ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 3' 38.7616"
18.0607671
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 15' 58.8524"
103.2663479
เลขที่ : 196924
รอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทนาหงส์
เสนอโดย หนองคาย วันที่ 12 กรกฎาคม 2565
อนุมัติโดย หนองคาย วันที่ 12 กรกฎาคม 2565
จังหวัด : หนองคาย
0 310
รายละเอียด

รอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทนาหงส์ ตามตำนานเล่ากันว่า สมัยก่อนป่าดงสีชมพูแห่งนี้เป็นป่าดงดิบที่ หนาทึบไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่และสรรพสัตว์นานาชนิดอาศัยอยู่ ในจำนวนสัตว์เหล่านั้น มีพญาสัตว์สองตน คือ พญาหงส์กับพญาสิงห์อาศัยอยู่ด้วยกัน โดยพญาหงส์อาศัยหากินอนู่ที่หนองหงส์และลำห้วยหงส์ ส่วนพญาสิงห์อาศัยหากินอยู่ที่หนองสิงห์และลำห้วยสิงห์ สัตว์ทั้งสองเป็นเพื่อนรักกัน ไปมาหาสู่กันอยู่เป็นนิตย์ ในกาลครั้งนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกผ่านมา ทรงประทับนั่งพักบนแผ่นหินดานในบริเวณนี้ พญาสัตว์ทั้งสองเห็นพระพุทธเจ้ามีกิริยาสงบ น่าเลื่อมใส จึงเข้าไปนมัสการ พระองค์จึงแสดงธรรมแก่พญาสัตว์ทั้งสอง ยังมีเทวดาและสรรพสัตว์หลายชนิดร่วมรับฟังอยู่ด้วย ต่างก็ตั้งใจฟังด้วยอาการสงบ พอพระพุทธเจ้าแสดงธรรมจบลง พญาหงส์กับพญาสิงห์ได้อาราธนาให้พระองค์เหยียบประทับรอยพระบาทไว้บนแผ่นศิลาแห่งนี้ โดยพญาสิงห์ได้ทำการสักการะอยู่ที่พื้นดิน ส่วนพญาหงส์ได้บินขึ้นสักการะบนท้องฟ้าโดยบินทำประทักษิณเวียนสามรอบ พระพุทธเจ้าทรงทอดพระเนตรตามพญาหงส์ทรงหมุนพระบาทตามเกิดรอยมีลักษณะเป็นหลุมลึกประมาณ1.50เมตร จึงได้นามว่า รอยพระพุทธบาทนาหงส์ นาสิงห์ เพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการะของเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั่วไป ต่อมา พ.ศ.2409นายเคน แก้ววิเศษ นายพรานบ้านหนองแก้ว ต.รัตนวาปี อ.โพนพิสัย (ปัจจุบันเป็นอ.รัตนวาปี) เป็นผู้พบรอยพระพุทธบาทคนแรก ลักษณะเป็นหลุมหิน4-5หลุม หลุมใหญ่มีรูปธรรมจักร รูปบาตร และเครื่องบริขารต่าง ๆ มีพานวางหนังสือคัมภีร์โบราณและรูปสัตว์หลายชนิดมีพญาหงส์ พญาสิงห์ เป็นต้น มีรอยนิ้วเท้าอยู่ทางทิศเหนือ จึงรู้ว่าเป็นรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา

สถานที่ตั้ง
อำเภอรัตนวาปี
อำเภอ รัตนวาปี จังหวัด หนองคาย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
อำเภอรัตนวาปี
บุคคลอ้างอิง นางสาวสิรินาถ รักษาภักดี
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย
จังหวัด หนองคาย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่