ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 29' 18.9463"
16.4885962
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 42' 31.8121"
99.7088367
เลขที่ : 195991
กลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล
เสนอโดย กำแพงเพชร วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565
อนุมัติโดย กำแพงเพชร วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : กำแพงเพชร
1 484
รายละเอียด

กลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล

หมู่ที่ ๘ ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ประธานกลุ่มนางประสิน เชื้อนนท์ เบอร์โทรศัพท์ ๐๙๗๓๕๒๑๕๓๕

ที่ตั้งที่ทำการกลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล หมู่ที่ ๘ ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง

จังหวัดกำแพงเพชร รหัสไปรษณีย์ ๖๒๐๐๐

ความเป็นมาของกลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล

กลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล เกิดจากการรวมกลุ่มเพื่อก่อตั้ง เมื่อปี ๒๕๓๔ มีสมาชิกเริ่มก่อตั้ง จำนวน ๓๖ คน โดยแรกตั้งมีการระดมเงินออกจากสมาชิกจำนวน ๓,๖๐๐ บาท ปัจจุบัน กลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล ได้เปิดบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขากำแพงเพชร ชื่อบัญชี “กลุ่มทอผ้ามัดหมี่บ้านใหม่ศรีอุบล “ เลขบัญชี ๐๑๐๓๖๒๖๕๘๗๗๗ ณ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๓ มีเงินทุนฝากบัญชี ๑๐,๖๓๗.๗๘ บาท มีสมาชิกทั้งสิ้นจำนวน ๒๐ ราย

วัตถุประสงค์

การดำเนินงานกลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. เพื่อ่ส่งเสริมให้สมาชิก มีการรวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ และก่อให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง
  2. เพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถ ในด้านการผลิต การตลาด และการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก้าวไปสุ้ผู้ประกอบการชุมชน
  3. เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการช่วยเหลือเอื้ออาทรต่อกัน ความร่วมมือร่วมใจการเป็นหนึ่งเดี่ยว

ประโยชน์ของการจัดตั้งกลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล

การจัดตั้งกลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล ก่อให้เกิดประโยชน์ในหลายด้าน ทั้งต่อสมาชิก และชุมชนในหลายประการ ได้แก่

  1. ทำให้สมาชิกแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีการพัฒนาการเรียนรู้อยู่สม่ำเสมอ
  2. ทำให้กระจายรายได้ในหมู่บ้าน และเป็นการช่วยเหลืออาชีพเสริมในครอบครัวอีกทางหนึ่ง
  3. ทำให้สมาชิกรู้จักการรับผิดชอบ และรู้จักการททำงานเป็นทีม การบริหารจัดการกลุ่มฯ
  4. ทำให้สมาชิกมีความสามัคคี ช่วยเหลือกันและกัน
  5. ทำให้หมู่บ้านมีการอนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาให้รุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้
  6. ทำให้สมาชิกและหมู่บ้านมีศูนย์กลางในการรวบรวมผลผลิตของสมาชิกอีกทั้งมีการใช้อำนาจในการต่อรองราคา

การดำเนินงานในกลุ่มทอผ้าใหม่บ่านใหม่ศรีอุบล ยึดหลัก

  1. สมาชิกทุกคนมีสิทธิ ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
  2. สมาชิกได้รับสิทธิ และมีหน้าที่เท่าเทียมกัน
  3. สมาชิกมีการพัฒนาตนเอง ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความไว้วางใจ และความเห็นอกเห็นใจกัน

การบริหารงานและการจัดการกลุ่มฯ

กลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล เกิดจากการรวมตัวของคนในชุมชนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน คือ “การทอผ้า” ซึ่งเป็นภูมิปัญญาสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ การบริหารจัดการถือเป็นหัวใจสำคัญในการดดำเนินงานของกลุ่ม และประสบความสำเร็จ โดยใช้หลักการดำเนินงาน ดังนี้

  1. การบริหารการจัดการกลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล ยึดหลัก ๕ ก.คือ
  2. กลุ่มสมาชิก ที่ตั้งของกลุ่ม มีสถานที่ทำการกลุ่มที่เป็นศูนย์กลาง

การดำเนินงานของกลุ่ม สมาชิกสามารถเดินทางไปมาสะดวก

  • สมาชิกกลุ่มมีความสามัคคี และให้ความร่วมมือกับกลุ่มเป็นอย่างดีโดยการส่งเสริมให้สมาชิกยึดหลักคุณธรรม ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความเห็นอกเห็นใจ และความไว้วางใจกัน
  • กรรมการ กรรมการมีความโปร่งใส ซื้อสัตย์ ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นประสงค์
  • กิจกรรม กลุ่มฯ มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น มีการประชุม มีการร่วมมือพัฒนากระบวนการผลิตร่วมกัน
  • กฎ กติกา กลุ่มฯ มีกฏกติกาที่ดีมีความเป็นธรรมกับสมาชิกทุกคน และสมารถตรวจสอบได้ ให้เกิดเป็นรูปธรรม และสมาชิกให้ความร่วมมือการปฏิบัติตาม
  • กองทุน. กลุ่มฯ มีหองทุนไว้จ่ายบริหารจัดการ และมีการจัดสรรอย่างเป็นธรรม
  • การบริหารจัดการ โดยใช้หลักธรรมาภิบาล ดังนี้
  • หลักนิติธรรม. กลุ่มมีการบริหารงานจัดการตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ของกลุ่มฯ อย่างเคร่งครัด
  • หลักคุณธรรม การบิหารต้องมีความเป็นธรรมกับสมาชิกทุกคนโดยเท่าเทียมกัน
  • หลักความโปร่งใส การบริหารงานจัดการมีความโปร่งใส สมาขิกสามารถตรวจสอบได้
  • หลักการมีส่วนร่วม. การบริหารจัดการโดยให้สมาชิกมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
  • หลักความรับผิดชอบ คณะกรรมการกลุ่ม และสมาชิก ทุกคนต้องมีความรับผิดชอบในการกระทำร่วมกันในการบริหารจัดการกลุ่ม ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
  • หลักความคุ้มค่า การบริหารจัดการ ต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกันอย่างประหยัด และให้เกิดประโยชน์สูงสุด

คณะกรรมการกลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล

กลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล มีการจัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของสมาชิก มีการบริหารงานโดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มทอผ้าใหม่บ้านใหม่ศรีอุบล โดยแต่งตั้งคณะกรรมการทั้งสิ้น ๖ คน ดังนี้

  1. นางประสิน. เชื้อนนท์. ตำแหน่ง. ประธาน
  2. นางทองพูน. ธนูชัย. ตำแหน่ง. รองประธาน
  3. นางอุไร. สิงขัน. ตำแหน่ง. เลขานุการ
  4. นางจำเนียร คุณสุทธิ์. ตำแหน่ง. เหรัญญิก
  5. นางสมดี. สารราษฎร์. ตำแหน่ง. ปฏิคม
  6. นางดวงพร. ธนูชัย. ตำแหน่ง. ประชาสัมพันธ์

