ความเป็นมา (ภมูิหลัง/ความเชื่อ)
ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มียักษ์เพศผู้ตนหนึ่งซื่อว่า “บักสะลึคึ” ยักษ์มีลำตัวใหญ่โตมาก มีจมูกสีแดง ผู้คน ที่อาศัยตามที่ราบหรือในป่าเขา เมื่อได้เห็นยักษ์ตนนี้เดินทางออกไปหาจับสัตว์กิน จะทำให้แผ่นดินสั่นสะเทือน ป่าเขาเหมือนจะแยกออกจากกัน ผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้รัศมีเส้นทางที่ยักษ์บักสะลึคึเดินผ่านจะต้องหาทางหลหนี เอาตัวรอดต่างก็เล่าชานเป็นข้อความติดปากกันลืบมาว่า “บักสะลึคึดั๋งแด๋งนอนตะแคงคุงฟ้าเด็กน้อยเข้าไป หอมกลิ่นหมากกะบ้าในฮูดั๋งมัน ได้เป็นพันเป็นหมื่น ยามมันพลิกคีงตื่น เด็กน้อยเป็นหมื่นแตกตื่นออกมา”
คำพูดที่ซาวบ้านเล่าชานลืบมาดังกล่าว บ่งบอกถึงลักษณะตัวตนอันใหญ่โต มหึมาชองยักษ์ “บักสะลึคึ” ผู้เฒ่าผู้แก่ยังเล่าให้ลูกหลานฟ้งว่า บักสะลึคึ มัน'ไม่มีเสื้อผ้าสวมใส่ มีตะบองเป็นอาวุธ ใช้ล่าสัตว์ป่า เป็นอาหาร ผู้เฒ่ายังเล่าอีกว่า ยักษ์ตนนี้มันมีความแปลกพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ มันมือวัยวะเพศทั้งใหญ่ทั้งยาว เมื่อมันลุกยืนอวัยวะเพศชองมันจะยาวลากดินเลยทีเดียว เมื่อมันเดินไปที่ใดๆ มันก็ลากอวัยวะเพศชองมันครูด แยกออกเป็นร่องถึกจนปรากฏเห็นเป็นเส้นทางที่มันเดินผ่าน บางแห่งก็เป็นทางตรงทางโค้งบ้าง ดังนั้นเส้นทาง ที่ยักษ์บักสะลึคึสัญจรไปหาอาหารจึงเป็นเส้นทางที่ยาวไกล เมื่อถึงฤดูฝนน้ำจากภูเขาจากป่าที่สูงก็ไหลลงสู่ร่อง เส้นทางที่ยักษ์บักสะลึคึลากอวัยวะเพศไปนั้น นานเข้าก็กลายเป็นลำน้ำและเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ไปในที่สุด
ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในระแวกบริเวณยักษ์บักสะลึคึเดินทางไปหาอาหารกินนั้น เขาเรียกอวัยวะเพศว่า “ของ” เมื่อเห็นแม่น้ำที่เกิดจากการที่บักสะลึคึมันลาก “ของ” ของมันจนกลายเป็นแม่น้ำ ก็จึงพากันเรียก แม่น้ำสายนี้ว่า “แม่น้ำของ” มาจนถึงปัจจุบัน
ยังมีหลักฐานทางภูมิศาสตร์ ที่ถูกบันทึกในเซิงวิชาการเกี่ยวกับซื่อของแม่น้ำสายนี้ว่า ได้มีการตั้งซื่อ แตกต่างกันไปถึง ๗ ซื่อ ตามที่ซาวบ้านผู้อาศัยอยู่แต่ละแห่ง แต่ละพื้นที่จะเรียกซื่อแตกต่างกันไปในพื้นที่ของ ทิเบตที่อาศัยอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งมีหินเป็นส่วนใหญ่นั้นเขาเรียกซื่อแม่น้ำสายนี้ว่า “ต้าจู” หมายถึง “แม่น้ำหิน” เพราะสภาพแวดล้อมในบริเวณทิเบตนั้นจะมีหินเป็นส่วนใหญ่ เมื่อนั้นในแม่น้ำสายนี้ไหลลงมาทาง ตอนใต้ถึงบริเวณมณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประซาชนจนเขาเรียกซื่อว่า “หลานซาง” หรือ “ล้านช้าง” เมื่อแม่นั้าสายนี้ไหลผ่านประเทศเมียนมาร์ ซาวเมียนมาร์เรียกซื่อว่า “แม่น้ำโด้ง” เมื่อไหลผ่านลงมาทางตอนใต้ ถึงบริเวณประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประซาซนลาวในปัจจุบัน ซึ่งบริเวณนั้นเป็นพื้นที่ที่ยักษ์บักสะลึคึได้ ใช้เป็นที่พักอาศัยและหาส่าสัตว์กิน ซาวบ้านจึงเรียกซื่อแม่น้ำว่า “แม่น้ำของ” ตามที่ยักษ์สะลึคึลากของมันไป จนเกิดเป็นร่องน้ำนั้นเอง
อัตลักษณ์ที่โดดเด่น
วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา
