ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 49' 26.324"
17.8239789
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 40' 11.6782"
101.6699106
เลขที่ : 193678
การมัดหมี่กลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ
เสนอโดย เลย วันที่ 5 พฤษภาคม 2564
อนุมัติโดย เลย วันที่ 5 พฤษภาคม 2564
จังหวัด : เลย
0 318
รายละเอียด

นางแป้น ซ้อนเปียยุง อายุ ๘๒ ปี เริ่มทอผ้าตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี โดยสืบทอดมาจาก คุณแม่ใหม่ ซ้อนเปียยุง ปัจจุบันคุณยายแป้นยังสามารถมัดหมี่ ย้อมไหม และทอผ้าได้ด้วยตัวเอง ทุกลายเกิดจากการใช้จินตนาการในการมัด ผ้าซิ่นลายนางหาญ (หรือเรียกว่า ซิ่นตาหมี่) คือ ผ้าซิ่นที่คุณยายทอขายอยู่เป็นประจำ โดยลายที่ใช้ส่วนมากเป็นลายที่เกิดจากความเชื่อ ธรรมชาติ และสิ่งรอบตัว เช่น ลายนาคสองหัว ลายนาคผัวมัย ลายนาคคู่ ลายผาสาด ลายผาสาดสองชั้น ลายเฮือนไตดำ ลายปลา ลายปู ลายกุ้งธรรมดา ลายกุ้งเคลือฝั่ง (เกยฝั่ง) ลายลวง

ขั้นตอนการทอผ้ามัดหมี่
๑. เตรียมเส้นยืน
๑) ค้นไหมเส้นยืน
(ทอผ้า ๔๐ เมตร ใช้ไหมเส้นยืนจำนวน ๒ กิโลกรัม ระยะเวลาการค้นไหมประมาณ ๒ วัน)
๒) สืบเส้นไหมทางยืนกับฟันหวี
(ฟันหวีหน้ากว้าง ๘๐ เซนติเมตร ๓๔ หลบๆ ละ ๘๐ เส้น ระยะเวลาการสืบเส้นไหมทางยืนกับฟันหวี ประมาณ ๔ วัน)
๒. เตรียมเส้นพุ่ง
๑) กวักไหมใส่กี้ (อั๊ก) จำนวน ๒ กี้ (อั๊ก)ๆ ละ ๐.๒๕ กิโลกรัม รวม ๐.๕๐ กิโลกรัม
๒) นำเส้นไหมที่เตรียมไว้ไปค้นหมี่ โดยใส่ในอุปกรณ์ที่เรียกว่า หลักหมี่ หรือ โฮงหมี่ค้นหมี่ โดยแบ่งเป็นลำ จำนวนลำขึ้นอยู่กับลาย เช่น ๑๕ ลำ ๒๕ ลำ ๓๕ ลำ
๓) มัดหมี่ตามลวดลายที่ต้องการ โดยลักษณะของผ้าซิ่นลายนางหาญจะเป็นซิ่นหมี่คั่นขิด ดังนั้น จะปรากฏลายหมี่เป็นช่องเล็กๆ ประมาณช่องละ ๑๐ เซนติเมตร หรือขึ้นอยู่กับลายที่ช่างทอต้องการ
การเริ่มต้นมัดลายหมี่ การมัดลายนั้นจะใช้เชือกฟางพันและมัดแน่นๆ ใช้มีดบางเล็กๆ ตัดเชือกฟาง ก่อนพันและมัดลำใหม่ต่อไป อาจมัดเรียงจากด้านบนไล่เรียงลงด้านล่าง หรือมัดด้านล่างก่อนจึงไล่เรียงขึ้นด้านบนก็ได้ ผู้มัดที่ชำนาญจะมัดลายตามจินตนาการโดยไม่ดูแบบลาย
๔) ย้อมสีไหม โดยถอดไหมที่มัดหมี่เสร็จแล้วออกจากหลักหมี่ นำไปย้อมสี บิดให้หมาดแล้วจึงแก้เชือกฟางมัดหมี่ออก ทำให้เกิดลวดลายตรงที่แก้เชือกฟางออก
๕)นำไหมที่แก้เชือกฟางออกแล้วไปพันรอบหลอดไม้ไผ่ เรียกว่า การปั่นหลอด ก่อนร้อยหลอดไหมด้วยเชือกอย่างแน่นหนาแล้วนำไปทอเป็นเส้นพุ่ง

สถานที่ตั้ง
กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองไทดำ หมู่ ๑๒
หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑๒ บ้านนาป่าหนาด
ตำบล นาซ่าว อำเภอ เชียงคาน จังหวัด เลย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางแป้น ซ้อนเปียยุง
หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑๒ บ้านนาป่าหนาด
ตำบล นาซ่าว อำเภอ เชียงคาน จังหวัด เลย
โทรศัพท์ ๐๘ ๖๐๓๖ ๑๔๐๔
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่