ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 4' 46.4963"
16.0795823
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 45' 25.1575"
98.7569882
เลขที่ : 195524
ประเพณีทำบุญข้าวหลาม
เสนอโดย Takculture วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565
อนุมัติโดย Takculture วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : ตาก
0 730
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ (เดือนยี่ ไทย ) ชาวบ้านทุกบ้านจะเผาข้าวหลาม เพื่อนำไปถวายพระในเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำประเพณีทำบุญข้าวหลาม เป็นประเพณีของชาวล้านนามาช้านานมีจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง และต่างประเทศก็มีเช่น ประเทลาว ประเทศเขมร ซึ่งเป็นที่อยู่ใกล้เคียงกับชาวไทยจึงเท่ากับเป็นการรักษาประเพณีดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติกันมา ซึ่งเท่ากับเป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนา

วันเดือน ๔ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ หรือเรียกว่าเดือน ๔ เป็งเป็นประเพณีทานข้าวใหม่ และตานข้าวจี่ ข้าวหลาม ชาวล้านนาไทยได้ถือเป็นประเพณีโดยตลอดจนถึงทุกวันนี้ ตอนที่จะมีข้าวใหม่มารับประทานนั้น จะขอเล่าความเป็นมาถึงการมีข้าวใหม่มาทานเสียก่อน คือ เราจะต้องทำไร่ทำนาข้าวก่อนจึงจะมีข้าวใหม่ทานได้ การทำนาได้ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ คือสมัยปู่ย่า ตายาย สืบสานกันมาถึงลูกถึงหลาน เหลน ล้วนแต่มีการทำไร่ทำนากันทุกบ้านเรือน จะมีมากมีน้อยก็ตามฐานะของตน ผู้ไม่มีนาก็ได้เช่าไร่นาเขาทำบ้าง ไปรับจ้างเขาทำก็มีมาก เพื่อได้มาให้เพียงพอแก่ครอบครัว ถือเป็นอาชีพของคนล้านนา ส่วนอาชีพอื่นเป็นอาชีพเสริม

การทำนาสมัยก่อนต้องใช้ แรงวัวแรงควาย ชักลากเฝือไถต้องเตรียมเครื่องใช้ มีไถเฝือ แอกควาย แอกน้อย เชือกต่อสำหรับผูกแอก ผูกไถ เมื่อเดือน ๘,๙,๑๐ มาถึง ฝนเริ่มตกลงมา ชาวนาก็จะตกกล้า หรือหว่านกล้า เริ่มเอาน้ำเข้านาตกกล้าก่อน แล้วนะเอาข้าวเชื้อ (พันธุ์ข้าว) ประมาณ แล้วแต่นามีมากน้อยเท่าไรแล้วนำข้าวลงแช่น้ำ ๓ คืน แล้วเอาออก เจ้าของจะไถนาทำแปลงหว่านกล้าเมื่อแช่ ๓ คืน แล้วเอาออกใส่ถุงใส่ทอทับด้วยใบตอง แล้วอบไว้ ๒ คืน เรียกข้าวน้ำ ๓ บก ๒ ก็จะแตกงอกจึงนำไปหว่านในแปลงนาที่จัดไว้ หว่านกล้าแล้ว เจ้าของนาก็จะไถนารอกล้า ถ้าน้ำอำนวยให้ จะหมักไว้จนขี้ไถยุบตัวลงหญ้าต่าง ๆ จะเน่ากลายเป็นปุ๋ยไปในตัว แล้วก็เริ่มไถกลับไปกลับมาให้เรียบก็ลงมือปลูกข้าวต่อจากนั้นก็ค่อยดูแลหญ้าและศัตรูพืชในขณะปลูกข้าวจะชาวนาก็จะหาฤกษ์งาม ยามดี วันดีที่เป็นมงคล ชาวนาก็จะมาช่วยเหลือกันและกันไม่ต้องจ้าง มีแต่หาข้าวปลาอาหารไปเลี้ยงกันสามารถปลูกได้อย่างรวดเร็ว ไม่นิยมจ้างกันเช่นทุกวันนี้ เมื่อย่างเข้าเดือนกันยายน-ตุลาคม ข้าวจะตั้งก่องอกงามเรียกว่า สร้างต้นสร้างก่อ พฤศจิกายน ข้าวก็ตั้งท้องออกรวง ธันวาคม ข้าวก็จะเหลืองอร่ามเต็มทุ่งนา ปลายเดือนก็เริ่มเก็บเกี่ยว แล้วมัดบ้างเป็นฟ่อนบ้าง แล้วรวมกันนวดฟากกับรางเรียกว่า (ฮางตี๋ข้าว) กว้างขนาด ๑ เมตร ยาวประมาณ ๔ เมตร ช่วยกันตีสนุกสนาน ส่วนมากมักตีกันตอนเย็นและเข้าค่ำคืนเดือนส่องสว่าง เพราะอากาศมันเย็นทำงานได้มาก แสงสว่างก็อยู่ใต้แสงเดือน และใช้เฟื่องฟางข้าว จุดไฟแจ้งสว่างพอตีข้าวได้เสร็จแล้วก่อนขนข้าวไปเก็บในยุ้งฉาง

