ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 54' 51.0001"
6.9141667
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 44' 26.0002"
100.7405556
เลขที่ : 192895
ศาลเจ้าปุนเถ้าก๋ง
เสนอโดย สงขลา วันที่ 21 พฤษภาคม 2563
อนุมัติโดย สงขลา วันที่ 22 มิถุนายน 2563
จังหวัด : สงขลา
0 254
รายละเอียด

รายละเอียดข้อมูล

บ้านสะกอมมีประวัติความเป็นมาไม่ต่ำกว่า 200ปี โดยในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อปี 2310ชาวบ้านที่นับถือศาสนาอิสลามส่วนหนึ่งได้อพยพจากกรุงศรีอยุธยาหนีพม่ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านสะกอม และอีกส่วนหนึ่ง ไปตั้งถิ่นฐานที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ชาวบ้านทั้งสองพื้นที่นี้มีภาษาที่คล้ายคลึงกันมาก สำหรับชาวจีนที่เข้ามาทีหลังในลักษณะพ่อค้าสำเภา ล่องเรือผ่านบ้านสะกอม เห็นทำเลที่ปากน้ำสะกอมเหมาะสำหรับการติดต่อค้าขาย จึงได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานกลางหมู่บ้าน ซึ่งเรียกกันว่าบ้านจีน มาจนถึงปัจจุบันกล่าวว่า คนจีนที่เข้ามาอาศัยที่บ้านสะกอมเป็นจีนชุดเดียวกับคนจีนที่ตั้งถิ่นฐานที่ถนนครนอกและนครใน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา หลักฐานที่พอจะสนับสนุน ได้แก่ศาลเจ้าปุนเถ้าก๋ง ที่บ้านจีนซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับศาลเจ้าปุนเถ้าก๋งที่หลักเมืองสงขลานอกจากนี้ชาวบ้านจีนที่ตำบลสะกอมกับชาวจีนที่ถนนนครนอกและนครในมีความสัมพันธ์และไปมาหาสู่กันเสมอ อาชีพหลักของชาวสะกอมในสมัยนั้น กลุ่มชาวไทยมุสลิมมักจะทำประมงชายฝั่ง ส่วนกลุ่มชาวจีนจะค้าขายทางทะเล

สำหรับสินค้า ชาวบ้านสะกอมในสมัยนั้น สินค้าหลักที่นำไปขาย ได้แก่ ปลาเค็ม น้ำปลากะปิ ปลาร้า ซึ่งรับซื้อจากกลุ่มชาวไทยมุสลิมในตำบลสะกอมนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีเกลือ เสื่อกระจูด กระสอบกระจูด ฯลฯ สินค้าเหล่านี้จะบรรทุกเรือสำเภา หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า เรือใบ ตามเมืองท่าต่าง ๆ เช่นกรุงเทพมหานคร ปีนัง ตรัง กานู เปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย สิงค์โปร์ และจีน โดยออกไปเที่ยวหนึ่ง ๆ ประมาณ 7 วัน 1 เดือน ขากลับจะบรรทุกสินค้าคู่ค้ากลับมาขายที่ตำบลสะกอม และบริเวณใกล้เคียง สินค้าที่นำมาส่วนใหญ่เป็น ผ้า บุหรี่ น้ำหอม ทองคำ อาหารกระป๋อง อาหารแห้ง และอุปกรณ์ เครื่องใช้ภายในบ้าน

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
ศาลเจ้าปุนเถ้าก๋ง
อำเภอ จะนะ จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ตำบล สะกอม อำเภอ จะนะ จังหวัด สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90130
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่