ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 37' 5.9999"
7.6183333
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 4' 23.9999"
100.0733333
เลขที่ : 194278
เงาะป่าซาไก
เสนอโดย พัทลุง วันที่ 7 กันยายน 2564
อนุมัติโดย พัทลุง วันที่ 7 กรกฎาคม 2565
จังหวัด : พัทลุง
0 238
รายละเอียด

ความเป็นมาของมนุษย์ซาไก

ซาไกอยู่คู่กับประเทศไทย บริเวณด้ามขวานทองแห่งนี้ยังไม่พบว่ามีใครได้ทำการศึกษาไว้มากนัก เชื่อว่าซาไกเป็นคนในตระกูลออสโตรเอเซียติก ซึ่งเป็นคนป่าเผ่าหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีตระกูลและภาษาของตนเอง แบ่งออกเป็น ๔ ภาษา ๑. ภาษาแต็นแอ็นใช้ในหมู่ซาไกที่อาศัยอยู่ในพัทลุง ตรังและสตูล ๒. ภาษาเดียแดง ใช้ในหมู่ซาไกในจังหวัดยะลา ๓. ภาษายะฮาย ๔. ภาษากันซิว ใช้ในหมู่ซาไกที่อาศัยในอำเภอธารโต

บุคลิกลักษณะของชาไก

มีสีผิวดำนำตาลไหม้ รูปร่างเตี้ยเล็ก ผมหยิกม้วนเป็นรูปคล้ายกับหอยแนบติดศีรษะ หญิงจะมีผมยาวเป็นกระเซิง ไม่เคยหวีหรือสระผมเลยตลอดชีวิต ปากกว้าง น่องเรียว ริมฝีปากหน้า ฝ่าเท้าหนา มีฟันที่คงทนแข็งแรง แม้สูงอายุก็ยังมีฟันครบ ด้วยเหตุที่ซาไกยังใช้ชีวิตแบบเดิมๆไม่พัฒนาชีวิต ไม่รู้จักรักษาสุขภาพอนามัย จึงทำให้ทั้งชายหญิงเป็นโรคผิวหนังกันทุกคน แม้แต่เด็กแรกเกิดเพราะติดจากแม่ และสาเหตุที่ตัวเล็กอาจจะเกิดจากการที่มีสายเลือดชิด แต่งงานเฉพาะในหมู่เครือญาติที่พักอาศัยและอาหารการกิน ซาไกไม่มีบ้านเป็นหลักแหล่ง จะทำที่พักชั่วคราวเรียกว่า"ทับ" ซึ่งทำขึ้นง่ายๆ โดยลูกหลานจึงตัวเล็กและไม่ฉลาดวางโครงร่างเป็นไม้เล็กๆ เอียงทำมุม ๔๕ องศากับพื้น แล้วนำใบกล้วยป่า ใบหวายมาวางทาบเป็นหลังคาจดกับพื้นการเลือกที่สร้างทับจะเลือกที่ป่าทึบ อยู่ใกล้ลำธารมีอาหารจากหัวเผือก หัวมัน และมีสัตว์เล็กๆ ให้ล่า เช่น ชะมด ลิง ค่าง หรือกระรอก เป็นต้น เมื่ออาหารหายากขึ้น ซาไกก็จะอพยพย้ายไปถิ่นอื่น ซึ่งหัวหน้าจะเป็นผู้นำทางไปตามที่ซึ่งเคยอยู่อาศัย ครบรอบปีก็ย้อนวนลงมาที่เดิมอีกชีวิตการเป็นอยู่ประจำวัน หัวหน้าซาไกซึ่งมีภรรยาได้หลายๆ คน และสร้างที่พัก (ทับ) ใกล้ๆ กับหัวหน้า ตอนเช้าจะเตรียมลูกดอกอาบยาพิษพร้อมกระบอกตุกหรือที่เรียกว่าไม้ซางออกล่าสัตว์ ไม้ซางนับเป็นอาวุธประจำกาย ใช้ในการล่าสัตว์เพื่อการยังชีพ ประกอบด้วยกระบอกไม้ไผ่ ลำที่ตรง ๒-๓ ปล้อง ทำการเจาะภายในให้ปล้องทะลุเข้าหากัน ทำการขัดแต่งจนเรียบร้อย ส่วนยาพิษเป็นยางน่อง ซึ่งเป็นยางของเปลือกไม้ชนิดหนึ่ง เมื่อนำลูกดอกมาจุ่มยางน่องและนำเยื่อของต้นเต่าร้างคล้ายสำลีมาพันปลายลูกดอกพร้อมที่จะนำไปเป่า (ตุด) หรือทำการล่าสัตว์ได้ ซึ่งใช้กันมาเป็นพันปีมาแล้ว สัตว์พวกลิง ค่าง ชะมด เมื่อถูกลูกดอกนำลูกดอกใส่ในไม้ซางก็เป็นอาวุธจะตายลงในเวลาอันสั้นชาไกจะนำมาย่างแบ่งกันกินในกลุ่ม โดยจะย่างทีละด้านด้านไหนั้นมาแบ่งกันกิน เมื่อหมดแล้วจึงพลิกไปย่างอีกด้านหนึ่ง ซาไกกินเนื้อย่างสุกๆดิบๆ ไม่มีการปรุงแต่งรสชาติอาหารแต่อย่างใด แม้แต่เกลือก็ไม่รู้จักใช้

