ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 30' 38.2788"
16.5106330
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 58' 51.2447"
99.9809013
เลขที่ : 197653
ประเพณีบุญบั้งไฟตําบลประชาสุขสันต์ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร
เสนอโดย กำแพงเพชร วันที่ 19 ธันวาคม 2565
อนุมัติโดย กำแพงเพชร วันที่ 19 ธันวาคม 2565
จังหวัด : กำแพงเพชร
0 493
รายละเอียด

ประเพณีบุญบั้งไฟตําบลประชาสุขสันต์ มีมาช้านาน โดยเริ่มฟื้นฟูประเพณีบุญบั้งไฟปีพ.ศ. ๒๕๔๕ โดยนายทองม้วน มาตรนอก ผู้นําชุมชนและชาวบ้านตําบลประชาสุขสันต์สถานที่จัดงานครั้งแรกโรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๒ กําแพงเพชร ตามความเชื่อและประเพณีปฏิบัติถ้าจัดงานบุญบั้งไฟที่ใดต้องจัด ๓ ปีติดต่อกันเพื่อเป็นสิริมงคล ในหมู่บ้าน ปีที่ ๔ ถึงปัจจุบันสถานที่จัดงานโรงเรียนบ้านประชาสุขสันต์ บุญบั้งไฟเป็นหนึ่งในประเพณีของลาวอีสาน นิยมทํากันในเดือน ๖ หรือ เดือน ๗ อันเป็นช่วงฤดูฝนเข้าสู่ การทํานา ตกกล้า หว่าน ไถ เพื่อเป็นการบูชาแถนขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล เหมือนกับการแห่นางแมว ของคนภาคกลาง ปีพ.ศ. ๒๕๕๑ มี ๖ หมู่บ้านเข้าร่วมขบวนแห่บั้งไฟเอ้ ได้แก่หมู่ ๓ บ้านประชาสุขสันต์หมู่ ๕ บ้านหนองกรด หมู่ ๗ บ้านเกาะไผ่ล้อม หมู่ ๘ บ้านก้าวเจริญพร หมู่ ๑๐ บ้านบึงพรานอบและหมู่ ๑๑ บ้านบัวทองและ ในปีนี้หมู่ ๓ บ้านประชาสุขสันต์และหมู่๗ บ้านเกาะไผ่ล้อมเข้าร่วมขบวนแห่แต่ไม่เข้าประกวดขบวนแห่ เพราะได้รางวัลหลายสมัย ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงไม่ส่งประกวด ชนิดของบั้งไฟ บั้งไฟมี ๖ ชนิด

๑. บั้งไฟประเนียง

๒. บั้งไฟหมื่น

๓. บั้งไฟเล็ก

๔. บั้งไฟแสน

๕. บั้งไฟจิ๋ว

๖. บั้งไฟล้าน

การทำบั้งไฟ (สำหรับจุด) บั้งไฟหมื่น

อุปกรณ์การทําบั้งไฟหมื่น ประกอบด้วย

๑. ไม้ฉําฉา ( ต้นก้ามปู)

๒. เหล็ก

๓. ดินประสิว

๔. เลื่อย

๕. ไม้ไผ่

๖. ภาชนะที่เป็นโลหะ

วิธีทำ

๑. นําไม้ฉําฉามาเผาให้เป็นถ่าน

๒. นําดินประสิวมาผสมกับถ่านในภาชนะที่เตรียมไว้แล้วตําให้ละเอียด

๓. ตัดไม้ไผ่ตามขนาดที่ต้องการ

๔. นําดินประสิวมาอัดกับไม้ไผ่ให้แน่นที่สุด

๕. นําเหล็กปรายแหลมเจาะตรงกลางที่เราอัดดินประสิวให้ทะลุ

๖. ตัดไม้ไผ่ลําเล็กเผาไฟไห้แห้งแล้วดัดให้ตรง ๆนํามาติดเป็นหางบั้งไฟ บั้งไฟเอ้ (บังไฟที่ตกแต่งให้สวยงาม) อุปกรณ์การทำบั้งไฟเอ้(บั้งไฟที่เข้าร่วมประกวด)

๑.ไม้งิ้ว

๒. ไม้ไผ่

๓. สีน้ำ

๔. เลื่อยตัดไม้

๕. กระดาษแก้วและกระต่างๆ

๖. โฟม

๗. มีดแกะสลัก

๘. ไม้ฉําฉา

วิธีทำ

๑. ตัดต้นงิ้วมาตัดตามขนาดที่ต้องการและเหลาให้กลม

๒. นําไม้ไผ่ลําเล็กๆมาตัดตามขนาดที่ต้องการและนําไปมัดล้อมกับต้นงิ้วที่เหลาเตรียมไว้เป็นตัว พญานาค

