ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 21' 23.6351"
15.3565653
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 37' 8.2484"
104.6189579
เลขที่ : 192906
ฟ้อนมองเซิง
เสนอโดย อุบลราชธานี วันที่ 22 พฤษภาคม 2563
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 22 พฤษภาคม 2563
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 830
รายละเอียด

มองเซิง เป็นการแสดงของชาวกุลาหรือไทยใหญ่ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งซึ่งเข้ามาแต่งงานและตั้งรกรากในหมู่บ้านโนนใหญ่ ตำบลโนนใหญ่ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี สันนิษฐานว่าเดิมเป็นการละเล่นกันภายในกลุ่มชาติพันธุ์ เมื่อชาวกุลากลับจากการไปเร่ขายสินค้าเป็นเวลานาน เมื่อกลับบ้านเกิดเมืองนอนจะมีการจัดให้มีการละเล่นสนุกสนาน โดยนำฆ้องซึ่งมีประจำอยู่ทุกครอบครัวเพราะมีความเชื่อว่าฆ้องเป็นสิ่งมงคลทำให้ค้าขายเจริญรุ่งเรือง ออกมาตีประกอบจังหวะการร่ายรำอย่างสนุกสนาน

ต่อมาการละเล่นมองเซิงถูกนำมาใช้เป็นศิลปะการแสดงโดยปรากฎหลักฐานใน พ.ศ.2496 อำเภอเขื่องใน มีการฉลองปืนกล นายสังเวียน ทรรพสุทธิ์ นายอำเภอเขื่องใน ในขณะนั้น ได้นำเอามองเซิงไปแสดงให้ประชาชน ณ สนามที่ว่าการอำเภอเขื่องใน ปรากฎว่ามีประชาชนให้ความสนใจอย่างเนืองแน่น เพราะในเวลานั้นยังไม่เคยมีการแสดงมองเซิงต่อสาธารณชนมาก่อน

นอกจากนั้น ใน พ.ศ. 2520 อำเภอเขื่องใน ได้นำเอาการแสดงฟ้อนมองเซิง เป็นขบวนรำนำต้นเทียนพรรษาของอำเภอ ในงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ปรากฎว่าได้รับรางวัลชนะเลิศในปีนั้นเอง และในปต่อมา สุรสีห์ ผาธรรม ผู้กำกับภาพยนตร์ ได้นำเอาการแสดงมองเซิงถ่ายทำในส่วนหนึ่ของภาพยนตร์เรื่อง "ทุ่งกุลาร้องไห้" นับจากนั้นมาการแสดงฟ้อนมองเซิงจึงเป็นที่รู้จักของผู้คน และได้แสดงในโอกาสต่างๆ การฟ้อนมองเซิงในปัจจุบันมี 2 แบบ ได้แก่ แบบดั้งเดิม เป็นการแสดงของชายล้วนจำนวนตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป นุ่งโสร่ง มีผ้าโพกศีรษะ ท่ารำคล้ายท่ารำมวย ออกลีลางดงามมีท่าทางเลียนแบบไก่ชน มีการแสดงประลองฝีมือด้วยท่าทางและลีลาที่มีชั้นเชิง น่าชม โดยมีกระบวนท่ารำสามท่า ได้แก่ ข้างประสานงา หนุมานคลุกฝุ่น และจระเข้ฟาดหาง

ต่อมา มีการแสดงฟ้อนมองเซิงประยุกต์โดยใช้ผู้แสดงเป็นหญิง สวมเสื้อแขนกระบอกคอกลม ผ้าซิ่นสีดำ มีสไบคล้องคอ และประดิษฐ์ท่ารำใหม่ให้เข้ากับนาฏศิลป์ตามสมัยนิยม ทั้งนี้ การแสดงทั้ง 2 แบบ ใช้เครื่องดนตรีประกอบคือ ฆ้อง ซึ่งไล่ขนาดเล็กไปจนขนาดใหญ่จำนวน 9 ใบ กลองสองหน้าหรือตะโพน จำนวน 1 ใบ และฉาบ ซึ่งมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จำนวนอย่างละ 1 คู่

ปัจจุบัน การฟ้อนมองเซิงของกลุ่มเชื้อสายกุลาบ้านโนนใหญ่ได้รับการส่งเสริมให้มีการแสดงในโอกาสต่างๆ โดยเฉพาะเพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชนซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ การฟ้อนมอเซิงนับเป็นศิลปะการแสดงที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น ควรได้รับการส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ สืบทอด ส่งต่อเพื่อให้เป็นวัฒนธรรมที่คงอยู่คู่กับชุมชนต่อไป

สถานที่ตั้ง
บ้านโนนใหญ่
ตำบล ก่อเอ้ อำเภอ เขื่องใน จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชำนาญ ศิริวารินทร์ ประวัติบ้านโนนใหญ่
บุคคลอ้างอิง นายวิญญู จูมวันทา อีเมล์ thapakron1976@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี อีเมล์ thapakron1976@gmail.com
ถนน สุรศักดิ์
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองอุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34000
โทรศัพท์ 045244531 โทรสาร 045244533
เว็บไซต์ www.province.m-culture.go.th/ubonratchathani
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่