ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 37' 55.1813"
17.6319948
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 45' 8.1673"
103.7522687
เลขที่ : 195638
เผ่าไทโย้ย อำเภอวานรนิวาส
เสนอโดย สกลนคร วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565
อนุมัติโดย สกลนคร วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : สกลนคร
0 651
รายละเอียด

ประวัติเล่าว่ากลุ่มชาติพันธุ์โย้ยแต่เดิมตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ต่อมาได้ถูกเกลี้ยกล่อมและกวาดต้อนให้เข้ามายังฝั่งขวาแม่น้ำโขงในช่วงสงครามระหว่างเวียงจันท์กับกรุงเทพฯ อันเกิดจากกรณีของเจ้าอนุวงศ์หรือไชยราชาธิราชที่ 3 (พ.ศ.2369-70) เป็นเหตุ ซึ่งกลุ่มไทโย้ยที่อพยพเข้ามาในช่วงนั้นแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มแรก เป็นพวกไทโย้ยที่อพยพมาจากเมืองห้อมท้าวฮูเซ แล้วไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านม่วงริมห้วยยาม ต่อมาในพ.ศ.2380 จึงได้รับโปรดเกล้าฯ ยกขึ้นเป็นเมืองอากาศอำนวย ก่อนจะลดฐานะเป็นอำเภออากาศอำนวยในเวลาต่อมา กลุ่มที่สอง เป็นพวกไทโย้ยที่อพยพติดตามพระสุนทรราชวงศาไปอยู่เมืองยโสธร โดยได้ไปตั้งชุมชนอยู่ที่บ้านกุดลิงในท้องที่อำเภอเสลภูมิ (ติดเขตอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด) ภายหลังได้ย้ายครัวกลับมาใกล้กับที่ตั้งบ้านม่วงริมยามโดยยังใช้ชื่อบ้านเดิม ครั้นใน พ.ศ.2404 จึงได้รับโปรดเกล้าฯยกขึ้นเป็นเมืองวานรนิวาส กลุ่มที่สาม เป็นพวกไทโย้ยที่อพยพมาจากเมืองภูวาใกล้เมืองมหาชัยกองแก้ว ได้มาตั้งบ้านเรือนที่บ้านโพธิ์สว่างหาดยาวริมน้ำปลาหาง ครั้น พ.ศ.2405 ทรงโปรดเกล้าฯ ยกขึ้นเป็นเมืองสว่างแดนดิน ต่อมาได้ย้ายที่ตั้งเมืองอยู่หลายครั้งจนมาตั้งที่บ้านหัน (ตัวอำเภอสว่างแดนดินในปัจจุบัน) นอกจากนี้ยังมีชุมชนโย้ยขนาดเล็กที่กระจัดกระจายทั่วไปในพื้นที่อำเภออากาศอำนวย อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวานรนิวาส และอำเภอพังโคนวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไทโย้ยตั้งแต่อดีตนิยมตั้งใกล้กับแหล่งน้ำ โดยเฉพาะแหล่งน้ำไหล เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำศรีสงคราม แม่น้ำยาม แม่น้ำชี หรือลำห้วยต่างๆ เพื่อใช้เป็นแหล่งทำมาหากิน โดยเฉพาะการทำประมงและยังนับเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เพราะมีการสั่งสมทับถมของซากพืชซากสัตว์เหมาะแก่การทำนาแม้จะเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมในช่วงน้ำหลาก ส่วนที่อยู่อาศัยจะตั้งอยู่บนพื้นที่สูงหรืออยู่ใกล้กับแหล่งน้ำเพราะเป็นเรือนสูงสองชั้นจึงไม่เป็นปัญหาในการดำรงชีวิต อีกทั้งระดับน้ำของแม่น้ำยามในอดีตจะท่วมในช่วงสั้นๆ โดยชาวบ้านแถบนั้นได้ใช้ประโยชน์จากป่าบุ่งป่าทามทั้งในรูปของ อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค รวมทั้งรายได้ที่นำไปใช้จ่ายในการแสวงหาปัจจัยอื่น ๆ ดังนั้น คนโย้ยตั้งอดีตจนถึงปัจจุบันส่วนใหญ่จึงทำการเกษตร โดยมีอาชีพทำนาและประมงเป็นหลักประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ยังมีประชากรบางส่วนที่ยังนับถือผีมีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นสืบทอดและยึดมั่นจากรุ่นสู่รุ่นเรื่อยมา

หมวดหมู่
ชาติพันธุ์
สถานที่ตั้ง
อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
ตำบล วานรนิวาส อำเภอ วานรนิวาส จังหวัด สกลนคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
บุคคลอ้างอิง นางสาวปาริชาติ สุวรรณเวียง อีเมล์ suwanwieng19@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร
ตำบล วานรนิวาส อำเภอ วานรนิวาส จังหวัด สกลนคร
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่