การดำรงชีวิต

การล่าสัตว์มิใช่ว่าจะหาได้ทุกวันอาหารหลักของซาไกจึงเป็นรากไม้ในป่า ซึ่งเราเรียกว่า หัวเผือก หัวมัน ซึ่งซาไกจะขุดบริเวณโคนต้น เมื่อพบรากสะสมอาหารมีลักษณะคล้ายหัวมันเทศยาวๆ เขาจะขุดตามรากไปและดึงออกมาเป็นท่อนๆ จนสุดราก ภายในรากไม้นี้จะมียางเหนียวๆ ซาไกจะนำไปเผาไฟเสียก่อน เพื่อให้ยางในรากแห้งแล้วกินเป็นอาหาร ส่วนต้นไม้นั้นจะไม่ตายเพราะขุดเพียงด้านเดียว อีกด้านหนึ่งยังมีรากทำให้ต้นไม้นี้เจริญเติบโตต่อไปได้อีก และจะเวียนมาขุดเป็นอาหารอีกในปีถัดไป ฉะนั้น จึงเป็นมนุษย์ผู้อยู่อาศัยในป่าแบบยั่งยืนและป่าใดที่มีซาไกอาศัยอยู่จะบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของป่านั้นว่ายังบริสุทธิ์อยู่

การทำไฟขึ้นมาใช้ย่างอาหาร ซาไกก็ยังไม่มีไม้ขีดไฟใช้ แต่เขาสามารถทำไฟขึ้นมาย่างอาหารได้อย่างรวดเร็ว เพียง ๑๐-๑๕ วินาทีเท่านั้น อุปกรณ์จะมีหวายเส้นเล็กๆ พกติดตัวเวลาทำไฟขึ้นใช้ จะนำเยื่อต้นเต่าร้างนำมาเสียบกับกิ่งไม้แห้งๆ ใช้เท้าเหยียบไว้กับพื้นนำหวายมาคล้องกิ่งไม้แล้วดึงหวายกลับไปกลับมาเร็วๆ จะเกิดการเสียดสีจนติดไฟขึ้น และหวายจะขาดออกพอดี

ชาไกถือสันโดษปัจจัยสี่มีอยู่ครบแล้วตามธรรมชาติรอบๆตัวเขา เมื่อมันร่อยหรอลงก็เดินทางไปหาเอาที่แหล่งใหม่ เสื้อผ้าก็ต้องการเพียงชุดเดียว ไว้ใช้เมื่อเดินทางเข้าหมู่บ้านสิ่งที่ทำลายวิถีชีวิตของเขาคือมนุษย์เราผู้เจริญแล้วไปทำลายพืชพันธุ์ และสัตว์ป่า อันเป็นอาหาร แหล่งพักพิงของเขา ถึงเวลาที่มนุษย์เราจะได้ทบทวนความรู้จักพอ ไม่ทำลายป่าและสิ่งแวดล้อมต่อไปอีก เพราะบางคนเกิดอีกชาติหน้าก็ใช้ทรัพย์สินไม่หมด มนุษย์ชาติต้องอยู่อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน ช่วยกันรักษาสมดุลทางธรรมชาติถ้าอนุรักษ์ป่าก็เหมือนอนุรักษ์ซาไก ปัจจุบันพื้นที่ของพัทลุงถูกบุกรุกจากชาวบ้าน เพื่อทำสวนยางพาราและสวนผลไม้ ทำให้ซาไกขาดแหล่งพักพิงและที่สำคัญจะขาดแหล่งอาหาร ทำให้ถอยร่นเข้า ใจกลางป่าลีกระหว่างพัทลุง-ตรัง-สตูล เชื่อว่าในอนาคตหากทางภาครัฐและเอกชนไม่มาดูแล ซาไกส่วนหนึ่งจะย้ายถิ่นไป จ.ยะลา หรือเข้าไปอยู่ในป่าประเทศมาเลเซีย และส่วนหนึ่งจะอยู่กับชาวบ้านเป็นการปิดตำนานซาไกหรือเงาะป่าพัทลุง ซึ่งเป็นมนุษย์เผ่าแรกที่อยู่ในพื้นที่พัทลุงมาหลายพันปี

คำสำคัญ
เงาะป่าซาไก
หมวดหมู่
ชาติพันธุ์
สถานที่ตั้ง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
ตำบล ทุ่งนารี อำเภอ ป่าบอน จังหวัด พัทลุง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม ๑๖ (๗๙๗๗).กรุงเทพ.บริษัท สยามเพรส แมเนจเม้นท์ จำกัด.
บุคคลอ้างอิง นางสาวธิดา ส่งไข่
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
ตำบล คูหาสวรรค์ อำเภอ เมืองพัทลุง จังหวัด พัทลุง รหัสไปรษณีย์ 93000
โทรศัพท์ ๐๗๔๖๑๗๙๕๙๘ โทรสาร ๐๗๔๖๑๗๙๕๙
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/phatthalung/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่