บ้านเจียง หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านเจียง ตั้งอยู่ที่เชิงเขาทางด้านทิศตะวันออกของเทือกเขาพญาฝ่อต้นคลองลำเสียง(ปัจจุบันคือต้นลำน้ำเจียง) เหตุที่เรียกว่าต้นน้ำเสียงเพราะต้นทางน้ำจะอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือน้ำจะไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปจดกับลำน้ำเจา จึงเรียกเพี้ยนเป็นลำน้ำเจียง จากต้นน้ำไหลมาตามเชิงเขาทางทิศใต้ มีคำล่ำลือว่าบริเวณนี้มีทองคำอยู่เป็นจำนวนมากเมื่อประมาณปี พ.ศ.2294 (270ปี) เป็นช่วงที่อยู่ระหว่างสร้างกรุงธนบุรี หรือเมืองบางกอก ทางการจากได้สั่งการออกสำรวจจำนวนประชาชนในแต่ละท้องที่ เพื่อเกณฑ์ประชากรเข้าร่วมสร้างกรุงใหม่ ถ้าใครไม่ไปก็จะต้องส่งส่วยหรือค่ารายหัวเป็นทองคำเพื่อเป็นทุนในการสร้างกรุงใหม่ดังที่กล่าวดังนั้นผู้คนจึงออกแสวงหาทองคำกันในบริเวณนี้ เมื่อหาทองคำได้แล้วจึงนำไปให้ทางการตรวจสอบ ปรากฎว่าเป็นทองคำจริงตามที่เขาต้องการ ดังนั้นจึงมีผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลมาขุดทอง เพื่อเป็นค่าหัวตามที่ระบุไว้ข้างต้น จำนวนทองที่ขุดและร่อนโดยธรรมชาติลดจำนวนลงทำให้ผู้ที่มาช้าต้องใช้เวลานานในการขุดค้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาที่พักและเสบียงอาหารที่ร่อยหรอลง จากการสำรวจพบว่าที่คลองเจียง(คลองเสียง) เป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งพืชผักและสัตว์น้ำที่มีอยู่มาก จึงเลือกทำเลที่พักที่ปากคลองซับพื้น ไหลตกน้ำเจียงเป็นที่พักชั่วคราว มีการปลูกข้าวไร่และยาสูบ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในยุคสมัยนั้น เมื่อมีเสบียงอาหารเพียงพอ ก็ออกชุดหาทองอีกโดยเฉพาะวัดถ้ำแสงเทียนในปัจจุบันเป็นแหล่งที่มีทองคำมากที่สุดประกอบกับบนเทือกเขามีถ้ำ(ถ้ำพระ)ที่สามารถเป็นที่พักและป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้ายได้ จึงมีการขุดที่เป็นบริเวณกว้าง กลายเป็นหมู่บ้านเรียกว่า “บ้านเจียงทอง” ต่อมาทองหาได้ยากขึ้นชาวบ้านจึงหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นเกษตรกร ทำนา ทำไร่ ปลูกมัน ปลูกข้าวโพด พริก หอมกระเทียม