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ

  1. ประธาน มีหน้าที่ ประชุมกำหนดเรื่องที่จะเข้าประชุม กำหนดแผนการประชุมเพื่อให้ได้มติ นโยบาย แผนงาน วิธีการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ ข่าวสารปาสู่สมาชิก ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติตามมติที่ประชุม
  2. รองประธาน มีหน้าที่ติดต่อประสานงาน และร่วมกับประธานในการปฏิบัติงานต่าง ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นใดที่ประธาน หรือที่ประชุมมอบหมาย
  3. เลขานุการ. มีหน้าที่ รวบรวมเรื่องราวต่าง. ๆ ให้ประธานกรรมการเพื่อพิจารณาหรือสั่งการให้นำเข้าที่ประชุม จัดทำรายงานการประชุมและจดบันทึกต่าง ๆ ในการดำเนินงานของคณะกรรมการ ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการและสมาชิก
  4. เหรัญญิก มีหน้าที่ จัดทำทะเบียนต่าง ๆ หลักฐานการรับ - จ่ายเงินของกลุ่ม ดำเนินการติดตาม และควบคุมเกี่ยวกับการเงินและบัญชีของกลุ่ม รับผิดชอบเก็บรักษาเงินของกลุ่ม
  5. ปฏิคม มีหน้าที่ เกี่ยวข้องกับการต้อนรับ การประสานงาน การอำนวยความสะดวก การปฏิบัติตามคำร้องขอ และการช่วยเหลือตามความเหมาะสม
  6. ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ ติดต่อประสานงาน และเผยแพร่เรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งที่ประชุมได้มีมติไว้แล้ว เสริมสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่างคณะกรรมการ หรือ สมาชิกด้วยกันกับหน่วยงานรัฐ หรือเอกชนที่กี่ยวข้อง

มีกิจกรรมกลุ่มอย่างต่อเนื่อง

มีแผนการทำงานที่ชัดเจนเป็นลายลักษณะอักษรและนำไปปฏิบัติ

กลุ่มทอผ้าบ้านไหมศรีอุบล มีการกำหนดเป้าหมายและแผนงานในการบริหารงาน ซึ่งปัจจุบันสมาชิกได้มีการพัฒนากระบวนการทอผ้ารวดลายใหม่ ๆ ให้มีความแตกต่าง และเป็นทางเลือกใหม่ให้กับลูกค้า อีกทั้งได้มีการริเริ่มการทอผ้าฝ้ายสีย้อมธรรมชาติหมักศิราแลง ซึ่งขณะนี้กลุ่มได้มีการพัฒนาอยู่ ซึ่งถ้ากลุ่มสมารถผลิตได้สำเร็จและมีคุณภาพตามที่ตั้งมาตรฐานไว้ จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับกลุ่ม และสามารถสร้างรายได้ ให้กลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล มีการบริหารการจัดการที่ดี ตามหลักธรรมมาภิบาล ปัจจุบันได้กำหนดแผนการดำเนินงาน ดังนี้

แผนการพัฒนาและแนวทางการบริหารจัดการกลุ่มทอผ้าใหม่บ้านศรีอุบล

  1. ส่งเริมพัฒนากระบวนการการเรียนรู้ของสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ
  2. ส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างและรวดลายใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น
  3. ส่งเสริมให้สมาชิกได้มีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ก่อนนำไปจำหน่ายเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี ได้รับการยอมรับ
  4. ส่งเสริมให้สมาชิกนำผลิตภัณฑ์ไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และสร้างรายได้ให้สมาชิกเพิ่มขึ้น
  5. ส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับลูกหลาน และคนรุ่นหลังเพื่อจะได้สืบทอดผ้าถิ่นไม่ให้สูญหาย
  6. ส่งเสริมให้สมาชิกคัดเลือกวัตถุดิบ และคำนึกถึงความปลอดภัยและกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การท้อผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ
  7. ส่งเสริมให้สมาชิกนำเทคโนโลยี/องค์ความรู้ใหม่ๆมาใช้ในการตลาด เช่น การขายผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติทางตลอดออนไลน์
  8. ส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มฯ ดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  9. ส่งเสริมและผลักดันกลุ่มทอผ้าบ่านใหม่ศรีอุบลเป็นศูนย์เรียนรู้ของคนในหมู่บ้านและตำบลใกล้เคียง ตลอดจนคนที่ในใจจะเรียนเรื่องการทอผ้า
  10. วางแผนส่งเสริมการจัดสวัสดิการให้สมาชิกในกลุ่มฯ

การดำเนินงานของกลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล และการแบ่งปันผลประโยชน์

ปัจจุบันกลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล มีทุนหมุนเวียนทั้งสิ้นจำนวน ๑๐,๖๓๗.๗๘ บาท ซึ้งประกอบด้วยเงินจากการบริหารจัดการกลุ่มปีที่ผ่านมา โดยกลุ่มฯได้เริ่มดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ โดยปัจจุบันมีสามาชิกจำนวน ๒๐ คน กลุ่มได้มีการบริหารจัดการ ดังนี้

๑.กลุ่มมีผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้า(ด้ายประดิษฐ์)ราคาปลีก ๑๖๐ บาท ต่อผืน ราคาขายส่ง ๑๔๐ บาท ต่อผืน เมื่อสมาชิกขายได้ ส่งคืนกลุ่มเป็นค่าด้าย ๙๐ บาท และหักเข้ากลุ่ม ๒๐ บาท โดยได้ใช้เวลาว่างจากการทำอาชีพหลัก คือ ทำนา ทำไร่ ทำสวนมะนาว

๒.กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ ราคาขายเมตรละ ๒๕๐ บาท ราคาขายส่งเมตร ๒๓๐ บาท เมื่อขายได้สามาชิกส่งคืนกลุ่มเป็นค่าด้าย ๑๕๐ บาท และหักเข้ากลุ่ม ๒๐ บาท ที่เหลือเป็นค่าแรง ๘๐ บาท

๓. กลุ่มมีผลิตภัณฑ์ที่ต่อยอด คือ การแปรรูปผ้า ผ่าพันคอ ผ้าถุง เสื้อ กางเกง หน้ากาก ผ้าย้อมสีธรรมชาติ เป็นต้น

การจัดสรรผลประโยชน์ของกลุ่ม

โดยเมื่อสมาชิกได้นำเงินเข้ากลุ่มจะนำมาบริหารจัดการ ดังนี้

๑.ทุนสำรองกลุ่ม อัตราร้อยละ ๕๐

๒.เงินปันผล อัตราร้อยละ ๕๐

การส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล

กิจกรรมของกลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล มีวัตถุประสงค์เพิ่มพูนทักษะแก่สามชิกมุ่งหวังให้สมาชิกเกิดความชำนาญสูงสุด ซึ่งปัจจุบันกลุ่มดำเนินกิจกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้ให้วามรู้ในการออกแบบลวดลายผ้าใหม่ๆ ให้กับสมาชิก และให้ความรู้ในเรื่องของกระบวนการย้อมสีธรรมชาติโดยการหมักศิลาแลง ซึ้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะพัฒนาให้สำเร็จและผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่มฯ ต่อไปในอนาคต

ปัจจุบันกลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล ได้มีเฟสบุ๊ค และการขายออนไลน์ซึ่งประธานกลุ่มทอผ้า

และสมาชิกได้ไปเข้ารับการฝึกอบรมนักขายออนไลน์ ที่จังหวัดลำปาง ส่งผลให้กลุ่มมีลูกค้ากลุ่มให

และสามารถขยายดลาดได้อีกทางหนึ่ง

กฎ ระเบียบกติกา ของกลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล

ระเบียบข้อบังคับ ที่เป็นลายลักษณ์กษเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วงสมาชิกและคณะกรรมการ ซึ่งได้ช่วยกันร่างขึ้นมา และกลุ่มฯ มีกฎกติกาที่ดี มีความเป็นธรรมกับสมาชิกทุกคน และสามารถตรวจสอบได้ให้เกิดเป็นรูปธรรม และสมาชิกทุกคนยินดีปฎิบัติตาม

การติดตาม และตรวจสอบการดำเนินงาน

ได้แต่งตั้งตัวแทนในการตรวจสอบติดตามผล และคณะกรรมการได้ซี้แจงผลการดำเนินงานพร้อมตอบข้อสงสัยต่างๆ ในการประชุมประจำกลุ่มซึ่งจัดปีละ ๒ ครั้ง

