ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 49' 34.1832"
14.8261620
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 41' 30.8828"
99.6919119
เลขที่ : 192533
ผ้าทอลาวครั่งบ้านพุน้ำร้อน อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
เสนอโดย สุพรรณบุรี วันที่ 24 มีนาคม 2563
อนุมัติโดย สุพรรณบุรี วันที่ 24 มีนาคม 2563
จังหวัด : สุพรรณบุรี
0 424
รายละเอียด

ศูนย์เรียนรู้ผ้าทอลายโบราณลาวครั่งบ้านพุน้ำร้อน มีที่ทำการทอผ้า ตั้งอยู่ที่ วัดพุน้ำร้อน ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ในบริเวณวัดพุน้ำร้อนนั้น มีกลุ่มผ้าทอลายโบราณของลาวครั่งที่ทางชุมชนได้รวมกลุ่มผ้าทอไว้ กลุ่มผ้าทอได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา โดยท่านพระครูวิสิฐสุวรรณคุณ( พระอาจารย์เสน่ห์ อภินนฺโท ) เจ้าอาวาสวัดพุน้ำร้อน เป็นผู้รวมชาวบ้านจัดตั้งกลุ่มทอผ้าเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และชุบชีวิตผ้าทอลาวครั่ง ด้วยการ “ นำลายเก่า มาทำขึ้นใหม่ ” ลายผ้าซิ่นตีนจกของบรรพบุรุษที่มีมาอย่างยาวนานและมีความเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะ ผ้าซิ่นตีนจกสีแดง เป็นเสมือนการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งเลยก็ว่าได้ เพราะเดิมที สีแดงได้มาจากตัวครั่ง ที่เกาะอยู่ตามต้นไม้ในธรรมชาติแล้วนำมาย้อมเป็นสีแดงของตีนซิ่น จึงเป็นที่มา ของคำว่า “ ลาวครั่ง ” ลวดลายผ้าซิ่นตีนจกของแต่ละผืนนั้นยังมีความหมายและความเชื่อตามคติทางพระพุทธศาสนาด้วย เช่น ตัวหงส์ พญานาค เป็นหนึ่งในสัตตบริภัณฑ์ที่มีความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่ได้สวมใส่ เป็นต้น ลวดลายของผ้าซิ่นตีนจกแต่ละผืนนั้นช่างทอก็จะมีความชำนาญในการทอที่แตกต่างกันไป แต่ละผืนจะใช้ระยะเวลาที่แตกต่างกันตามความยากง่ายของลาย ผ้าซิ่นของกลุ่มผ้าทอจะมีทั้ง ผ้าฝ้าย ผ้าไหม นอกจากเรื่องของการอนุรักษ์วัฒนธรรมการทอผ้าแล้วยังถือเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านที่ว่างเว้นจากการทำเกษตรกรรมอีกด้วย ความโดดเด่นและเอกลักษณ์ของผ้าซิ่นตีนจกลาวครั่งบ้านพุน้ำร้อน คือสามารถสวมใส่ได้ ทั้ง 2 ด้าน ลวดลายของแต่ละด้านจะกลับกัน ผ้าจะไม่มีปม ซึ่งดั่งเดิมบรรพบุรุษจะทอด้วยความประณีต จึงใช้เวลาทอประมาณ 1-2 เดือนจึงจะได้ผ้าซิ่น 1 ผืน กลุ่มทอผ้าบ้านพุน้ำร้อนได้มีการสนับสนุน ส่งเสริม อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น โดย การรวมกลุ่มผู้ที่มีความสนใจการทอผ้า มาฝึกทอผ้า ตั้งแต่กรอด้าย การทอ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจและเกิดความรัก ความภูมิใจในผ้าทอบ้านพุน้ำร้อน เห็นถึงเอกลักษณ์ของผ้าทอพุน้ำร้อนซึ่งผ้าทอแต่ละที่จะมีเอกลักษณ์ของลายผ้าต่างกัน รวมทั้งการนุ่งผ้าต่างกันในความสั้นยาวของตีนผ้า และส่งเสริมให้คนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงแต่งกายด้วยทอผ้าตีนจกในการมาทำบุญในวันพระ และวันสำคัญต่างๆ ตลอดจนการต้อนรับแขกที่มาเยือน รวมทั้งมีการรวบรวมลายผ้าและจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่ ตลอดจนมีการสอนให้แก่นักเรียนเพื่อสืบทอดภูมิปัญญามิให้สูญหายและสามารถทำเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้ ทั้งนี้ ชุมชนได้เตรียมชุดสำหรับบริการนักท่องเที่ยวให้แต่งกายแบบลาวครั่ง เพื่อถ่ายภาพเป็นที่ระลึกอีกด้วย

สถานที่ตั้ง
ศูนย์การเรียนรู้ผ้าทอลายโบราณลาวครั่งบ้านพุน้ำร้อน
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านพุน้ำร้อน
ตำบล ด่านช้าง อำเภอ ด่านช้าง จังหวัด สุพรรณบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ผ้าทอลายโบราณลาวครั่งบ้านพุน้ำร้อน
บุคคลอ้างอิง พระอาจารย์เสน่ห์
ชื่อที่ทำงาน เจ้าอาวาสวัดพุน้ำร้อน
หมู่ที่/หมู่บ้าน 4
ตำบล ด่านช้าง อำเภอ ด่านช้าง จังหวัด สุพรรณบุรี รหัสไปรษณีย์ 72180
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่