กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติศาสตร์ของกลุ่มชุมชน ชาติพันธุ์
ชุมชนกะเหรี่ยงในสุพรรณบุรี เป็นชุมชนกะเหรี่ยงที่ดั้งเดิมที่ กะเหรี่ยงในบริเวณจังหวัดนี้เป็นชนเผ่าที่มีอยู่ตั้งแต่ยังไม่มีการรวมกันเป็นประเทศ ซึ่งในช่วงนั้นถูกรังแกจากมอญและพม่าทำให้ "ผุ๊เสล่า" ซึ่งเป็นคนทวาย ทนไม่ได้ที่ถูกพม่าและมอญรังแกอยู่เสมอจึงรวบรวมคือทั้งเด็กและคนชรา ออกเดินทางขึ้นไปเขาตะนาวศรีระหว่างการเดินทางพม่าเองก็นำกองทัพออกติดตามจนทำให้ผุ๊เสล่าเดินทางไปถึงสันเขาตะนาวศรีซึ่งเป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยและพม่า ผุ๊เสล่าและคนอื่น ๆ ตัดสินใจเดินเลาะตามห้วยจนถึงแควน้อย สังขละบุรี พอถึงแควใหญ่จึงพักแรมอยู่บนเขา เมื่อตัดสินใจจะอาศัยอยู่ที่นี่จึงเดินทางเข้าไปขอพบพระเจ้าแผ่นดินของไทย ซึ่งคนตามประวัติศาสตร์กะเหรี่ยงไม่ทราบชื่อของพระเจ้าแผ่นดินในช่วงนั้น ทราบแต่ว่าท่านเป็นคนที่ไว้ผมมวยข้างหน้าและมีผ้าคาดผม โดยผุ๊เสล่าเล่าให้พระเจ้าแผ่นดินฟังถึงความเดือดร้อนที่พบเจอและขอที่พึ่งพิง แม้พระเจ้าแผ่นดินจะไม่รู้จักพม่าและมอญ แต่อนุญาตให้กะเหรี่ยงอาศัยอยู่ในแผ่นดินได้โดยมีข้อจำกัดว่าต้องอยู่ในป่าเท่านั้น เมื่อได้ความดังนั้นผู้เสล่าจึงกลับไปบอกพี่น้องของตนเองและพากันอพยพไปที่ลำตะเพินและมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ตะเพินคี่และแยกย้ายกันอยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยในช่วงแรกอดอยากมากต้องหาเผือก มันและกลอยกินเพื่อประทังชีวิตต่อมาจึงเริ่มทำไร่
เดิมพื้นที่นี้มีการอาศัยของกะเหรียงอยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่ได้มีการจดบันทึก จนสมัยรัชกาลที่ ๕ หลังพม่าถูกตีแตก จึงมีการอพยพเข้ามาอีกรอบ โดยคนที่นำกะเหรี่ยงอพยพเข้ามาในพื้นที่รอบที่ ๒ ชื่อ “ยูเซร่า” เป็นคนทวาย เข้ามาตั้งรกรากอยู่ที่นี่ และ หลังจากช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้มีชาวกะเหรี่ยงอีกกลุ่มนึงทำการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่ ที่บ้านกล้วยเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ได้ทำการย้ายถิ่นฐานเข้ามายังพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
พื้นที่ชุมชน | ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ | จำนวนประชากร |
บ้านห้วยหินดำ ตำบล วังยาว อำเภอด่านช้าง สุพรรณบุรี | พื้นที่ลาบลุ่มปกคลุมด้วยภูเขา | 376 คน |
บ้านตะเพินคี่ ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี | พื้นที่ลาบลุ่มบนเขา | 428 คน |
