1. ชื่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอภักดีชุมพล
๒. ชื่อหลักผ้าทอมือลายดอกมะขาม
3. ประวัติความเป็นมา เรื่องราวบนลายผ้า
อำเภอภักดีชุมพล เดิมทีขึ้นกับอำเภอหนองบัวแดง เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้แยกออกเป็นอำเภอภักดีชุมพล โดยได้รับอนุญาติชื่อของ “พระยาภักดีชุมพล” (ชื่อจ้าพ่อพระยาแล) มาตั้งชื่ออำเภอ โดยเชื่อว่าดินแดนแห่งนี้เคยเป็นแหล่งทองคำที่พระยาภักดีชุมพลมาขุดทองเพื่อนำไปเป็นเครื่องบรรณาการให้กับพระเจ้าอยู่หัว อำเภอภักดีชุมพล ประกอบด้วย ๔ ตำบล ดังนี้ ๑ ตำบลบ้านเจียง ๒.ตำบลแหลมทอง ๓.ตำบลเจาทอง ๔.ตำบลวังทอง ซึ่งทั้งที่ตำบลนี้มีวัฒนธรรมประเพณี ค่อนข้างแตกต่างกันออกไปเพราะพื้นฐานที่มาของแต่ละตำบลมาจากหลากหลายที่ เพราะอำเภอภักดีชุมพลเป็นเมืองรอยต่อสามภาค คือ “ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอิสาน ภาษที่พูดจะมี ภาษาโคราช, ภาษาลาวชัยภูมิ,ภาษากลาง,ภาษาเหนือ วัฒนธรรมประเพณีด้านการแต่งกายจึงหลากหลายไม่มีอัตลักษณ์คงที่ของอำเภอ ดังนั้นอำเภอภักดีชุมพลทุกภาคส่วนโดยการนำของท่านนายอำเภอ นายธงชัย ขิมมากทอง ได้หารือและกำหนด อัตลักษณ์การแต่งกายขึ้นโดยมีมติว่า เอาจุดเด่นของอำเภอภักดีชุมพล ขึ้นมากำหนดเป็นอัตลักษณ์การแต่งกาย คือ นำเอาพืชเศรษฐกิจที่เด่นที่สุด คือ “มะขามหวาน” มาทำเป็นชุดอัตลักษณ์ของคนอำเภอภักดีชุมพลของเราเองเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในอำเภอของเรา ดังนี้
สุภาพสตรี
ผ้าฝ้ายชุดไทยเรือนต้นประยุกต์สีเปลือกมะขามสุก ตกแต่งรางกระดุมด้วยดอกมะขาม แขนเสื้อยาว ๕ ส่วน ผ้าถุงมัดหมี่ลายดอกมะขาม
สุภาพบุรุษ
เป็นเสื้อคอจีนตั้งแขนยาว ตกแต่งรางกระดุมด้วยดอกมะขาม
๔. ความโดดเด่น/อัตลักษณ์เฉพาะ
เป็นชุดผ้าฝ้ายมัดหมี่ลวดลายดอกมะขาม เสื้อปักลายดอกมะขามแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งผลิตมะขามหวานที่มีคุณภาพของจังหวัดชัยภูมิ
๕. พื้นที่ปฏิบัติ/แสดงอำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ
๖. ความสัมพันธ์กับชุมชน
ชาวอำเภอภักดีชุมพล ได้มีชุดอัตลักษณ์ของตนเองเกิดความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของตนเอง วิถีชีวิตพืชเศรษฐกิจที่โดดเด่น ได้ถ่ายทอดลงในผืนผ้าให้เกิดความภาคภูมิใจ สร้างงาน สร้างรายได้ ชุมชนมีชีวิตที่ดีงาม
๗. ผู้ถือปฏิบัติและผู้สืบทอด
๗.๑ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอภักดีชุมพล
๘. หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่ร่วมจัดกิจกรรม
๘.๑ ที่ทำการปกครองอำเภอภักดีชุมพล
๘.๒ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอภักดีชุมพล
๘.๓ วัฒนธรรมอำเภอภักดีชุมพล
๘.๔ กศน.อำเภอภักดีชุมพล
๘.๓ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอภักดีชุมพล
๙. จำนวนนักท่องเที่ยว/ผู้มาร่วมงานปีละประมาณ ๔,๐๐๐ คน