ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 5' 49.4866"
15.0970796
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 7' 23.8728"
104.1232980
เลขที่ : 193539
ระบำศรีพฤทเธศวร ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย
เสนอโดย ศรีสะเกษ วันที่ 16 เมษายน 2564
อนุมัติโดย ศรีสะเกษ วันที่ 30 มิถุนายน 2564
จังหวัด : ศรีสะเกษ
0 488
รายละเอียด

ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ)
ระบำศรีพฤทเธศวร เป็นระบำที่คิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้ประกอบการแสดงแสง เสียง มิ นิ ไลท์ แอนด์ ซาวด์ ศิวะราตรีแห่งศรีพฤทเธศวร ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ คำว่า”ศรีพฤทเธศวร” เป็นชื่อเดิมของปราสาทสะกำแพงใหญ่แสดงครั้งแรกปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ในรอบเปิดการแสดง มิ นิ ไลท์แอนด์ ซาวด์ ศิวะราตรีแห่งศรีพฤทเธศวร โดยประดิษฐ์ท่ารำจากจินตนาการศิลปกรรมภาพจำหลัก หน้าบัน ทับหลังจากโบราณสถานปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทหินพิมายและระบำโบราณคดีเลียนแบบการแต่งกายของนางอัปสราหรือนางอัปสรในสมัยขอมมาเป็นหมู่ระบำนางอัปสรานางรำผู้มีเรือนร่างอ่อนช้อยท่วงทีสวยงาม รับกับเสื้อผ้าอาภรณ์เครื่องประดับแสนสวย นางอัปสราหรือนางอัปสร ถือเป็นชาวสวรรค์จำพวกหนึ่ง มีเพศเป็นหญิง อาจเรียกว่า "นางฟ้า”ก็ได้ แต่หาใช่เทวดาไม่ นางมีฐานะเป็นอมนุษย์บังเกิดขึ้นเมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทร เพื่อนำเอาน้ำอมฤตขึ้นมาดังปรากฏในมหากาพย์มหาภารตะของอินเดีย คำว่า "อัปสร”ประกอบขึ้นจากคำว่า”อัป” ที่หมายถึงน้ำและ”สร”ที่หมายถึงการเคลื่อนไป อัปสรจึงหมายถึงผู้ที่เคลื่อนไปในน้ำ อันเป็นกำเนิดของนางอัปสรา ทว่าทั่วไปถือว่านางเป็นชาวสวรรค์ นางอัปสรมีอำนาจแปลงกายได้ ทั้งยังมีความสามารถในการขับร้องและเต้นรำเป็นอย่างยิ่ง ในราชสำนักของพระอินทร์มีนางอัปสรอยู่ ๒๖ ตน แต่ละตนมีความสามารถเชิงศิลปะต่างๆกัน และนี่นับเป็นที่มาของการแสดงการรำอันอ่อนช้อยงดงามของนางอัปสรา(SisaketMagazine,2009:1) โดยผนวกความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ ค่านิยม ของคนในท้องถิ่น

อัตลักษณ์ (ที่โดดเด่น)
อัตลักษณ์ที่โดดเด่นของระบำศรีพฤทเธศวรคือเครื่องแต่งกายที่โดดเด่นถอดแบบจากภาพจำหลักมีดนตรีประกอบการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษมีท่ารำที่แสดงถึงการรำถวายตัวของนางอัปสราที่หลังจากเล่นน้ำแล้วนำเครื่องหอมมาเซ่นบวงสรวงบูชาเทพเจ้า แสดงถึงความเชื่อความศรัทธาในศักดานุภาพแห่งเทวาลัยอันศักดิ์สิทธิ์และเครื่องบูชาอันเป็นที่สิงสถิต ของเทพเจ้า ในเทวาลัยให้อำนวยความสุขสวัสดิ์ ให้แก่ชาวเมือง ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ แห่งวิศุวสงกรานต์(วันที่พระอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะในเวลาเที่ยง มีเวลาเที่ยงวันและเที่ยงคืนเท่ากัน) ท่ารำระบำศรีพฤทเธศวร มีชื่อท่ารำจำนวน ๑๐ ท่าดังนี้ ท่าที่ ๑ ท่าบวงสรวงหมายถึงการบูชาเทวดาด้วยเครื่องสังเวยดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องหอม ท่าที่ ๒ ท่าไหว้บูชาเทพเจ้าหมายถึงแสดงความเคารพยกย่องเทิดทูนเทวดาผู้เป็นใหญ่ ท่าที่ ๓ ท่าถวายเครื่องหอมหมายถึงนำเครื่องหอมมามอบให้ ท่าที่ ๔ ท่าชมโฉมหมายถึงแสดงความสวยงามของรูปร่างให้เกิดความชื่นใจ ท่าที่ ๕ ท่าอวดโฉมหมายถึงแสดงความสวยงามของการร่ายรำให้ปรากฏ ท่าที่ ๖ ท่าเล่นน้ำหมายถึงประทินผิวร่างกายให้สะอาดหมดจด ท่าที่ ๗ ท่าถวายตัวหมายถึงรำถวายตัวมอบให้ ท่าที่ ๘ ท่าสักการะหมายถึงบูชาด้วยสิ่งเครื่องอันพึงบูชาเรียบร้อยแล้ว ท่าที่ ๙ ท่าอำลาหมายถึงลาจากไป ท่าที่ ๑๐ ท่าจบหมายถึงสิ้นสุดการทำความเคารพ
ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ

ความสำคัญ ระบำศรีพฤทเธศวรเป็นการแสดงที่บ่งบอกถึงความเชื่อของนางอัปสรา หรือ นางฟ้า ที่อยู่ในภาพสลักบริเวณปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย โดยเลียนแบบเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้า และท่ารำ จากภาพสลักปราสาทสระกำแพงใหญ่ โอกาสที่ใช้แสดง ใช้แสดงประกอบการแสดง แสง สี เสียง ศิวะราตรีแห่งศรีพฤทเธศวร อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษและงานต่างๆในทุกโอกาส

สถานที่ตั้ง
ปราสาทสระกำแพงใหญ่
ตำบล สระกำแพงใหญ่ อำเภอ อุทุมพรพิสัย จังหวัด ศรีสะเกษ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางสาววารุณี มหาผล
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ อีเมล์ sisaket@m-culture.go.th
ตำบล เมืองเหนือ อำเภอ เมืองศรีสะเกษ จังหวัด ศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33000
โทรศัพท์ 045-617811 โทรสาร 045-617812
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/sisaket
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่