารถในการขับร้องเพลงซอ และยังได้ทำหน้าที่เป็นช่างฟ้อนประจำคณะซอ โดยได้ฟ้อนประกอบเพลงซอ ดังนี้

1. การฟ้อนประกอบการขับซอ จะฟ้อนในขณะที่ช่างซอขับซอ จะมีการฟ้อนรำไปด้วย โดยส่วนมากจะใช้ ท่าสอดสร้อยมาลา คีบดอกไม้หรือธนบัตรที่มือ แล้วเริ่มฟ้อนจากนั่งคุกเข่าฟ้อน แล้วค่อยๆ ลุกยืนหมุนตัว เขยิกเท้าไปรอบๆ แล้วทำท่าไปตามอิริยาบถ เป็นธรรมชาติทำให้เกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ทั้งการขับซอและชมฟ้อนของช่างซอ

2. ฟ้อนแง้น หรือฟ้อนแอ่น เป็นการฟ้อนประกอบซออย่างหนึ่ง ที่จะฟ้อนหลังจากช่างซอขับซอจบบทแล้ว มีวิวัฒนาการมาจากการฟ้อนประกอบซอแบบธรรมดา ที่พัฒนาขึ้นโดยคุกเข่าฟ้อน ยืนฟ้อน แล้วแอ่นตัวไปทางด้านหลัง ตัวอ่อนโน้มลงจนสามารถใช้ปากคาบดอกไม้ หรือธนบัตรที่ผู้ชมวางไว้ได้ จึงเรียกว่า ฟ้อนแง้น

ส่วนเนื้อหาของการซอเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับประเพณี พิธีกรรม เรื่องราวในชีวิตประจำวัน ซอจึงถือได้ว่าเป็นสื่อในการอนุรักษ์สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีบทบาทสำคัญสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ เป็นองค์ความรู้ที่สามารถเรียนรู้ได้ เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับภาษาล้านนา ค่านิยม ความเชื่อ รวมถึงประเพณีของชุมชนได้อย่างชัดเจน จึงถือเป็นวรรณกรรมพื้นบ้าน ที่นอกจากจะให้ความบันเทิงแล้วยังมีคุณค่าในด้านภาษา และการเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างยิ่ง

สถานที่ตั้ง
เลขที่ 146 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
อำเภอ เชียงกลาง จังหวัด น่าน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางสาวกมลลักษณ์ บุญซื่อ อีเมล์ nan-culture@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน
จังหวัด น่าน
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่