ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 37' 5.9999"
7.6183333
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 4' 23.9999"
100.0733333
เลขที่ : 194256
เชงเลง
เสนอโดย พัทลุง วันที่ 7 กันยายน 2564
อนุมัติโดย พัทลุง วันที่ 5 มกราคม 2566
จังหวัด : พัทลุง
0 451
รายละเอียด

เชงเลง เป็นเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่งเป็นกรวยส่วนท้ายเรียวสอบติดกัน ลักษณะคล้ายกระชุ ไม่มีงา เป็นที่รู้จักกันของชาวบ้านภาคใต้โดยทั่วไป มีคำพูดเป็นเชิงประชดเรียกคนที่กินอาหารจนอิ่มคับท้องแล้วนอนว่า “นอนพุงเหมือนเชงเลง” เชงเลงมีหลายขนาด ความยาวตั้งแต่ ๖-๘ ศอก ความกว้างของปาก ๑-๒ ศอก

วิธีทำ

เลือกลำไม้ไผ่ที่สุกหรือแก่จัด เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด ๓ นิ้ว หรือโตกว่า ความยาวขนาด ๘ ปล้อง ผ่าลำไม้ไผ่จากโคนไปหาปลาย โดยเว้นส่วนปลายไว้ ๒ ปล้องกันแตกหรือฉีกออก โดยผ่าเป็นซี่ ๆ ขนาดประมาณครึ่งนิ้ว และจะต้องให้ได้จำนวนคี่ เช่น ๑๗ ซี่ หรือ ๑๙ ซี่ เพื่อให้ขัดตอกได้ลงตัว เกลาเนื้อไม้ด้านในออกให้ปลายซี่เรียว ตรงส่วนท้ายทำกรองด้วยเชือกป่าที่ขูดเปลือกออกแล้ว โดยใช้เชือกขนาดเล็กก่อนถัดมาใช้เชือกขนาดกลางมัดเพื่อให้แข็งแรงและป้องกันปลาดันออก ถัดมาใช้ตอกไม้ไผ่ผ่าเอาด้านในออกเกลาเรียบขนาดกว้างครึ่งนิ้ว ขัดไปรอบจนถึงปากแล้วใช้เชือกมัดเป็นเปลาะ ๆ รอบปากกันตอกหลุด ใช้เชือกป่าขนาดกลางผูกตรงส่วนที่ถัดจากปากเชงเลงประมาณศอกครึ่งทั้งสองข้าง ความยาวตามต้องการแล้วแต่จะใช้งานในน้ำลึกหรือน้ำตื้น แล้วผูกปลายทั้งสองข้างเข้าด้วยกันเพื่อใช้ผูกกับหลักกันน้ำพัดพา และใช้สำหรับดึงเชงเลงขึ้นจากน้ำ

วิธีใช้ดักปลา

ในการดักปลา นำกิ่งข่อยหรือต้นมันสำปะหลังที่ลนไฟจนใบร้อนเกรียมเปลือกปะทุสุกหอมในปริมาณมากพอควร เพื่อล่อให้ปลาเข้าอาศัยและกัดกินเปลือกไม้ ใบไม้ รวมทั้งป้องกันปลาหลุดออกเวลายกหรือกู้เชงเลงขึ้นจากน้ำ จมเชงเลงใน ลำคลองหรือบึงที่น้ำค่อนข้างนิ่ง ถ้าเป็นบริเวณที่มีสุมทุมพุ่มไม้ปกคลุมเหนือน้ำยิ่งดีเพราะปลาจะชอบอาศัย แลน้ำจะต้องลึกพอสมควร จากนั้นปักหลักผูกเชือกสำหรับดึงขึ้นและป้องกันน้ำพัดพา หลังจากจมทิ้งไว้ ๓-๔ วัน ใบไม้และเปลือกไม้จะเริ่มเปื่อย ปลาที่ชอบกินใบไม้และเนื้อไม้ประเภทนี้ได้แก่ ปลากด ปลาดุก ปลาชะโอน ปลาขี้ขม (คล้ายปลาแก้มช้ำแต่เกล็ดละเอียดและสีคล้ำกว่า) ปลากระตรับ ปลาหลาด และปลากระทิงจะเข้าไปกินและอาศัยอยู่ ในการกู้เชงเลงจะใช้การดึงเชือกขึ้น หากน้ำลึกจะต้องช่วยกัน ๒ คน โดยอีกคนหนึ่งจะต้องดำน้ำลงไปยกปากเชงเลงให้พ้นน้ำโดยเร็วอีกคนช่วยดึงเชือกขึ้น ไม่เช่นนั้นปลาจะออกไปจากเชงเลงก่อน ปลาที่หลบหนีออกไปจากเชงเลงได้จะไม่เข้าเชงเลงที่วางไว้ตรงที่เดิมอีก จะต้องย้ายที่จมเชงเลงใหม่ การเอาปลาออกจากเชงเลงใช้วิธียกก้นเชงเลงคว่ำปากลง ปลาที่อยู่ภายในจะร่วงออกมา เสร็จแล้วนำเชงเลงไปจมที่ใหม่และกู้จับปลาได้ทุกวัน จนใบไม้ที่ใส่ไว้ล่อปลาเปื่อยหมด ปลาจะไม่เข้าอีกต้องเปลี่ยนใหม่ ผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองและมีเชงเลงหลายลูกจะจับปลาได้มากและสามารถยึดเป็นอาชีพได้ดีทีเดียว

คำสำคัญ
เชงเลง
สถานที่ตั้ง
ตำบล คูหาสวรรค์ อำเภอ เมืองพัทลุง จังหวัด พัทลุง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม ๕. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
บุคคลอ้างอิง นางสาวนิศาชล มีศรี อีเมล์ meesri.nisachon@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
ถนน ราเมศวร์
ตำบล คูหาสวรรค์ อำเภอ เมืองพัทลุง จังหวัด พัทลุง รหัสไปรษณีย์ 93000
โทรศัพท์ ๐๗๔-๖๑๗๙๕๘ โทรสาร ๐๗๔-๖๑๗๙๕๙
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/phatthalung/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่