เป็นสำนวนเรื่องเล่าสืบทอดกันมา มีทั้งเรื่องเล่าซองซาวลาวฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและชาวอีสานที่มีวิถีชีวิต คล้ายคลึงกับชาวลาวล้านช้าง การรวบรวมเป็นเอกสารมีตีพิมพ์ลงในเอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ เรื่องแม่น้ำโขง ณ นครพนม เขียนโดย เด่นชัย ไตรยะถา ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม ศิลปะการแสดง การแสดงที่สอดคล้องกับตำนานเรื่องเล่า ยักษ์สะลึคึ (ยักษ์คุ) ซองซาวอำเภอชานุมาน จังหวัด อำนาจเจริญ ที่มีการจัดขบวนแห่ยักษ์คุ การแต่งตัวเป็นยักษ์คุ ซึ่งมีการทำเป็นประเพณีทุกปีในเดือนเมษายน แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี เทศกาลที่อำเภอซาบุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ จะมีการจัดงานเทศกาลซึ่งมีกำหนดการและการประกอบ พิธีกรรม ตามความเชื่อซองชุมซน จึงเป็นที่สนใจซองนักท่องเที่ยวในทุกๆปี
ภูมิธรรมอ้างเอาลักษณะซองพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ซองแหล่งอาหารปลาที่มีมาแต่ครั้ง อีแก้ว,หีหล'วง ทำมาหากินอย่างอุดมสมบูรณ์ ควรมีการอนุรักษ์ บำรุงรักษาพื้นที่ให้คงความอุดมสมบูรณ์ไว้ และ แหล่งน้ำที่เกิดจากการกระทำซองยักษ์คุ(สะลึคึ) ก็ต้องมีการบำรุงรักษาและพัฒนาให้คงสภาพดีตลอดไป
ภูมิปัญญาผู้เฒ่าผู้แก่ผู้สูงอายุ ได้ถ่ายทอดภูมิปัญญา โดยผ่านเรื่องเล่าที่สอดรับกับสิ่งซอง สถานที่ ซึ่ง ได้สืบต่อจนเป็นประเพณี เช่น การแข่งชันเรือยาว การท่องเที่ยวตามสถานที่ที่มีตำนานยักษ์สะลึคึ เข่น การจัด ท่องเที่ยวตามรอยยักษ์สะลึคึ จากเมืองซาบุมาน เชียงคาน รวมถึงเที่ยวสองฝั่งแม่น้ำของด้วย ซึ่งเส้นทาง ท่องเที่ยวเซิงวัฒนธรรมสองฝั่งของนั้น ล้วนมีสถานที่ที่สอดรับกับตำนานยักษ์สะลึคึอยู่หลายแห่ง
ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ
คุณค่าทางจิตใจ
- การได้ไปเรียนรู้ในสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่สอดคล้องกับตำนานเรื่องเล่าได้อย่างสมจริง ทำให้จิตใจ ผู้พบเห็นเกิดความทึ่งแลพิศวงเบิกบานไปกับการไดไปสัมผัสสถานที่นั้นๆด้วยตนเอง
- องค์กรเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยวสามารถจัดกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลินและ สนุกสนานตลอดระยะเวลาในการท่องเที่ยว
- สถานที่บางแห่งมีการพัฒนาเป็นแหล่งปฏิบัติธรรมกล่อมเกลาจิตใจให้แก่ประชาชนได้เป็นอย่างดีคุณค่าทางธุรกิจชุมชน
- ในสถานที่ที่มีตำนานเรื่องเล่าจะมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก ชุมชนจะมีรายได้จาก การขายสินค้าทางวัฒนธรรมและสินค้าที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
คุณค่าต่อการศึกษาซองเยาวชน
- เป็นบทเรียนที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรท้องสิ่นที่สามารถข่อยให้เยาวชนได้ศึกษาเรียนรู้ เรื่องท้องถิ่นซองตน
คุณค่าต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- เมื่อชุมชนเห็นคุณค่าทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับตำนานที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจชุมชน ก็จะเกิดการ อนุรักษ์ธรรมซาติสิ่งแวดล้อม สถานที่สำคัญตามตำนานก็จะคงอยู่อย่างยั่งยืนสืบไป