เมื่อเก็บเรียบร้อยแล้ว ก็ทำขวัญข้าว หาฤกษ์งามยามดีวันดีไล่ตามปฏิทิน วันผีกินวันคนกินทั้งข้างขึ้นและข้างแรม เมื่อได้วันดีแล้วก็เริ่มกินข้าวใหม่ ส่วนหนึ่งนำไปทำบุญแด่พระสงฆ์ สามเณร อุทิศส่วนกุศลให้บิดามารดาและพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วนั้น

เมื่อถึงเดือน ๔ เป็ง หรือ เดือน ๔ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ (วันเพ็ญเดือน ๒ คือประมาณเดือนมกราคม) หลังจากที่ชาวไร่ชาวนาเสร็จภารกิจทางไร่นาได้ข้าวขึ้นยุ้งฉางหมดแล้ว ก็จะทำพิธีเรียกว่า " พิธีเข้าใหม่หรือทานข้าวใหม่ " เพื่อให้พระสงฆ์ได้ฉันภัตตาหารที่ประกอบจากข้าวใหม่ที่พึ่งได้มาจากท้องทุ่งท้องนา เช่น ข้าวจี่ ข้าวหลาม ข้าวเม่า ข้าวต้ม ข้าวต้มกะทิ ขนมจ้อก (ขนมเทียน) ข้าวต้มใบอ้อย นำอาหารเหล่านี้ไปร่วมถวายพร้อมกับอาหารคาวประเภทอื่น ในชณะเดียวกันก็ถือโอกาสทานขันข้าว (คือถวายอาหารเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปหาญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย)

ข้าวหลาม ได้จากการใช้ไม้ไผ่ขาวชนิดที่มีเยื่อไผ่หนาติดเรียกว่าไผ่ข้าวหลาม ข้าวหลามคือข้าวเหนียวที่ถูกหลามให้สุกในกระบอกไม้ไผ่ โดยจะกรอกข้าวเหนียวที่เป็นข้าวสารลงในกระบอกไม้ไผ่ชนิดหนึ่งที่มีเยื่อหนา เติมน้ำไว้ตั้งแต่ตอนเย็น เมื่อถึงเช้าข้าวที่แช่ไว้ก็จะบานออก นำกระบอกไม้นั้นไปผิงกับถ่านไฟจนข้าวสุก เมื่อจะกินก็ปอกข้าวหลามนั้น โดยถากผิวไม้ส่วนที่ไหม้ไฟออกให้เหลือเนื้อไม้ไผ่สีขาวหุ้มข้าวหลามไว้ เมื่อถึงวันพิธีชาวบ้านตื่นขึ้นแต่เช้านำข้าวจี่และข้าวหลามพร้อมข้าวของอื่น ข้าวตอกดอกไม้ อาหาร ผลไม้ เมี่ยงและบุหรี่ รวมทั้งน้ำสำหรับเอาไว้กรวดเพื่ออุทิศเมื่อพระสงฆ์ให้พรไปที่วัด เมื่อไปพร้อมกันที่วิหารแล้ว อาจารย์ (มักนายก) ก็จะเริ่มนำไหว้พระรับศีล มีกากรเวนทาน คือกล่าวพรรณาการทำบุญด้วยข้าวจี่ข้าวหลามในครั้งนี้ พระสงฆ์รับเครื่องไทยทานแล้วให้พรเป็นอันเสร็จพิธีประชาชนในชุมชนบ้านหนองหลวง

