ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 16' 53.6009"
19.2815558
ลองจิจูด (แวง) : E 97° 57' 27.8982"
97.9577495
เลขที่ : 195850
ข้าวส้ม
เสนอโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : แม่ฮ่องสอน
0 739
รายละเอียด

ชาวไทใหญ่เป็นชนชาติเก่าแก่ที่มีอารยะธรรมมาช้านาน แต่เดิมชาวไทใหญ่นิยมรับประทานข้าวเหนียว ไม่นิยมรับประทานข้าวจ้าว คล้ายกับชาวไตล้านนา แต่ตอนหลังหันมารับประทานข้าวจ้าว เพราะปลูกง่ายได้ผลผลิตมากกว่าและไม่สิ้นเปลือง สำหรับข้าวเหนียวนั้นในปัจจุบันจึงนิยมนำมาทำเป็นขนม วิธีการปรุงอาหารของชาวไตก็ไม่สลับซับซ้อน หากแต่ส่วนใหญ่จะเป็นจำพวกพืช ผัก ที่ปลูกเอง หรือหาได้ตามป่าตามเขา อาหารจึงมีประเภท ต้ม แกง ทอด อุ๊บ คั่ว ย่าง แอ๊บ (ห่อหมก) หลาม จี่ หมก ปิ้ง และยำต่างๆ ที่มีคำเรียกต่างกันตามวัสดุและเครื่องปรุงที่ใช้ เช่น สะนาบ โก้ ส้า สำหรับเครื่องปรุงก็จะประกอบไปด้วยเครื่องปรุงทั่วไป เช่น พริก เกลือ หัวหอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ ฯลฯ และที่ขาดไม่ได้ คือถั่วเน่า (ถั่วเหลืองแผ่น)ซึ่งใช้แทนกะปิ อาหารแบบง่ายๆที่สุดคือ น้ำพริกซึ่งปรุงด้วย พริก เกลือ ถั่วเน่า โขลกรวมกัน รับประทานแบบแห้งหรือใส่น้ำขลุกขลิก จิ้มด้วยผักสดนานาชนิด

ปัจจุบัน อาหารไทใหญ่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมรับประทานอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเมนูอาหารแต่ละชนิดส่วนใหญ่ปรุงจากพืชผักที่เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน มีคุณค่าในทางยา จัดอยู่ในจำพวกอาหารยา ซึ่งมีผลดีต่อสุขภาพสำหรับผู้บริโภค ทั้งยังสดสะอาดปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้อีกด้วย

เมนูข้าวส้มจึงเป็นหนึ่งในอาหารของชาวไทใหญ่ที่มีมาช้านานสืบทอดกันรุ่นสู่รุ่น กล่าวถึงความหมายของคำว่า ข้าวส้ม สามารถอธิบายได้ดังนี้ คือ ข้าวที่มีรสชาติเปรี้ยวกล่าวคือ มีรสชาติเปรียวที่มาจากมะเขือเทศ และมีสีของขาวที่เป็นสีออกสีส้ม

ลักษณะเด่นที่เป็นอัตลักษณ์ของข้อมูล

“ข้าวส้ม” ของชาวไทใหญ่นั้นคือ การหุงข้าวเจ้าให้สุกแล้วนำไปคลุกกับมะเขือเทศลูกเล็กๆ ที่เรียกว่ามะเขือส้ม เพราะมีรสเปรี้ยวกว่ามะเขือเทศพันธุ์อื่นๆ โดยใช้รสเปรี้ยวหวานธรรมชาติจากมะเขือเทศ หรือ สามารถที่จะเพิ่มโปรตีนด้วยการใส่เนื้อปลาแม่น้ำลงไปคลุกให้เข้ากัน หรือจะใส่มันฝรั่งต้มสุกแล้วบดลงไปด้วยกันก็ได้ แล้วปั้นเป็นลูก

ส่วนประกอบ และเครื่องปรุง

1)ข้าวเจ้า 2 ลิตร

2)น้ำมะขามเปียก 2 ช้อนโต๊ะ

3)มะเขือเทศ 0.5 กิโลกรัม

4)ผงขมิ้น 1 ช้อนโต๊ะ

5)น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ

6)เกลือป่น 3 ช้อนโต๊ะ

7)ผงชูรส 1 ช้อนชา

8)น้ำมัน 0.5 ขวด

9)พริกแห้งคั่ว 1 ขีด

10)กระเทียม 3 ขีด

วิธีการทำ

1) หุงข้าวสวยพอดี ตักใส่กะละมังคลายร้อน

2) หั่นมะเขือเทศใส่หม้อ ตั้งไฟเคี่ยวให้เปื่อยใส่น้ำมะขามเปียก ผงขมิ้น เกลือแกง เม็ด 1 ช้อนชา น้ำตาลทราย ผงชูรส ( ทิ้งไว้ให้เย็น )

3) ราดน้ำมะเขือเทศ เครื่องปรุงลงบนข้าว และคลุกเคล้าให้จนเป็นเนื้อเดียวกัน ชิม ปรุงรสด้วยเกลือป่น แล้วปั้นเป็นก้อนกลมๆ ผสมแล้วแต้มด้วยกระเทียมเจียว ตามเหมาะสม

หมายเหตุ รับประทานกับยำผัก ( ถั่วฝักยาวโก้ ถั่วแปบได้ ถั่วพูได้ หมากลางได้ หัวปลีได้ ผักเฮือดได้ ยอดมะม่วงได้)


อ้างอิงจาก

- นาง ราศี จันทราประสิทธิ

- รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. โครงการนำร่องการพัฒนาฐานข้อมูลสำหรับการสร้างเมือง มรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน : ๒๕๕๐

- ประเสริฐ ประดิษฐ์ . สืบสานตำนานไต. สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน

: ๒๕๔๒

- ชุมชนป๊อกกาดเก่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สูตรอาหารและขนมไต: ๒๕๕๐

สถานที่ตั้ง
ร้านขายอาหารไทยใหญ่ป้าแต้ง
เลขที่ ๕๒ หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
ตำบล จองคำ อำเภอ เมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัด แม่ฮ่องสอน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางราศี จันทราประสิทธิ อีเมล์ culturestrategy.mhs1@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน - อีเมล์ culturestrategy.mhs1@gmail.com
เลขที่ ๕๒ หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
อำเภอ เมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัด แม่ฮ่องสอน รหัสไปรษณีย์ 58000
โทรศัพท์ ๐๘๒ – ๓๘๙๒๗๖๒ โทรสาร -
เว็บไซต์ -
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่