ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 56' 7.7212"
16.9354781
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 42' 36.0292"
104.7100081
เลขที่ : 192560
พิธีแห่พระอุปคุต
เสนอโดย นครพนม วันที่ 26 มีนาคม 2563
อนุมัติโดย นครพนม วันที่ 30 มีนาคม 2563
จังหวัด : นครพนม
0 3431
รายละเอียด

ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ)
สืบเนื่องจากประเพณีงานนมัสการองค์พระธาตุพนมประจำปี ระหว่างวันขึ้น ๘ ค่ำ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี ปีไหนที่เป็นปีอธิกมาส จะเลื่อนเป็นขึ้น ๘ ค่ำ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันจัดงานนมัสการองค์พระธาตุพนม รวม ๙ วัน ๙ คืน ซึ่งประเพณีดังกล่าว ได้ยึดถือปฏิบัติมาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันงานนมัสการองค์พระธาตุพนม เป็นงานที่ยิ่งใหญ่มีช่วงเวลาการจัดงาน ๙ วัน ๙ คืน ในงานดังกล่าวมีพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางมาร่วมงานนมัสการองค์พระธาตุพนมเป็นจำนวนมาก เพราะต่างมีความเชื่อว่า พระธาตุพนม เป็นองค์พระธาตุที่บรรจุพระอุรังคธาตุ (ธาตุหัวอกของพระพุทธเจ้า) ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพนับถือและยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ดังนั้นเมื่องานนมัสการพระธาตุพนมเวียนบรรจบครบรอบแต่ละปี จึงมีชาวพุทธหลั่งไหลมาจากทั่วทิศานุทิศ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้มาแสวงบุญเทศกาลงานนมัสการพระธาตุพระนม และให้เกิดความสวัสดีมงคลแคล้วคลาดปลอดภัยแก่พุทธศาสนิกชน และผู้แสวงบุญจึงเกิดมีประเพณีอัญเชิญพระอุปคุต พระมหาเถระผู้มีอิทธิฤทธิ์ปราบมารที่จะมาแผ้วพาลให้อันตรธานหายไป
ด้วยพื้นฐานแห่งความเชื่อดังกล่าว จึงเกิดมีประเพณีอัญเชิญและแห่พระอุปคุตในเทศกาลงานนมัสการพระธาตุพนม ในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ เวลา ๐๘.๐๐ น. เป็นต้นไป มีคลื่นแห่งพุทธศาสนิกชนจำนวนมากมาร่วมพิธีอันสำคัญดังกล่าว จนกลายเป็นประเพณีใหญ่โตระดับชาติและรู้กันไปทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน พระอุปคุตตเถระ ผู้เป็นพระอรหันตสาวกที่ทรงมหิทธานุภาพ ชอบความวิเวกวังเวงและอยู่ตามลำพังผู้เดียว ไม่ชอบเกี่ยวข้อกับผู้อื่น ชีวประวัติของท่านมีปรากฏขึ้นตอนหลังพุทธปรินิพพานแล้วประมาณ พ.ศ.๒๑๘

อัตลักษณ์ที่โดดเด่น
การมาร่วมพิธีอัญเชิญและร่วมขบวนแห่พระอุปคุต ถือเป็นหน้าที่ของข้าโอกาสพระธาตุพนมที่จะต้องมาร่วมพิธีอย่างพร้อมเพรียง โดยมีความเชื่อพื้นฐานว่าการได้ร่วมประกอบพิธีสำคัญดังกล่าว จะยิ่งให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุข แคล้วคลาดปลอดภัย ด้วยบุญญาภินันท์ขององค์พระธาตุพนมและพระอุปคุตเถระ ดังนั้นเมื่อถึงวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี ข้าโอกาสพระธาตุพนม จึงพร้อมใจกันด้วยการนุ่งขาวห่มขาว ถือดอกไม้ ธูป เทียน ทอง ณ ริมฝั่งโขง ด้านหน้าวัดพระธาตุพนมกันอย่างพร้อมเพรียงด้วยความวิจิตบรรจง เพื่อร่วมประกอบพิธีอัญเชิญพระอุปคุตตามโบราณประเพณีขบวนแห่พระอุปคุต งานนมัสการองค์พระธาตุพนมเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอธาตุพนม
และชาวพุทธจังหวัดนครพนม

ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ
๑. คุณค่าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สำคัญพอประมวลสรุปได้ดังนี้
๑.๑ ความเชื่อถือศรัทธาในพิธีกรรมทางศาสนา
๑.๒ ความมีขวัญและกำลังใจที่มีต่อผู้มาร่วมประกอบพิธี
๑.๓ ความรักสามัคคีปรองดองในหมู่คณะ
๑.๔ การประพฤติปฏิบัติตนในประเพณี พิธีกรรม อันดีงาม ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของชุมชนและท้องถิ่น
๒. บทบาทของชุมชนที่มีต่อมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญพอประมวลสรุปได้ดังนี้
๒.๑ การบริจาคทรัพย์เพื่อบำรุงองค์พระธาตุพนม
๒.๒ การบริจาคแรงงานในการเตรียมการเพื่ออัญเชิญพระอุปคุต ตั้งแต่เริ่มต้นจนสุดท้าย
๒.๓ การเสียสละเวลามาร่วมประเพณีพิธีกรรม ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น
๒.๔ การประพฤติปฏิบัติตนในศีลธรรมอันดีงาม เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชาและสังฆบูชา
๒.๕ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความรักหวงแหนพิธีกรรมอัญเชิญพระอุปคุตให้ดำรงคงอยู่ชั่วลูกหลานต่อไป

สถานที่ตั้ง
ท่าเทียบเรือริมฝั่งโขง ทางด้านองค์พระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ตำบล ธาตุพนม อำเภอ ธาตุพนม จังหวัด นครพนม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
บุคคลอ้างอิง นายบุญมี เครือพันธ์
ชื่อที่ทำงาน โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๕๐ (บ้านคำพี้)
เลขที่ ๑๔๑ หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล คำพี้ อำเภอ นาแก จังหวัด นครพนม รหัสไปรษณีย์ 48130
โทรศัพท์ ๐๘๕-๗๓๙-๖๗๓๕
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่