ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 3' 50.4274"
14.0640076
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 30' 55.5995"
101.5154443
เลขที่ : 197710
พระภักดีเดชะ
เสนอโดย ปราจีนบุรี วันที่ 27 มกราคม 2566
อนุมัติโดย ปราจีนบุรี วันที่ 27 มกราคม 2566
จังหวัด : ปราจีนบุรี
3 1950
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่า ในปี พ.ศ. ๒๓๖๙ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ ยกทัพมาตีเมืองนครราชสีมา ได้รวบรวมกำลังตีกองทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดแต่งตั้งให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพยกไปตีเวียงจันทน์ปราบกบฏ เมื่อตีได้แล้ว ได้อพยพครอบครัวสี้พลบางส่วนจากเวียงจันทน์ เข้ามายังประเทศไทย ในจำนวนแม่ทัพนายกองที่เข้ามานั้น มีท้าวอุเทนบุตรท้าวสร้อย ซึ่งเป็นแม่ทัพที่คอยควบคุมดูแลเมืองแสนของเวียงจันทน์เข้ามายังประเทศไทย ในจำนวนแม่ทัพนายกองที่เข้ามานั้น มีท้าวอุเทนบุตรท้าวสร้อย ซึ่งแม่ทัพที่คอยควบคุมดูแลเมืองแสนของเวียงจันทน์ขณะนั้นอยู่ด้วย ท้าวอุเทนได้นำลี้พลที่ถูกอพยพมาตั้งกองรวมกันเป็นหมู่บ้านใหญ่ ในพื้นที่อำเภอประจันตคาม ซึ่งเป็นบริเวณวัดและรอบๆ วัดแจ้งในปัจจุบัน (ปัจจุบันชาวบ้านเรียกกันว่า “บ้านเมืองเก่า”ในอดีตมีต้นยางมากมาย (“ดงยาง”)

เมืองประจันตคามจึงถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ ท้าวอุเทนเจ้าเมืองคนแรกได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงภักดีเดชะ ว่าราชการได้ ๒ ปีเศษ เกิดศึกญวนมาตีกรุงพนมเปญซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยในสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพและได้เกณฑ์เมืองประจันตคาม เมืองพนัสนิคมและเมืองกบินทร์บุรี รวมกันเป็นกองทัพหน้า ยกไปสู้รบข้าศึกญวนอยู่ประมาณ ๓ ปีเศษ จึงขับไล่ญวนออกไป เจ้าเมืองทั้งสามผู้ร่วมรบ มีความชอบในราชการ เมื่อกลับมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระ” ในนามเดิมทั้ง ๓ ท่าน เจ้าเมืองประจันตคามจึงเป็น “พระภักดีเดชะ” (ท้าวอุเทน)

ต่อมาอีกประมาณ ๑ ปี ญวนได้หวนกลับมาตีเมืองพนมเปญอีก เจ้าเมืองตะวันออกได้รับใบบอกจึงโปรดให้เกณฑ์ไปช่วยรบ พระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) ได้นำกำลังชาวเมืองประจันตคามเข้ากองทัพร่วมกับเจ้าเมืองกบินทร์บุรี ในการไปราชการทัพครั้งนี้ พระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) ได้นำกำลังพลเข้ารบกับข้าศึกจนสุดความสามารถข้าศึกญวนล้มตายเป็นจำนวนมาก นับว่าเป็นการศึกครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์แห่งการสู้รบอย่างยิ่ง ชาวเมืองประจันตคามได้ร่วมรบโดยมีพระภักดีเดชะเป็นแม่ทัพนำพล แต่ในที่สุด ด้วยการรบอย่างอาจหาญสามารถพระภักดีเดชะเสียชีวิตในสนามรบอย่างชายชาติทหารกล้า

แม้พระภักดีเดชะจะเสียชีวิตในสนามรบไปนับร้อยปีเศษแล้วก็ตาม ประชาชนชาวประจันตคามยังกล่าวถึงและเคารพสักการะพระภักดีเดชะไม่เสื่อมคลาย ในฐานะที่ท่านได้เป็นผู้ก่อตั้งเมืองประจันตคามและเป็นผู้ก่อตั้งเมืองประจันตคาม และเป็นผู้ประกอบกิจอันเป็นคุณยิ่งแก่ประเทศชาติจนเสียชีวิต ปัจจุบันศพพระภักดีเดชะยังฝังอยู่ที่วัดแจ้ง โดยมีผู้ที่จงรักภักดีร่วมกับญาติมิตรของท่าน ได้สร้างมณฑปครอบคลุมที่ฝังศพไว้และมีคนไปบวงสรวงสักการะประจำตลอดปี

โดยเหตุที่พระภักดีเดชะเป็นวีรบุรุษของจังหวัดปราจีนบุรีโดยแท้ นายอำเภอเมืองประจันตคามได้รายงานไปยังกรมศิลปากร เพื่อขออนุญาตสร้างอนุสาวรีย์ ซึ่งได้รับอนุมัติให้สร้างได้ จากคณะกรรมการอนุสาวรีย์แห่งชาติ อำเภอประจันตคาม จึงได้ให้กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ออกแบบและหล่อรูปเหมือนพระภักดีเดชะขนาดความสูงเท่าตัวจริง มือขวาถือดาบ และทางอำเภอประจันตคามได้จัดสร้างอนุสาวรีย์ขึ้น ณ บริเวณที่หน้าสนามกีฬาอำเภอประจันตคามริมถนนสุวรรณศรเสร็จเรียบร้อยแล้ว กรมศิลปากรซึ่งเป็นผู้หล่อรูปพระภักดีเดชะ อัญเชิญรูปหล่อมาประดิษฐานไว้ ณ อนุสาวรีย์ตั้งแต่วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๓๔

คำสำคัญ
พระภักดีเดชะ
สถานที่ตั้ง
เทศบาลตำบลประจันตคาม
ตำบล ประจันตคาม อำเภอ ประจันตคาม จังหวัด ปราจีนบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายสุชาติ เดชสุภา
บุคคลอ้างอิง นายสุชาติ เดชสุภา
ชื่อที่ทำงาน อบต.คำโตนด
ตำบล ประจันตคาม อำเภอ ประจันตคาม จังหวัด ปราจีนบุรี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่