-ปัจจุบันกลุ่มมีสมาชิก ๒๐คน สมาชิก ๑ คน ทอผ้าขาวผ้าได้ประมาณ ๑๕ ผืน/คน/เดือน

- สมาชิก ๑ คน ทอผ้าขาวผ้าย้อมสีธรรมชาติได้ประมาณ ๒๐ เมตร/คน/เดือน

- สมาชิกมีรายได้ต่อเดือนถั่วเฉลี่ยคนละ ๒,๐๐๐- ๒.๕๐๐ บาท ต่อเดือนซึ่งเป็นรายได้เสริมหลังจากว่างงาน โดยการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ และกระจายรายได้ให้กับหมู่บ้านอีกทางหนึ่ง

การต่อยอดของผลิตภัณฑ์ และการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์

กลุ่มส่งเสริมให้นำผ้าทอผ้าขาวม้า และผ้าย้อมสีธรรมชาติ ไปตัดจำหน่าย เป็นเสื้อแขนสั้นและแขนยาว หลายๆ แบบ และนำไปจำหน่ายที่ทำการกลุ่มฯ และตลาดทั่วไปที่ได้ไปออกร้านจำหน่ายและได้ต่อยอดเรื่องการออกแบบลวดลายผ้าให้มีลายใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า และการทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติหมักศิลาแลง

การส่งเสริมช่องทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์

สถานที่ทำงานกลุ่ม

กลุ่มทอผ้าบ้านใหม่สีอุบลมีที่ทำการกลุ่ม เป็นศูนย์กลางในการทำงานร่วมกัน


ช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์

ปัจจุบันกลุ่มฯได้มีเว็บไชต์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทางออนไลน์ เฟชบุ๊ค และได้จำหน่ายโดยการออกบูทจำหน่ายตามงานแสดงของหน่วยงานราชการ งานแสดงสินค้าภาคเอกชน

การเชื่อมโยบกลุ่ม และหน่วยงานภาคี ดังนี้

๑) กรมการพัฒนาชุมชนได้สนับสนุนในเรื่องของการจัดตั้งกลุ่ม และสนับสนุนกี่ทอผ้า จำนวน ๒๕ หลัง รวมถึงองค์ความรู้เรื่องกระบวนการบริหารจัดการกลุ่มฯ และส่งเสริมการขึ้นทะเบียน OTOP การออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์

๒) นิคมทุ่งโพธิ์ทะเล ได้สนับสนุนกี่ทอผ้า จำนวน ๕หลัง และได้ส่งเสริมการไปออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์

๓)สำนักงานเกษตร ได้ส่งเสริมให้จดวิสาหกิจชุมชน เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ

๔)เทศบาลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเลสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มในด้านต่าง ๆ และการออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มฯ

๕)มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชรได้ส่งเสริมให้ความรู้ในเรื่องของการออกแบบลวดลายผ้าใหม่ ๆ และการย้อมผ้าหมักศิลาแลง

สถานที่ตั้ง
กลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ศรีอุบล
เลขที่ ๒๐๐ หมู่ที่/หมู่บ้านซอย - ถนน -
ตำบล นิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอ เมืองกำแพงเพชร จังหวัด กำแพงเพชร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชุมชนคุณธรรมบ้านใหม่ศรีอุบล
บุคคลอ้างอิง นางสาวปฐมาภรณ์ จริยวิทยานนท์ อีเมล์ kainui106@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน นางประสิน เชื้อนนท์ อีเมล์ kainui106@hotmail.com
เลขที่ ๒๐๐ หมู่ที่/หมู่บ้านซอย - ถนน -
ตำบล นิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอ เมืองกำแพงเพชร จังหวัด กำแพงเพชร รหัสไปรษณีย์ 62000
โทรศัพท์ ๐๙๗๓๕๒๑๕๓๕ โทรสาร -
เว็บไซต์ -
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่