ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 22' 10.1021"
14.3694728
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 32' 23.465"
100.5398514
เลขที่ : 193250
ปลาตะเพียนใบลาน
เสนอโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 15 กันยายน 2563
อนุมัติโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 15 มิถุนายน 2564
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
0 374
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา/ทุนทางวัฒนธรรม ที่เป็นแรงบันดาลใจในการผลิต

ปลาตะเพียนใบลาน เป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่ทำสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านานเป็นผลงานแห่งการสร้างสรรค์ที่แสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย สำหรับคนไทย มีความเชื่อว่าการแขวนปลาตะเพียนใบลานไว้ในบ้าน จะเป็นสิริมงคล ทำให้เงินทองไหลมาเทมา ถ้าแขวนไว้ที่เปลเด็กอ่อนก็จะทำให้เด็กมีความขยันหมั่นเพียรเหมือนคำลงท้ายของปลาตะเพียน

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

รูปแบบของปลาตะเพียนที่แตกต่างกันออกไป ทั้งขนาด และลวดลาย สีสัน

มีหลายขนาด ปลาลูกเก้า ปลาลูกหก ปลาสี่ ปลาระย้า ปลาจิ๋ว และปลาแผง (โมบาย) ที่นำมาใส่กรอบรูปสามมิติ ตามแบบที่ลูกค้าต้องการ

กระบวนการผลิต
๑.นำใบลานมาเจียดให้ได้ขนาดใหญ่ เล็ก ตามต้องการ

๒.นำใบลานที่เจียดแล้วมาสานเป็นปลาตะเพียน และมีส่วนประกอบอื่นๆ ได้แก่ กระโจม ปักเป้า กระทงเกลือและใบโพธิ์

๓.ทาสีและเขียนลวดลาย

๔.นำมาร้อยเป็นพวง มีแม่ปลา และลูกปลา

๕.นำปลาที่ได้ไปใส่กรอบสามมิติ ตรวจสอบความเรียบร้อย และเตรียมส่งลูกค้า

สถานที่ตั้ง
ชุมชนคุณธรรมบ้านภูเขาทอง
เลขที่ 13 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล ภูเขาทอง อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
บุคคลอ้างอิง นางรศตา ไพบูลย์
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เลขที่ ศาลากลางจั ถนน สายเอเซีย
ตำบล คลองสวนพลู อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13000
โทรศัพท์ 035336882-3 โทรสาร 035336881
เว็บไซต์ www.ayutthayaculture.go.th
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่