๓. นําไม้ฉําฉามาแกะสลักเพื่อทําเป็นหัวพญานาค ทาสีหัวพญานาคให้สวยงาม

๔. นําหัวพญานาคและตัวพญานาคมาต่อกัน

๕. นําโฟมมาแกะสลักเพื่อทําเป็นครีบพญานาค

๖. ตกแต่งครีบ ลําตัว ด้วยกระดาษเป็นลายพญานาคให้สวยงาม

บั้งไฟมีหลายชนิดขึ้นอยู่กับความยากง่าย ดินที่บรรจุและขนาดของบั้งไฟในการทําบั้งไฟ แต่ที่ตําบลประชาสุขสันต์ทําเพียง ๓ ชนิด คือ

๑. บั้งไฟหมื่น บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดกลาง ดินปืนหนักระหว่าง

12-20 กิโลกรัม ขนาด กระบอกกว้าง ๓.๕-๕ นิ้ว ยาวประมาณ ๑๔๐ เซนติเมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน ๑๘๐ กิโลเมตรทําด้วยกระบอกไม้ไย่กระบอกเหล็กและ กระบอกพลาสติก (ท่อพีวีซี)

๒. บั้งไฟแสน บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดใหญ่ที่สุด บรรจุดินปืนหนัก ๑๒๐ กิโลกรัมขึ้นไป บั้งไฟขนาดนี้ทํายากที่สุด จะต้องอาศัยความชํานาญเป็นพิเศษ เพราะบั้งไฟขนาดนี้หากแตกแล้วจะเป็นอันตรายมากเพราะฉะนั้นก่อน ทําบั้งไฟ จะต้องพิธีกรรมบวงสวรให้ถูกต้องตามหลักการทําบั้งไฟเสียก่อน จึงจะลงมือทํา เมื่อตกแตงบั้งไฟ เสร็จแล้วเรียบร้อย จะมีการประกอบบั้งไฟยาวสั้นตามขนาดเสร็จแล้วก็มีการตกแต่งและประดับประดาบั้งไฟ