บ้านวังยาวตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี | พื้นที่ลาบลุ่มปกคลุมด้วยภูเขา | 2,150 คน |
บ้านกล้วย ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี | พื้นที่ลาบลุ่มปกคลุมด้วยภูเขา | 1,490 คน |
ตำบลองค์พระ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี | พื้นที่ลาบลุ่มปกคลุมด้วยภูเขา | 1,840 คน |
การประกอบอาชีพของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์
เดิมชาวกะเหรี่ยง บ้านห้วยหินดำ จะทำการเกษตร (สำหรับไว้กิน และสำหรับแลกเปลี่ยนกัน ไม่ได้ทำเพื่อการค้าขาย), การทอผ้า เป็นการทอแบบสืบทอดกันรุ่นสู่รุ่น (การทอผ้าเพื่อใช้เอง) แต่จะไม่มีการเลี้ยงสัตว์ เพราะเป็นความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง (เชื่อว่า การเลี้ยงไก่ และหมู ถือเป็นของมึนเมา เช่นเดียวกับการต้มเหล้า)
ปัจจุบันจะเป็นการเกษตรแบบอินทรีย์โดยทั้งหมด มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ในชุมชน เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน จะเป็นการปลูกพืชผลทางการเกษตรตามความต้องการของตลาด มีการส่งออกพืชผลทางการเกษตร โดยจะมี ตลาด และบริษัท (S&P farms) เข้ามารับในชุมชน
มีการทอผ้ากันเองภายในชุมชนโดยส่วนมากจะเป็นการทอสำหรับไว้ใช้เองใน พิธีกรรมต่าง ๆ
เช่น พิธีแต่งงาน หรือ งานบุญต่าง ๆ
วิถีชีวิต / วัฒนธรรม
วิถีชีวิตการเป็นอยู่ในชุมชนมีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างอาชีพให้กับสมาชิกกลุ่ม การทอผ้าก็ยังคงมีอยู่บ้าง แต่ยังคงเป็นการทอเพื่อใช้เองเป็นส่วนใหญ่ การทำการเกษตรแบบกะเหรี่ยง เป็นการทำสืบต่อกันหลายชั่วอายุคน จะใช้พื้นที่เยอะ จะไม่ทำซ้ำที่เดิม เป็นการพักหน้าดิน อย่างน้อย ๒-๓ ปี เพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัว และมีการอนุรักษณ์พันธุ์พืชของตัวเอง จะไม่เอาพันธุ์ของที่อื่นมาปลูก ชาวกระเหรี่ยงด้ายเหลืองจะไม่เลี้ยงสัตว์ จะเป็นการซื่อกินจากข้างนอกเข้ามากิน ตามความเชื่อของชาวกะเหรี่ยงด้ายเหลือง
การปกครองผู้ที่ปกครอง หรือผู้ที่คอยดูแลชุมชน จะเรียกว่า “พ่อปู่”
วัฒนธรรมจะมีศูนย์รวมในการประกอบพิธีที่บ้าน “เจ้าวัด” เป็นการสืบทอดทางเชื้อสาย หรือสายเลือดเท่านั้น มีทั้งผู้ชาย และผู้หญิง เมื่อก่อนจะมีเจ้าวัดประจำแต่ละชุมชน แต่ปัจจุบันเหลือเพียงที่เดียวซึ่งอาศัยอยู่ที่บ้านกล้วย ดังนั้นบ้านกล้วยจึงเป็นจุดศูนย์รวมของชาว “กะเหรี่ยงด้ายเหลือง” ใน อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี รวมไปถึง อำเภอใกล้เคียง
