ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 11' 43.0055"
15.1952793
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 50' 56.1754"
100.8489376
เลขที่ : 196070
ถ้ำน้ำหยด วัดชัยมงคลวนาราม
เสนอโดย ลพบุรี วันที่ 3 มีนาคม 2565
อนุมัติโดย ลพบุรี วันที่ 3 มีนาคม 2565
จังหวัด : ลพบุรี
0 287
รายละเอียด

ชื่อสถานที่ถ้ำน้ำหยด วัดชัยมงคลวนาราม

สถานที่ตั้งเลขที่ ๑ หมู่ที่ ๓ ตำบลนิยมชัย อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี ๑๕๒๑๐

จดทะเบียน (ปี พ.ศ.) ในกรณีที่เป็นสถานที่ เช่น วัด มัสยิด โบสถ์ หรือสถานที่ประกอบพิธีต่างศาสนา เป็นต้น
ประกาศตั้งวัด เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐ ประเภทวัดราษฎร์ สังกัด มหานิกาย

ประวัติความเป็นมา
วัดชัยมงคลวนาราม อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสระโบสถ์ ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร มีเนื้อที่ ๒๐ ไร่ ๓๐ ตารางวา เป็นที่ดิน สปก. ๑๓๘/๒๕๕๙ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประกาศตั้งวัดขึ้น ในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐

ความเป็นมาของถ้ำน้ำหยด
ถ้ำน้ำหยด นั้น ถูกค้นพบเมื่อประมาณ ปี ๒๕๕๑ ห่างจากวัด ๖ กิโลเมตร อยู่ทางด้านทิศเหนือของวัด เป็นเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ความสูงจากพื้นดินประมาณ ๒๐๐ เมตร ขนาดของถ้ำประมาณ กว้าง ๕๐ เมตร ยาว ๗๐ เมตร โดยด้านบนของถ้ำจะปล่องโดยความสูงจากพื้นถ้ำประมาณ ๑๐๐ เมตร ในฤดูฝนจะมีน้ำตกไหลลงมาทางปล่องถ้ำในปริมาณมาก ทำให้เกิดแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ถ้ำแห่งนี้ถูกค้นพบโดยท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เนื่องจากมีนาคราชองค์ดำได้เข้ามาในนิมิต มาบอกท่านว่ามีถ้ำ แล้วท่านเจ้าอาวาสก็นำพาชาวบ้านไปค้นหาถ้ำตามนิมิตจนเจอเจอ บนถ้ำนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นเมืองบาดาล มีนาคราช อาศัยอยู่ และเป็นเมืองลับแล มีผู้คนขึ้นไปกราบไหว้ขอพรและส่วนมากก็สำเร็จตามสิ่งที่ตนเองปรารถนา และในถ้ำนั้นจะมีน้ำหยดออกจาก ผนังถ้ำตลอดทั้งปี เชื่อกันว่าเป็นน้ำทิพย์ที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในถ้ำท่านประทานให้ ดื่มแล้วช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และเป็นสิริมงคลแก่ผู้ดื่ม จึงน้ำมาตั้งเป็นชื่อว่า “ถ้ำน้ำหยด” ปัจจุบันใช้เป็นที่ถือศีลปฏิบัติธรรมในวันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา ซึ่งจะมีประชาชนมาเข้าร่วมกิจกรรมโดยเฉลี่ย ปีละประมาณ ๕๐๐ คน เป็นประจำทุกปี

ตำนานที่เกี่ยวข้อง/ความเชื่อ (ถ้ามี)
เป็นเมืองบาดาล ที่อยู่อาศัยของนาคราช และเมืองลับแล ลักษณะ/เอกลักษณ์โดดเด่นของสถานที่ คือ ถ้ำมีทางขึ้นไปไม่ลาดชันมากนัก ปากถ้ำกว้าง มีน้ำย้อยตามหินที่ย้อยลงมา ใสสะอาดสามารถดื่มได้ เคยใช้ทำน้ำมนต์รักษาคนป่วย พื้นถ้ำเสมอเหมือนพื้นศาลาและมีหินส่วนที่สูงกว่าพื้นศาลา ๖๐ ซม. พนังด้านบนของถ้ำทางด้านทิศตะวันตก จะต่ำกว่าทางด้านทิศตะวันออก ทางด้านทิศตะวันออกหินจะเหลื่อมมาทางด้านทิศตะวันตก ห่างกันประมาณ ๒ เมตร ในช่วงบ่ายจะมีแสงอาทิตย์ส่องลงไปในถ้ำ และที่โดดเด่นอีกเรื่องนึง คือ เหมือนมีเป็นหลังคาให้น้ำไหลลงไปในถ้ำทางด้านทิศเหนือ จึงได้ทำภาชนะรอบรับไว้เป็นน้ำใช้ในกิจกรรมที่ทางวัดจัดขึ้น
ความหมาย
เป็นสถานที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของประชาชนในอำเภอสระโบสถ์ และเป็นศูนย์กลาง ในการจัดกิจกรรมต่างๆขององค์กรทุกภาคส่วน
ความสำคัญเป็นสถานที่ใช้สักการะบูชาขอพร สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม เจริญกรรมฐาน และจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ
กลุ่มคนที่ใช้ประชาชนทั่วไป และพุทธศาสนิกชนในอำเภอสระโบสถ์
จำนวนผู้ที่อาศัยมีพระภิกษุ-สามเณร ประมาณ ๘ รูป
ชื่อผู้ดูแล (เจ้าอาวาส)พระครูปลัดปรีชา ถิรปุญฺโญ เจ้าอาวาสวัดชัยมงคลวนาราม เจ้าคณะตำบลนิยมชัย เขต ๓
อื่น ๆวัดชัยมงคลวนาราม ได้ดำเนินกิจกรรมสำคัญเป็นบรรทัดฐานมาโดยตลอด ในเรื่องของการปฏิบัติธรรมเป็นหลักสำคัญ และมีกิจกรรมอื่นประกอบในช่วงงานประเพณีประจำของชาวพุทธศาสนิกชน และเสริมด้วยกิจกรรม สวดมนต์ข้ามปีบนถ้ำน้ำหยด เพื่อที่จะได้จรรโลงพัฒนาจิตใจและเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคม ให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดชัยมงคลวนาราม
เลขที่ 1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
จังหวัด ลพบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางสายจิตต์ พรหมม่า
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี อีเมล์ lopburiculture@gmail.com
จังหวัด ลพบุรี รหัสไปรษณีย์ 15000
โทรศัพท์ 036 0414258 โทรสาร 036 0414257
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/lopburi
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่