ชุมชนในบ้านหนองหลวง ก็ได้ทำบุญประเพณีบุญข้าวหลามที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ถึงลูกหลานในยุคปัจจุบัน ประเพณีทำบุญข้าวหลามในชุมชนจัดทำมาทุกปีมีเคยหยุด เพราะชาวบ้านในชุมชนเขายึดถือแบบอย่างว่า เมื่อเสร็จสิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวไร่นาเสร็จแล้วจะต้องทำบุญข้าวใหม่เพื่อให้เกิดเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัว และกตัญญู ต่อพระแม่โพสพที่ดูแลพืชไร่ข้าวนาให้มีกินมีบริโภคตลอดฤดูกาลที่ผ่าน ชาวบ้านในชุมชนทำบุญข้าวใหม่ไปพร้อมๆกัน ๒ อย่าง( ๒ วิธี) ดังที่กล่าวมาแล้ว คือ

๑.ทำบุญข้าวจี่ข้าวหลาม

๒ ทำบุญก่อเจดีย์ข้าวเปลือกข้าวสาน

จะกล่าวถึงการทำบุญก่อเจดีย์ข้าวเปลือกและข้าวสานข้าว เป็นอาหารหลักที่มีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์และ มีค่าต่อการดำรงชีวิตวิถีของคนไทย ความอุดมสมบูรณ์ในประเทศไทย จนได้รับขนานนามว่า เป็นอู่ข้าวอู่น้ำมีผู้ใดได้มาอาศัยยังแผ่นดินไทย จะไม่อดอยาก และข้าวถือว่าเป็นสินค้าส่งออกหลักที่สำคัญของประเทศไทย เป็นที่รู้จักอย่างแพร่ หลาย โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ มีการจดสิทธิบัตรลิขสิทธิ์ขึ้นทะเบียน นับตั้งแต่สมัยอดีต จนถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่าคนไทยมีความผูกพันกับอาชีพการเกษตรโดยเฉพาะการปลูกข้าวมาตลอด จากการศึกษาทางพระพุทธศาสนาจะเห็นได้ว่า ต้นกำเนิดของศากยวงศ์มีอาชีพเกี่ยวกับการเกษตรคือปลูกข้าว ในประเทศไทยเราช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคมจะมีประเพณีหลวงคือ พิธีแรกนาขวัญ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำ ณ บริเวณท้องสนามหลวงของทุกปี ประเพณีนี้ได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน จากนั้นชาวบ้านจะมีการคัดเลือกพันธุ์ข้าวเพื่อนำมาปลูก

สถานที่ตั้ง
วัดหนองหลวง
ตำบล หนองหลวง อำเภอ อุ้มผาง จังหวัด ตาก
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
พระครูอาทรกิจวิธาน เจ้าอาวาสวัดหนองหลวง
บุคคลอ้างอิง พระครูอาทรกิจวิธาน เจ้าอาวาสวัดหนองหลวง
ชื่อที่ทำงาน วัดหนองหลวง
ตำบล หนองหลวง อำเภอ อุ้มผาง จังหวัด ตาก รหัสไปรษณีย์ 63170
โทรศัพท์ 093-2602986
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่