ความรู้ / ภูมิปัญญา
ปัจจุบันการรักษาโรคด้วยสมุนไพรยังมีมีการใช้อยู่ โดยการใช้สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อรักษาโรค
เช่นฟ้าทะลายโจร เป็นต้น ส่วนสมุนไพรที่สืบทอดต่อกันมาเชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ชื่อ “ซีมิ้งหน่อง”
(ซี แปลว่า ยา / มิ้งหน่อง แปลว่า รักษา) เชื่อว่าซีมิ้งหน่อง เป็นการทำให้คนแก่กลับมาเป็นสาวได้
(พูดถึงผู้หญิง) ไม่ได้มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่จะเป็นการถ่ายทอดต่อกันมาจากการเล่า
เป็นนิทาน หรือร้องเป็นเพลง ส่วนประกอบของยาสมุนไพรซีมิ้งหน่องจะเป็นพืชสมุนไพรหาได้จากในป่า
ประเพณี / เทศกาล
“ประเพณีด้ายเหลือง” เป็นประเพณีของชาวกะเหรี่ยงด้ายเหลือง ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยงด้ายเหลือง จะตรงกับเดือน ๕ ขึ้น ๑๔ -๑๕ ค่ำ (วันที่ ๑๔-๑๕ เมษายน) จะจัดขึ้นทุกปีที่บ้านเจ้าวัด เป็นการรวมตัวกันของชาวกะเหรี่ยงด้ายเหลือง พิธีจะจัด ๓ วัน ๓ คืน โดยมีการใช้เส้นด้ายมาชุบกับน้ำขมิ้น (ชาวกะเหรี่ยงด้ายเหลืองเชื่อว่า น้ำขมิ้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ จะใช้ในการประกอบพิธีต่าง ๆ ) ชาวกะเหรี่ยงด้ายเหลืองจะต้องเปลี่ยนด้ายที่แขนทุกปี เมื่อถึงวันทำพิธีจะนำด้ายเส้นเก่าไปใส่ถาดรวมกัน และทำพิธี และอธิฐาน ถ้าคนที่เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ จะไม่สามารถนำด้ายไปใส่ในถาดร่วมกับคน อื่น ๆ ได้ แต่ก็จะมีการยกเว้นสำหรับผู้ที่เลี้ยงไก่ และหมู โดยการนำด้ายไปวางไว้นอกถาดแทน หรือบางคนก็จะไม่เข้าร่วมพิธี
“ประเพณีบุญข้าวใหม่”เมื่อถึงฤดูการเกี่ยวข้าว ชาวกะเหรี่ยงจะนำข้าวแรกของการเกี่ยว (ข้าวใหม่) นำมาหุง และทำกับข้าว จากนั้นจะเชิญผู้เฒ่า ผู้แก่มากิน พิธีนี้จะไม่ได้จัดรวมกัน แต่จะเป็นการจัดบ้านใคร บ้านมัน แล้วบอกกล่าวชาวบ้านแทน เทศกาลกินข้าวใหม่มีความเชื่อว่า เป็นการตอบแทนบุญคุณผู้ที่ดูแลเลี้ยงดูเรา
“ค้ำต้นโพธิ์ ค้ำต้นไทร”เป็นพิธีการเสริมดวง, เสริมบารมี จะจัดขึ้นในช่วงประมาณ เดือนมีนาคม-เมษายน) โดยการตัดไม้เท่ากับจำนวนคนในบ้าน เอาไปค้ำไว้ที่ต้นโพธิ์ หรือต้นไทร พร้อมน้ำตามจำนวนของคนในบ้าน เพื่อเป็นตัวแทนของคนในบ้าน จากนั้นก็เชิญชวนคนในหมู่บ้าน ผู้เฒ่า ผู้แก่ ไปนั่งล้อมต้นไทร บอกกล่าวพระแม่ธรณี แล้วล้างต้นโพธิ์ด้วยน้ำขมิ้น จากนั้นก็กรวดน้ำด้วยน้ำขมิ้น
“พิธีกรรมสะเดาะเคราะห์” จะจัดประมาณเดือน 8 เดือน 9 เดือน 10 เป็นการส่งสิ่งที่ไม่ดี ไม่งาม ออกนอกหมู่บ้าน จะทำทุกปี ปีละ 1 ครั้ง โดยการนำไม้ไผ่มาสาน ให้เป็นเหมือนถาม ทำเป็นลักษณะเรียวๆ ยาวๆ ตั้งขึ้นไปเหมือนฉัตร แล้วเอาผลไม้, อาหาร ใส่ เพื่อทำพิธี
