ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 17' 3.4748"
18.28429856187884
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 10' 24.3422"
100.1734283806836
เลขที่ : 192836
สัตตภัณฑ์ล้านนา จังหวัดแพร่
เสนอโดย แพร่ วันที่ 5 พฤษภาคม 2563
อนุมัติโดย แพร่ วันที่ 5 พฤษภาคม 2563
จังหวัด : แพร่
0 360
รายละเอียด

สัตตภัณฑ์ล้านนา จังหวัดแพร่

ที่มา และความสำคัญ

สัตตภัณฑ์ล้านนาเป็นงานช่างผีมือดั้งเดิมที่งดงาม สร้างขึ้นเพื่อมุ่งหมายเป็นไทยธรรมที่ประณีตถวายไว้ในพระพุทธศาสนา โดยใช้หัตถศิลป์ในเชิงช่างของชาวล้านนา ซึ่งควรค่าแก่การฟื้นฟู อนุรักษ์และ สืบสานทั้งเรื่องความเชื่อ และฝีมือเชิงช่างให้คงอยู่ต่อไป ในปัจจุบัน สัตตภัณฑ์ใกล้จะสูญหายไปจากวัดในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหรือ ที่เรียกว่าล้านนาทุกขณะ เนื่องด้วยสาเหตุหลายประการ ได้แก่ บทบาทหน้าที่ของสัตตภัณฑ์ในวิหารหรืออุโบสถถูกแทนที่ด้วยกลุ่มโต๊ะหมู่บูชา ซึ่งแพร่กระจายมาจากวัฒนธรรมส่วนกลาง นอกจากนี้ ความงามของงานศิลปกรรมที่ปรากฏเป็นสัตตภัณฑ์ยังเป็นที่ต้องการของนักสะสมของเก่า ร้านขายงานศิลปกรรมโบราณ หรือไม่ก็กลายเป็นเครื่องตกแต่งตามสถานที่ต่างๆ เช่น โรงแรม รีสอร์ท เป็นต้น การฟื้นฟู อนุรักษ์ และสืบสานเพื่อรักษาไว้ซึ่งสัตตภัณฑ์ล้านนาให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสืบค้นและจัดเก็บข้อมูลฐานสัตตภัณฑ์ล้านนา สกุลช่างผู้สร้าง และชุมชนที่ยังอนุรักษ์สัตตภัณฑ์ไว้ในเขตภาคเหนือตอนบน ๖ จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แพร่ และน่าน เพื่อให้ได้ข้อมูลมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมของชาติที่กำลังหมดลมหายใจไปกับกาลเวลา ได้ฟื้นคืนกลับมาสู่ชุมชน วัด และประชาชนดังเช่นในอดีตต่อไป

ปัจจุบันหลายวัดในจังหวัดแพร่ ได้ฟื้นฟูการบูชาพระพุทธรูปด้วยเครื่องสัตตภัณฑ์ของชาวล้านนาขึ้นมา จึงเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สัตตภัณฑ์ไม้มงคลขึ้นโดยการเพิ่มพระพุทธรูปไว้ด้านบนสุด เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของการสักการบูชา ป้องกันการนำเครื่องสัตตภัณฑ์ไปประดับในที่ที่ไม่เหมาะสมและเพิ่มแนวคิดในการนำเรื่องราว หรือลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะมาสร้างความโดดเด่นเฉพาะเครื่องสัตตภัณฑ์เมืองแพร่ และล้านนา เครื่องสัตตภัณฑ์บางชิ้นแกะสลักจากไม้มงคลมีลวดลายดอกกระถินที่เป็นลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา เพิ่มเติมด้วยสัญลักษณ์ของเรื่องราวเมืองแพร่ผ่านไก่ฟ้าพระยาลอที่เป็นที่รู้จักจากเรื่องราวลิลิตพระลอตามไก่ ที่สำคัญเป็นชิ้นงานที่แสดงถึงทักษะ และฝีมือในการแกะสลักของคนเมืองแพร่ ที่มีความละเอียดอ่อนเสมือนจริงไม่เหมือนงานช่างทั่วไป

สถานที่ตั้ง
จังหวัด แพร่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ อีเมล์ phraeculture@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่
เลขที่ 108 หมู่ที่/หมู่บ้าน 13
ตำบล ป่าแมต อำเภอ เมืองแพร่ จังหวัด แพร่ รหัสไปรษณีย์ 54000
โทรศัพท์ 054625496 โทรสาร 054625873
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/phrae
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่