ชุมชนสทิงหม้อตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตําบลสทิงหม้อ อําเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จะมี ประเพณีการทําบุญศาลาพ่อทวดภะคะวัม แม่คําแก้ว พ่อขุนโหร หรือชาวบ้านในชุมชน เรียกว่า”ทวดเจ้าบ้านสทิงหม้อ” ในวันแรมหนึ่งค่ำเดือนหก เป็นประจําทุกปี แหล่ง โบราณคดีชุมชนสทิงหม้อ เป็นชุมชนช่างปั้นหม้อ ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ สันนิษฐานกันว่า กลุ่มชนสทิงหม้อเริ่มแรก คงเป็นกลุ่มชนที่สืบทอดการปั้นหม้อมาจากชุมชนโบราณคลองปะ โอ คาบสมุทรสทิงพระ ซึ่งมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่๑๙-๒๐ จากการขุดค้นโบราณคดี พบหลักฐานการตั้งชุมชนซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นสองสมัยคือ สมัยเริ่มแรกที่ยังคงไม่มี การผลิตเครื่องปั้นดินเผาเพื่อการค้าคงเป็นเพียงผลิตขึ้นใช้เองภายในชุมชนเท่านั้น ในสมัย นั้นคงมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศแล้วโดยพบหลักฐานประเภทเศษเครื่องถ้วยจีน และเครื่องถ้วยต่างชาติซึ่งมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ สมัยที่สองมีอายุอยู่ในช่วง หลังจากพุทธศตวรรษที่๒๒จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เมื่อมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ หรือกับชุมชนภายนอกมากขึ้นก็ผลิตเพื่อใช้เองในชุมชนและผลิตเพื่อการค้า
ชุมชนโบราณสทิงหม้อ เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงของสงขลาและ รุ่งเรืองเป็นอย่างมากในสมัยรัชกาลที่๕ มีการแต่งตั้งตําแหน่งขุนนางสําหรับเก็บภาษีเตาเผา หม้อและภาษีหม้อที่ผลิตจากสทิงหม้อ