ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 37' 36.4318"
6.6267866
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 56' 53.4354"
100.9481765
เลขที่ : 193373
นาซิดาแฆ
เสนอโดย สงขลา วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563
อนุมัติโดย สงขลา วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563
จังหวัด : สงขลา
0 629
รายละเอียด

นาซิดาแฆเป็นอาหารพื้นเมืองของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ ซึ่งนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย คำว่า "นาซิดาแฆ" มีหลายความหมาย หมายถึง ข้าวสำหรับคนอนาถา การได้ชื่อเช่นนี้สืบเนื่องมาจากส่วนประกอบสำคัญของนาซิดาแฆ เป็นส่วนผสมระหว่างข้าวจ้าวกับข้าวเหนียว ผู้มีรายได้น้อยถ้ามีข้าวจ้าวกับข้าวเหนียวเพียงบางส่วนก็สามารถนำมาปนกันทำเป็นอาหารได้แล้ว ในความหมายอื่น คำว่า "ดาแฆ" มาจาก "ดาฆัง" ในภาษาอินโดนีเซีย แปลว่า หาบ ดังนั้น นาซิดาแฆ แปลว่า ข้าวหาบและเนื่องจาก "ดาแฆ" ของชาวไทยมุสลิมภาคใต้ หมายถึงคนต่างถิ่น ดังนั้น นาซิดาแฆ จึงหมายถึง ข้าวของคนต่างถิ่นคือเป็นข้าวที่ชาวอินโดนีเซีย เป็นผู้นำมาเผยแพร่ในแถบนี้ส่วนผสมการทำนาซิดาแฆ

๑. ข้าวจ้าว

๒. ข้าวเหนียว

๓. ขิง

๔. ลูกซัด

๕. หอมซอย

๖. น้ำกะทิ

วิธีทำนาซิดาแฆ

๑. ใช้ข้าวจ้าว ๓ ลิตร ข้าวเหนียว ๑ ลิตร มาปนกันแช่น้ำ ๑ คืน การนึ่งจะนึ่ง ๓ ครั้ง

๒. ครั้งแรกเป็นการนึ่งให้พอสุกเป็นไต

๓. เมื่อนึ่งสุกแล้วให้เทใส่ภาชนะ แล้วเอาหางกะทิคั้นไว้ผสมเกลือเล็กน้อยราดลงในข้าวคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วมูนกะทิไปนึ่งอีก เป็นครั้งที่สอง

๔. เสร็จแล้วยกลงเทใส่ภาชนะเอาหัวกะทิที่แยกไว้มามูนอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่สาม เพื่อให้ข้าวนิ่มและกะทิที่ใช้มูนให้ข้าวสุก

๕. เมื่อได้ข้าวเหนียวสุกแล้ว ผสมกับขิง หอมซอย ลูกซัด สามารถเก็บไว้ได้ทั้งวันไม่บูด

๖. นาซิดาแฆนิยมรับประทานกับแกงไก่ แกงปลา หรือแกงไก่และซามาโญ (มะพร้าวคั่วตำรวมกับน้ำตาล เกลือ) ที่ต่างปรุงพิเศษ สำหรับรับประทานกับนาซิดาแฆโดยเฉพาะ

คำสำคัญ
นาซิดาแฆ
สถานที่ตั้ง
อำเภอ สะบ้าย้อย จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางอาซีซ๊ะห์ บูวะ
เลขที่ 57/9 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล จะแหน อำเภอ สะบ้าย้อย จังหวัด สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90120
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่