ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 35' 50.5068"
15.5973630
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 39' 26.1896"
100.6572749
เลขที่ : 197447
ประเพณีปักธง
เสนอโดย นครสวรรค์ วันที่ 22 กันยายน 2565
อนุมัติโดย นครสวรรค์ วันที่ 22 กันยายน 2565
จังหวัด : นครสวรรค์
0 660
รายละเอียด

วัดตะคร้อ (ชุมพล) สร้างเมื่อปี ๒๓๐๐ มีประเพณีที่สืบทอดตั้งแต่บรรพบุรุษ คือการทำบุญตรุษไทย วันแรม๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ของทุกปี ชาวบ้านจะพากันขุดหลุมปักธงไม้ไผ่ทั้งต้น และมีเสื้อผ้า ของใช้ต่าง ๆ ผูกติดกับต้นไผ่ เพื่ออุทิศไปให้กับบรรพบุรุษผู้ร่วงลับไปไว้ใช้ และจะก่อทรายไว้ที่โคนต้นไผ่ ทำเป็นเจดีย์ล้อมด้วยกำพงมีทางเข้าออก จัดดอกไม้ปักไว้ และโรยแป้ง (การก่อกองทรายเพี่อเป็นการขนทรายเข้าวัด คือคนสมัยนั้นจะเดินเข้า ออกวัด โดยจะมีดินติดเท้าออกไป การขนทรายมาแทนที่ติดเท้าออกไป) ปัจจุบันขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทยเริ่มสูญหายไปตามกาลเวลา ซึ่งประเพณีเหล่านี้เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ และเกิดความสามัคคีของคนในชุมชน อันจะนำมาซึ่งความสงบสุขอย่างยั่งยืน และหนึ่งในประเพณีเหล่านั้นซึ่งถือว่าเป็นประเพณีที่สร้างความสมัครสมานกลมเกลียว และสร้างความสัมพันธ์อันดีของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันย่อยที่สำคัญมาก วัดตะคร้อ และวัดประชาสามัคคีได้ร่วมกับชุมชนจัดงานก่อพระเจดีย์ทรายก่อเจดีย์ทรายปักธงอุทิศให้บรรพบุรุษกรุงศรีฯมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ซึ่งมีชุมชนในเขตตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ จึงเห็นสมควรอนุรักษ์ รักษา สืบสาน ฟื้นฟูและส่งเสริมให้เป็นงานประเพณีประจำอำเภอไพศาลี และให้คงอยู่ตลอดไป

ประเพณีปักธง เป็นประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีคุณค่า ทำให้ประชาชนรู้สึกผูกพันกับถิ่นฐานบ้านเกิด ซึ่งก่อให้เกิดความรัก สามัคคีและช่วยเหลือกัน ประสงค์สำคัญของประเพณีปักธงนี้ คือ การสร้างความสามัคคี กลมเกลียวกันของคนในชุมชนที่ร่วมแรง ร่วมใจในการปั่นฝ้าย ทอเป็นผืนธง และยังเป็นการแสดงถึงความกตัญญูรู้คุณบรรพบุรุษที่ได้เสียสละ เอาชีวิตเข้าแลกเพื่อแผ่นดินที่อยู่อาศัย

เป็นความเชื่อและศรัทธากับประเพณีหนึ่งที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนานและกลายเป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวตะคร้อ ที่จะต้องจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งมีความเชื่อว่าการปักธงจะทำให้ความร่มเย็นเป็นสุข หากปีไหนไม่ได้ทำ จะเกิดอาเพทกับบ้านเมือง บ้างก็เชื่อว่าการปักธงเป็นการระลึกถึงการบรรพบุรุษของตนเองสมัยกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ ๒ ที่ต้องสละเลือดเนื้อ และชีวิตเพื่อป้องกันประเทศเป็นความเชื่อที่มีอิทธิพลมากที่สุด จึงได้ตั้งชื่อประเพณีนี้ว่า ประเพณีปักธง

วันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ของทุกปี ชาวบ้านจะพากันขุดหลุมปักธงไม้ไผ่ทั้งต้น และมีเสื้อผ้า ของใช้ต่าง ๆ ผูกติดกับต้นไผ่ เพื่ออุทิศไปให้กับบรรพบุรุษผู้ร่วงลับไปไว้ใช้ และจะก่อทรายไว้ที่โคนต้นไผ่ ทำเป็นเจดีย์ล้อมด้วยกำพงมีทางเข้าออก จัดดอกไม้ปักไว้ และโรยแป้ง (การก่อกองทรายเพี่อเป็นการขนทรายเข้าวัด คือคนสมัยนั้นจะเดินเข้า ออกวัด โดยจะมีดินติดเท้าออกไป การขนทรายมาแทนที่ติดเท้าออกไป) ประเพณีปักธงชัยของชาวตะคร้อในปัจจุบัน เป็นประเพณีที่มีการจัดงานตามประเพณี จนเป็นที่น่าสนใจสำหรับการท่องเที่ยวในเชิง ชาวบ้านทุกหมูบ้านในตำบลตะคร้อและผู้คนจากที่อื่นๆ ด้วยที่มาร่วมงานในประเพณีดังกล่าว ซึ่งมีการจัดขึ้นเป็นเวลา ๓ วัน

วันแรกเยาวชน นักเรียน คณะครู ชาวบ้านจะมาตั้งขบวนที่หน้าหมู่บ้านเพื่อจัดขบวนแห่ธงไปวัด มีคณะกลองยาวนำหน้าขบวน ชาวบ้านจะร่ายรำกันอย่างสนุกสนานพอถึงวัดชาวบ้านแต่ละครอบครัวจะร่วมกันก่อพระทรายเพื่อใช้เป็นฐานธง (ลำของต้นไผ่) ตอนเย็นมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์

วันที่ ๒ ตอนเช้า วัดแต่ละวัดจะมีการทำบุญตักบาตร ชาวบ้านจะเตรียมอาหารมาทำบุญตักบาตรที่วัดของตน ตอนเย็นมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์

วันที่ ๓ ตอนเช้า วัดแต่ละวัดจะมีการทำบุญตักบาตรตรุษไทย และมีการเสี่ยงทายพยากรณ์ฤดูกาลในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของคนในชุมชนโดยการสังเกตจากช่วงเวลาที่ปักธงไว้ ๗ วัน ว่าช่วงระยะเวลานั้นมีฝนตกลงมาชะธงหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าปีนั้นน้ำจะอุดมสมบูรณ์ และพิธีมอบเสื้อผ้า ของใช้ ที่แขวนธงให้แก่คนยากไร้

องค์ประกอบของการก่อพระทราย

๑. ทราย

๒. ดอกไม้

๓. แป้งหอม

๔. น้ำอบ น้ำหอม

จุดประสงค์หลักของการปักธง

๑. พิธีก่อพระทราย

๒. พิธีปักธงตรุษไทย

๓. พิธีสงฆ์สวดเจริญพระพุทธมนต์เย็น จำนวน ๓ วันของคณะสงฆ์วัดในเขตตำบลตะคร้อ และตำบลใกล้เคียง

๔. พิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันตรุษไทย

๕. พิธีเสี่ยงทายพยากรณ์ฤดูกาลในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของคนในชุมชน

๖. พิธีมอบเสื้อผ้า ของใช้ ที่แขวนธง ให้แก่คนยากไร้

ปัจจุบันขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทยเริ่มสูญหายไปตามกาลเวลา ซึ่งประเพณีเหล่านี้เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ และเกิดความสามัคคีของคนในชุมชน อันจะนำมาซึ่งความสงบสุขอย่างยั่งยืน และหนึ่งในประเพณีเหล่านั้นซึ่งถือว่าเป็นประเพณีที่สร้างความสมัครสมานกลมเกลียว และสร้างความสัมพันธ์อันดีของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันย่อยที่สำคัญมาก

สถานที่ตั้ง
ตำบล ตะกร้อ อำเภอ ไพศาลี จังหวัด นครสวรรค์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อวยพร พัชรมงคลสกุล อีเมล์ paitoog@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่