อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดเชียงราย
มีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นทั้งที่ราบลุ่มมีแม่น้ำงาวไหลผ่าน และเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ของดอยยาวและดอยผาหม่น มีชายแดนติดต่อกับประเทศลาวและมีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญ ได้แก่ เมืองโบราณสถานดงเวียงแก่น แก่งผาได และดอยผาตั้ง อำเภอเวียงแก่นเป็นอำเภอที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหลากกลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้มีประชากรมีวิถีชีวิตเฉพาะแบบพหุวัฒนธรรม นอกจากนี้อำเภอเวียงแก่นยังเป็นแหล่งผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ส้มโอ ซึ่งมีชื่อเสียงทั้งในระดับจังหวัดและประเทศ อำเภอเวียงแก่น เป็นอำเภอที่มีน้ำงาวเป็นแม่น้ำหล่อเลี้ยงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร จับสัตว์หาปลาสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและชาวบ้านที่มีชุมชนติดน้ำโขง วิถีชีวิตและพิธีกรรมมักจะผูกพันกับแม่น้ำงาวตามวิถีคนลุ่มน้ำโขง
จะเห็นว่าประชาชนในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำงาวอย่างไม่มีขีดจำกัด ในฐานะที่เรา
เป็นผู้ได้ประโยชน์ จึงแสดงความกตัญญูและรู้คุณค่าของแม่น้ำงาว โดยจัดพิธีบวงสรวงสักการะและสืบชะตาเพื่อแสดงถึงความผูกพันที่มีต่อแม่น้ำงาว
เครื่องสืบชะตาหลวง และชะตาคน( แต่ละที่อาจไม่เหมือนกัน)ประกอบด้วย
๑.ไม้ก้ำสลี(ไม้ค้ำต้นโพธ์)เป็นง่าม จำนวน 3-4 ต้น
๒.ขัว(สะพาน) ทําด้วยไม้รวก หรือไม้อื่นก็ได้ ๑ คู่ ลงลายเงินลายทอง คือพันด้วยกระดาษเงิน กระดาษ ทอง หัวท้าย ให้ตะปูตีประกบคู่ติดกัน
๓.บันไดเงิน บันไดทอง ๙ ซี่ ก้านด้วยลายเงินลายทองโดยใช้ก้านกล้วย แล้วใช้ไม้ตอกเป็นบันได
๔.ไม้ก้ำสลี(เสาเล็ก) น้อย ยาว ๑ ศอก ๙ นิ้ว หรือ ๙ ซ.ม. จำนวน ๑๐๘ เสา
๕.กระบอกน้ำ กระบอกทราย ติดกันด้านหนึ่งใส่น้ำ ด้านหนึ่งใส่ทรายมีขอไม้อยู่ตรงกลางมัดติดกัน
จำนวน ๑๐๖ กระบอก
๖.บุหรี่แพ ๑๐๙ มวน
๗.หมากพลูแพ ๑๐๙ อม
๘.เมี่ยงแพ ๑๐๙ อม
๙.ดอกตะล่อม(บานไม้รูโรย) ๑๐๙ ดอก
๑๐.ข้าวตอกแพ ๑๐๙ เม็ด
๑๑.เทียนหางหนู ๑๐๙ เล่ม แยกเป็นจุม (ชุด) ๙ เล่ม หรือแยกเป็นหมู่ ๙ เล่ม แล้วปักลงใน ถาดทราย ให้จุดในขณะพระสวดมนต์สืบชะตา
๑๒.เทียนสีสายยาว ๑ วา ๙ นิ้ว หรือ ๙ เซนติเมตร ๑ สาย
๑๓.ช่อขาว ตัดเป็นสามเหลี่ยมปักติดกับต้นหญ้าคา และต้นคานี้ วางจุมไม้ก้ําสลี ๒ เสา ที่กล่าวใน ข้อ ๑ หรือจะทําเป็นสามขา วางไว้ข้างล่างก็ได้ ช่อขาว ๑๐๙ ชอ
๑๔.หม้อดิน หม้อทอง ใส่สตางค์ ใช้หมอดิน หุ้มปากดวยกระดาษเงิน ๑ หม้อ หุ้มกระดาษทอง ๑ หม้อ ๑๕.สาด (เสื่อ) ๑ ผืน หมอน ๑ ใบ
๑๖.มะพร้าวงอก หมากงอก หน่อกล้วย หน่ออ้อย อย่างละ ๑ หน่อ
๑๗.ไม้สานขัดแตะ (ไม้รวก) สี่เหลี่ยมจัตุรัส ๒๐ นิ้ว ใสกระสวยดอกไม้(สวยน้อย) มีธูป ๑ เทียน ๑
๑๘.ลูกส้มของหวาน ประกอบด้วยลูกส้ม ๑๐๙ กลีบ กล้วยสุกแว่น ๑๐๙ แว่น อ้อยแว่น ๑๐๙ แว่น
๑๙.เทียนสืบชะตา ๑ เล่ม
๒๐.บาตรพระพุทธมนต์ ๑ สํารับ
๒๑.ลูกมะพร้าวหนุ่ม ๑ แขนง (ทะลาย) ๒๒ กล้วยแขก(สุก) ๑ เครือ ตั้งแต่ ลำดับที่ ๑ - ๒๒ เป็นเครื่องสืบชะตาหลวงทำพิธีสืบชะตารวมทั้งครอบครัว ทั้งหมู่บ้านหรือทั่วไป
จะเห็นว่าการพิธีกรรมสืบชะตานั้นประกอบด้วยเครื่องสักการะบูชาหลายอย่าง ที่ประกอบด้วยความหมาย ความเชื่อความศรัทธาอันนำไปอยู่ความสุขความ เจริญรุ่งเรือง และเป็นสิริมงคลตามคติธรรมในพุทธศาสนา(ตอน 2 ความหมายต่างว่าแต่ละอย่างมีความหมายอย่างไรถึงต้องเตรียมอะไรมากมายในพิธีสืบชะตาของชาวล้านนา