๓. บั้งไฟตะไล บั้งไฟชนิดนี้คือ บั้งไฟจินายขนาดใหญ่มีความยาวประมาณ ๙-๑๒ นิ้วรูปร่างกลมมีไม้บางๆ แบนๆ เป็น วงกลม ครอบหัวท้ายบั้งไฟ เมื่อพุ่งขึ้นสู่ฟ้าจะพุ่งไปทางขวาง พญาแถนกับความเป็นมาของบั้งไฟ จากการสัมภาษณ์ อ.บ.ต.มานะ คงเทพ ทําให้ทราบความเป็นมาของการเกิดงานมหกรรมบุญบั้งไฟตําบล ประชาสุขสันต์เกิดความเชื่อเรื่อง เกี่ยวกับเทพ เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่สามารถบันดารดลให้ฝนตกต้อง ตามฤดูกาลได้ชาวบ้านมีความเชื่อเรื่องเกี่ยวกับพญาแถน เพราะเนื่องจากมีตํานานที่เล่าสืบต่อกันมา คือ มี เมืองหนึ่งชื่อว่าธีตานครของท้าวพญาขอมเกิดความแห้งแล้งมาก ท่านจึงป่าวประกาศให้เมืองต่างๆ คิดทํา บั้งไฟมาแข่งขันกันเพื่อเป็นการส่งสัญญาณบอกเทพเจ้าให้ส่งฝนลงมาตกที่เมืองธีตานคร บั้งไฟของใครจุด ได้สูงสุดจะเป็นผู้ชนะ และจะได้อภิเษกสมรสกับพระราชธิดา ชื่อ นางไอ่ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่าท้าว ผาแดงเป็นผู้ชนะเลิศเมื่อพญาขอมสิ้นพระชนม์ท้าวผาแดงก็ได้ขึ้นครองเมืองสืบต่อมาด้วยความผาสุก กล่าวถึงภังคีบุตรพญานาคเคยเป็นคู่ครองของนางไอ่ในชาติปางก่อน ยังมีความอาวรณ์ถึงนางไอ่อยู่จึงได้ แปลงกายมาเป็นกระรอกเผือกมาให้นางไอ่เห็น เมื่อนางไอ่เห็นก็เกิดความอยากได้กระรอกเผือกตันนั้น เป็นอย่างมาก นางได้สั่งทหารให้ช่วยกันจับกระรอกเผือก บังเอิญทหารยิงธนูถูกกระรอกเผือกถึงแก่ความ ตายก่อนตายภังคีได้อธิฐานให้ร่างกายของตนใหญ่โต แม้คนจะเชือดเนื้อไปกินมากมายอย่างไรก็อย่าให้หมด ใครกินเนื้อตนจงถึงแก่ชีวิตพร้อมกับให้แผ่นดินถล่มเมืองธีตานคร จมลงหายไปจนกลายเป็นหนอง ชื่อว่า หนองหาน ท้าวผาแดงและ นางไอ่พยายามขี่ม้าหนีไปแต่ไม่รอดได้ เสียชีวิตคราวนี้ด้วย จากผลแห่งกรรม ดีที่เคยสร้างไว้ท้าวผาแดงได้ไปจุติเป็นเทพเจ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ชื่อ ว่า “พญาแถน”และเหตุที่ชาวบ้านตําบลประชาสุขสันต์จัดงานมหกรรมบุญบั้งไฟตําบลประชาสุขสันต์ก็เพื่อ เป็นการบูชาพญาแถนนั่นเอง การจุดบั้งไฟ การจุดบั้งไฟจะจุดในวันที่ ๒ ของการจัดงานและในปีนี้จัดที่โรงเรียนบ้านประชาสุขสันต์สถานที่จุดบั้งไฟ จุดที่สามแยกเสือดําเป็นการประกวดบั้งไฟของแต่ละหมู่บ้านถ้าบั้งบั้งไฟของหมู่บ้านใดจุดได้สูงและอยู่ได้ นานที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะถ้าบั้งไฟหมู่บ้านใดจุดไม่ขึ้นหรือแตกก็จะถูกคู่แข่งจับลงโคลน ซึ่งเป็นประเพณีที่ สนุกสนานสร้างความสามัคคีในหมู่บ้านเป็นประเพณีที่สีบทอดต่อกันมาและปฏิบัติกันมาทุกปี ขบวนแห่บั้งไฟเอ้หมู่ ๑๐ ขบวนแห่บั้งไฟประกอบด้วย รถบั้งไฟเอ้ตกแต่งอย่างสวยงามด้วยพลัง ความสามัคคีของชาวบ้าน บึงพรานอบ และผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นผาแดงและนางไอ่ นั่งบนรถได้แก่ นายสาม แพงย้อยและนางสาวเจนจิรา มีศิริและนางรําในขบวนทั้งหมด ๓๐ คน แต่งกายด้วยชุดไทยอีสาน ในปีนี้ขบวนแก่หมู่ ๑๐ ได้รับรางวัล ชมเชย ในการประกวดบั้งไฟ หมู่๑๑ บ้านบัวทอง ผู้ให้ข้อมูลผู้ใหญ่ทวย ทองหยอด อายุ๔๖ ปีอาชีพ ทํานาบ้านเลขที่ ๑๑ ม. ๑๑ ต.ประชาสุขสันต์อ. ลานกระบือจ. กําแพงเพชร การจัดขบวนแห่บั้งไฟ ขบวนประกอบด้วยขบวนรถบั้งไฟเอ้ตกแต่งจากวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นของแต่ละหมู่บ้านอย่าง สวยงาม ส่วนหัวของพญานาคพ่นน้ำได้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการขอฝน และนางรําเซิ้งจํานวน ๓๐ คน ชุด ของนางรํามีความสวยงามแตกต่างกัน เช่น ชุดของกลุ่มแม่บ้าน สาวงามประจําหมู่บ้านและเด็ก ซึ่งแสดงถึง ความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน จึงทําให้ขบวนแห่บั้งไฟเอ้หมู่ ๑๑ ได้รับรางวัลที่ ๑ การท าบั้งไฟ การทําบั้งไฟนั้นจะต้องมีการศึกษาและเรียนรู้โดยจะมีการสืบทอดกันมาจากชั่งที่ทําบั้งไฟ เรียกว่า "ช่าง บั้งไฟ" โดยจะมีการถ่ายทอดกันมาจากพ่อสู่ลูก หรือลูกกับหลาน ครูกับศิษย์โดยที่ช่างหรือผู้ที่ถ่ายทอดจะ เลือกถ่ายทอดให้เฉพาะผู้ที่มีไหวพริบและพรสวรรค์ด้านการทําบั้งไฟเท่านั้น เพราะระยะเวลาในการทําบั้ง ไฟสมัยก่อนกับสมัยปัจจุบันจะต่างกันมาก

สถานที่ตั้ง
ตําบลประชาสุขสันต์ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร
ตำบล ประชาสุขสันต์ อำเภอ ลานกระบือ จังหวัด กำแพงเพชร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายพลภัทร อู่ไทย อีเมล์ kpp.culture2022@gmail.com
ตำบล ประชาสุขสันต์ อำเภอ ลานกระบือ จังหวัด กำแพงเพชร
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่