“ทำบุญแม่โพสพ” ชาวกะเหรี่ยงจะมีตัวแทนแม่โพสพ แต่จะไม่ใช่เจ้าวัด มีการสืบเชื้อสายจากรุ่นสู่รุ่น จะตรงกับช่วงเดือนกุมภาพันธ์ แรม 1 ค่ำ ของทุกปี โดยการนำข้าวเปลือก หัวมัน, หัวเผือก, แตงไทย, แตงกวา ทำพิธีจุดเทียน อธิฐาน กรวดน้ำ แล้วนำออกไปนอกหมู่บ้าน
ศิลปะ / การแสดง
การแสดง “รำตง” หรือที่ชาวกะเหรี่ยงเรียกกันว่า“เทอลีโตว” ซึ่งก็คือการ รำ และ ร้องเพลง เล่าเรื่องราวทางพุทธศาสนา ตำนาน นิทานต่างๆ รวมถึงจารีตประเพณีของชาวกะเหรี่ยง นับว่ามีบทบาทมากในสังคมของชาวกะเหรี่ยง ซึ่งส่วนใหญ่การแสดง “รำตง”นี้ จะแสดงกันในงานเทศกาลและ งานสังสรรค์ต่าง เป็นการแสดงที่นำมาต้อนรับแขกที่มาเยือน รำตงเป็นการแสดงที่มีการรำประกอบการร้องเพลงกะเหรี่ยงโดยมีเครื่องกำกับจังหวะเฉพาะคือ ว่าเหล่เคาะและกลองตะโพน รำตงสันนิษฐานว่าน่าจะมีการสืบทอดมานานกว่า ๒๐๐ ปี
ตำนาน
เมื่อก่อนที่ชาวกะเหรี่ยงอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ยังคงมีการนับถือผี (การเลี้ยงยักษ์) อยู่ โดยทุก ๆ ปีจะมีการทำบูชายันต์ (เอ้าท์เคว่) โดยการนำ “อ้น” (หนูกอไผ่) ตัวผู้จับมาแบบเป็นๆ เพื่อประกอบพิธี เป็นความเชื่อที่ทำสืบต่อกันมา จนกระทั้งชาวบ้านรู้สึกว่า หมู่บ้านนี้ไม่มีความสงบสุขเลย มีแต่ปัญหา และการทะเลาะเบาะแว้งกันมากขึ้น จึงหาวิธีที่จะทำให้หมู่บ้านเกิดความสงบสุข จนได้ข่าวว่ามีพระฤษีท่านหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก จึงได้ลงไปนิมนต์ท่าน และสอบถามกับทางพระฤษีว่า ชาวกะเหรี่ยงจะทำอย่างไร หรือจะต้องนับถืออะไร ถึงจะทำให้ชีวิตมีความสงบสุข พระฤษีจึงได้แนะนำให้เลิกนับถือยักษ์ โดยเดินทางขึ้นไปที่หมู่บ้านเพื่อทำการตัดพิธีเลี้ยงยักษ์ออกจากชาวกะเหรี่ยง โดยการนำกระจาดมาวางใส่อาหารคาว หวาน และเรียกชาวบ้านทุกคนมารวมตัวกันที่พิธี จากนั้นได้นำด้ายไปชุปน้ำขมิ้น แล้วนำด้ายปาดลงที่แขนสู่พื้นดิน ก่อนทำการผูกด้ายที่ข้อมือกับชาวบ้านทุกคนจนครบ มีการเล่าว่าตอนทำพิธีไก่ที่เลี้ยงในเล้า ล่วงลงมาตายหมดไม่เหลือสักตัว เมื่อทำการผูกข้อมือทุกคนเสร็จแล้ว จึงนำกระจาดที่ใส่อาหารหวาน คาว ลอยไปตามแม่น้ำลำตะเพิน มีการจุดธูป จุดเทียนไว้ในกระจาด ระหว่างกระจาดลอยไปตามลำน้ำ ห้ามผู้ใดหันหลังมองเป็นเด็ดขาด จนกระจาดลอยลับตาไป จากนั้นพระฤษีก็กล่าวว่า “กะเหรี่ยงคนเก่าได้ไปจากหมู่บ้านนี้แล้ว ต่อไปนี้พวกท่านคือกะเหรี่ยงคนใหม่” หลังจากนั้นก็ถือเป็นการเริ่มต้นใหม่ และได้ชื่อว่า “กะเหรี่ยงด้ายเหลือง”